ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผักตบชวา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎แหล่งข้อมูลอื่น: แก้ไขการพิมพ์
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28:
ผักตบชวาถูกนำเข้ามาใน[[ประเทศไทย]]ในปี [[พ.ศ. 2444]] ในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] โดยนำเข้ามาจาก[[เกาะชวา]]ในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม โดยขณะเสด็จประพาส[[หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์|หมู่เกาะอินเดียตะวันออก]]พร้อมด้วย[[สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ]] เมื่อปี พ.ศ. 2439 สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ทอดพระเนตรเห็นนางกำนัล ตลอดจนเจ้านายฝ่ายในของสุลต่านเกาะชวาได้ใช้ดอกของพืชชนิดนี้ทัดหู มีความสวยงามของสีม่วงอมฟ้าพร้อมกับมีดอกที่ใหญ่ จึงได้มีรับสั่งให้เก็บผักตบชวาจำนวน 3 {{linktext|เข่ง}} เพื่อนำมาปลูกไว้ในประเทศไทย พร้อมกับนำน้ำจากพื้นถิ่นกลับมาด้วยจำนวน 10 ปี๊บ เพื่อไม่ให้ผักตบชวาผิดน้ำ โดยขณะนั้นผักตบชวาก็เพิ่งถูกนำเข้าไปในเกาะชวาจากเนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคม โดยแรกเริ่มใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม ผักตบชวาก็เจริญเติบโตงอกงามอย่างมากมาย ถึงแม้จะเปลี่ยนน้ำแล้วก็เติบโตได้ดีจนออกดอกเพียงระยะเวลาแค่ 1 เดือน และได้ทรงพระราชทานหน่อให้เจ้านายพระองค์อื่นและบรรดาข้าราชบริพารนำไปปลูกด้วย เพียงแค่ 6 เดือน ผักตบชวาก็แพร่กระจายพันธุ์จนเต็มวังสระปทุม ต้องนำไปปล่อยทิ้งไว้ที่คลองสามเสนหลังวัง พร้อมกับคลองอื่น ๆ เช่น คลองเปรมประชากร, คลองผดุงกรุงเกษม ในระยะแรกประชาชนชาวไทยก็ได้ใช้ดอกของผักตบชวามาทัดหูเพื่อความสวยงามบ้าง แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เสื่อมความนิยมลง เหตุเพราะการแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วนั่นเอง<ref>{{Cite news|page=3 |title=ต้นทางผักตบชวา |department=ชักธงรบ |author=กิเลน ประลองเชิง (13 กันยายน 2559)|newspaper=[[ไทยรัฐ]] |volume=67 |issue=21240}}</ref>
 
== ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Eichhornia Crassipes.jpg|thumb|ก้านใบผักตบชวา]]
ผักตบชวามีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ถ้าน้ำตื้นก็จะหยั่งรากลงดิน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่หรือเกือบกลม ก้านใบกลมอวบน้ำตรงกลางพองออกภายในเป็นช่องอากาศคล้ายฟองน้ำช่วยให้ลอยน้ำได้ ดอกเกิดเป็นช่อที่ปลายยอดมีดอกย่อย 3–25 ดอก สีม่วงอ่อน มี[[กลีบดอก]] 6685596594 กลีบ กลีบบนสุดขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ๆ และมีจุดเหลืองที่กลางกลีบ ขยายพันธุ์โดยการแยกต้นอ่อนที่ปลายไหลไปปลูก
 
== ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ==