ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาธิปไตย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9752466 สร้างโดย 2001:44C8:4113:9D57:1:0:44C5:29A1 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ ลิงก์แก้ความกำกวม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{บทความคัดสรร}}
{{ระบอบการปกครอง}}
'''ประชาธิปไตยระชาธิปไตย''' ({{lang-en|democracy}}) เป็น[[ระบอบการปกครอง]]แบบหนึ่งซึ่ง[[พลเมือง]]เป็นเจ้าของ[[อำนาจอธิปไตย]]และเลือกผู้ปกครองซึ่งทำหน้าที่ออกกฎหมาย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ การตัดสินว่าผู้ใดเป็นพลเมืองบ้างและการแบ่งปันอำนาจในหมู่พลเมืองเป็นอย่างไรนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาและแต่ละประเทศเปลี่ยนแปลงในอัตราไม่เท่ากัน นอกจาก[[การเลือกตั้ง]]แล้ว ความคิดที่เป็นรากฐานของประชาธิปไตย ได้แก่ [[เสรีภาพในการชุมนุม]]และ[[เสรีภาพในการพูด|การพูด]] การไม่แบ่งแยกและ[[ความเสมอภาค]] สิทธิพลเมือง ความยินยอม สิทธิในการมีชีวิตและ[[สิทธิฝ่ายข้างน้อย]] นอกจากนี้ ประชาธิปไตยยังทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลประโยชน์ของตนและแบ่งอำนาจจากกลุ่มคนมาเป็นชุดกฎเกณฑ์แทน<ref>{{cite book|last1=Przeworski|first1=Adam|title=Democracy and the Market|url=https://archive.org/details/democracymarket00prze|url-access=registration|date=1991|publisher=Cambridge University Press|pages=[https://archive.org/details/democracymarket00prze/page/10 10–14]}}</ref>
[[ไฟล์:Democracy claims.svg|440px|thumb|นับแต่[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ยุติ ทั่วโลกตื่นตัวกับระบอบประชาธิปไตย แผนที่ดังกล่าวแสดงให้เห็นรัฐที่มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย แผนที่เมื่อ ค.ศ. 2012<br />
{{legend|green|รัฐที่มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย}}
{{legend|red|รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ [[นครรัฐวาติกัน]] [[ซาอุดีอาระเบีย]] [[สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์]] [[กาตาร์]] [[โอมาน]] และ[[บรูไน]]}}]]
'''ประชาธิปไตย''' ({{lang-en|democracy}}) เป็น[[ระบอบการปกครอง]]แบบหนึ่งซึ่ง[[พลเมือง]]เป็นเจ้าของ[[อำนาจอธิปไตย]]และเลือกผู้ปกครองซึ่งทำหน้าที่ออกกฎหมาย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ การตัดสินว่าผู้ใดเป็นพลเมืองบ้างและการแบ่งปันอำนาจในหมู่พลเมืองเป็นอย่างไรนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาและแต่ละประเทศเปลี่ยนแปลงในอัตราไม่เท่ากัน นอกจาก[[การเลือกตั้ง]]แล้ว ความคิดที่เป็นรากฐานของประชาธิปไตย ได้แก่ [[เสรีภาพในการชุมนุม]]และ[[เสรีภาพในการพูด|การพูด]] การไม่แบ่งแยกและ[[ความเสมอภาค]] สิทธิพลเมือง ความยินยอม สิทธิในการมีชีวิตและ[[สิทธิฝ่ายข้างน้อย]] นอกจากนี้ ประชาธิปไตยยังทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลประโยชน์ของตนและแบ่งอำนาจจากกลุ่มคนมาเป็นชุดกฎเกณฑ์แทน<ref>{{cite book|last1=Przeworski|first1=Adam|title=Democracy and the Market|url=https://archive.org/details/democracymarket00prze|url-access=registration|date=1991|publisher=Cambridge University Press|pages=[https://archive.org/details/democracymarket00prze/page/10 10–14]}}</ref>
 
ประชาธิปไตยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ประเภทแรกเริ่มปรากฏขึ้นใน[[กรีซโบราณ|นครรัฐกรีกโบราณ]]บางแห่งช่วงศตวรรษที่ 5 [[ก่อนคริสตกาล]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน[[เอเธนส์ยุคคลาสสิก|นครรัฐเอเธนส์]] เรียก [[ประชาธิปไตยทางตรง]] ซึ่งพลเมืองทุกคนมีสิทธิพิจารณากลั่นกรองและวินิจฉัยกฎหมาย ประเภทที่สองเป็น[[ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน]] โดยสาธารณะออกเสียงใน[[การเลือกตั้ง]]และเลือกผู้แทนตนไปทำหน้าที่ใน[[รัฐสภา]] เช่น [[ระบบรัฐสภา]]และ[[ระบบประธานาธิบดี]]<ref>{{Cite book|last=Boyd|first=James Penny|url=https://books.google.com/books?id=Sj0vAAAAYAAJ&pg=PA13|title=Building and Ruling the Republic|date=1884|publisher=Bradley, Garretson & Company|pages=12–13|language=en}}</ref> สำหรับ[[ประชาธิปไตยเสรีนิยม]]ซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่พบกันแพร่หลายนั้น การใช้อำนาจของฝ่ายข้างมากจะอยู่ภายใต้กรอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน แต่[[รัฐธรรมนูญ]]มี[[การตรวจสอบและถ่วงดุล]]อำนาจของฝ่ายข้างมาก กับทั้งคุ้มครองสิทธิของฝ่ายข้างน้อย ซึ่งพลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิบางประการ เช่น เสรีภาพในการชุมนุมและการพูด<ref>{{cite encyclopedia |last1=Watkins |first1=Frederick |title=Democracy |encyclopedia=Encyclopædia Britannica |date=1970 |publisher=William Benton |isbn=978-0-85229-135-1 |pages=215–23 |edition=Expo '70 hardcover |language=en |volume=7}}</ref> การวินิจฉัยสั่งการส่วนใหญ่ใช้[[การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์]] แต่บางอย่างใช้[[คะแนนเสียงข้างมากพิเศษ]]หรืออาจถึงขั้นเสียงเอกฉันท์ เพื่อให้ประเด็นที่ละเอียดอ่อนมีความชอบธรรมมากขึ้น ถึงแม้ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ในโลกใช้ประชาธิปไตยทางอ้อม แต่กระบวนการบางอย่างยังเป็นประชาธิปไตยทางตรง เช่น [[การลงประชามติ]] การเลือกคณะลูกขุนในศาล การเข้าชื่อเสนอกฎหมายหรือถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง เป็นต้น