ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผีตาโขน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9724612 สร้างโดย 2405:9800:BC10:CC2F:4449:256A:2FB7:9684 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Nodata
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
Nodata
{{กึ่งล็อก|small=yes}}
{{กล่องข้อมูล เทศกาล
| ภาพ = Phitakon masks.JPG
| คำอธิบายภาพ =
| ชื่อสามัญ = ผีตาโขน
| ชื่อเป็นทางการ =
| ช่วงเวลา = เดือน 7
| จัดครั้งแรก =
| สถานที่จัด = [[อำเภอด่านซ้าย]] [[จังหวัดเลย]]
| จัดโดย =
| สนับสนุนโดย = สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดเลย
| ผู้เข้าชม =
| สถานที่โดยรอบ =
| เว็บไซต์ =
}}
 
แล
'''ผีตาโขน''' เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นใน[[อำเภอด่านซ้าย]] [[จังหวัดเลย]] ซึ่งตั้งอยู่ทาง[[ภาคอีสาน (ประเทศไทย)|ภาคอีสาน]] ของ[[ประเทศไทย]] เป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นในเดือน 7<ref>[http://www.paiduaykan.com/76_province/Northeast/loie/pheetakhone.html เทศกาลผีตาโขน 2553]</ref> ซึ่งมักจัดมากกว่าสามวันในบางช่วงระหว่างเดือนมีนาคม และกรกฎาคม โดยจัดขึ้นในวันที่ได้รับเลือกให้จัดขึ้นในแต่ละปีโดย[[คนทรง]]ประจำเมือง ซึ่งงานบุญประเพณีพื้นบ้านนี้มีชื่อเรียกว่า ''บุญหลวง''<ref>{{Cite web |url=http://allknowledges.tripod.com/phitakhon.html |title=ประเพณีผีตาโขน |access-date=2012-06-24 |archive-date=2012-03-11 |archive-url=https://web.archive.org/web/20120311000404/http://allknowledges.tripod.com/phitakhon.html |url-status=dead }}</ref> โดยแบ่งออกเป็นเทศกาล ผีตาโขน, [[ประเพณีบุญบั้งไฟ]] และงานบุญหลวง (หรือ บุญผะเหวด)<ref name="เดลินิวส์">ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ และ ธนโชติ ศรีบุญเรือง. '''เดลินิวส์'''. ฉบับที่ 22,896. วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555. ISSN 16860004. หน้า 16</ref>
 
ผีตาโขน นั้น เดิมมีชื่อเรียกว่า ''ผีตามคน'' เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจาก[[มหาเวสสันดรชาดก]] ชาดกในทางพระพุทธศาสนา ที่ว่าถึงพระเวสสันดร และพระนางมัทรี จะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมืองหลวง บรรดาสัตว์ป่ารวมถึงภูติผีที่อาศัยอยู่ในป่านั้น ได้ออกมาส่งเสด็จด้วยอาลัย<ref>[http://www.slideshare.net/tie_weeraphon/th-sarabun-psk-1 ประเพณีผีตาโขน]</ref>
 
ซึ่งวันแรกจะเป็นเทศกาลผีตาโขน ซึ่งเรียกวันนี้ว่า ''วันรวม'' (วันโฮม) โดยจะมีพิธีเบิก ''พระอุปคุตต์'' ในบริเวณระหว่างลำน้ำหมันกับลำน้ำศอก ส่วนวันที่สองของเทศกาลดังกล่าวจะมี[[ประเพณีบุญบั้งไฟ|พิธีจุดบั้งไฟบูชา]] พร้อมด้วยเครื่องแต่งกายที่หลากหลาย รวมถึงการแข่งขันเต้นรำตลอดจนขบวนพาเหรด ส่วนในวันที่สามและวันสุดท้ายจะมีการให้ชาวบ้านฟังเทศน์<ref name="เดลินิวส์" /> ทั้งนี้ ผีตาโขนยังได้รับการนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ และฉายาประจำทีม [[สโมสรฟุตบอลเลย ซิตี้]] เช่นกัน<ref>[http://www.siamsport.co.th/Column/120306_124.html ผีตาโขนออกศึก เลย ซิตี้ แม้เปลี่ยนแปลงแต่ยังคงมีจุดยืน]</ref>
 
และประเพณียังคงมีความเชื่อกันว่า สำหรับคนที่เล่นหรือมีการแต่งตัวเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป และรอจนถึงปีหน้าจึงค่อยทำเล่นกันใหม่
 
== อ้างอิง ==