ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอแซก นิวตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 64:
 
'''เซอร์ไอแซก นิวตัน'''มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของ[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] และ[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]] หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]
 
== ผลงาน ==
{{โครงส่วน}}
=== ด้านคณิตศาสตร์ ===
กล่าวกันว่า ผลงานของนิวตันเป็น "ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในทุกสาขาของคณิตศาสตร์ในยุคนั้น<ref>W W Rouse Ball (1908), "A short account of the history of mathematics", at page 319.</ref> ผลงานที่เขาเรียกว่า Fluxion หรือแคลคูลัส ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียนชุดหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1666 ในปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์อยู่รวมกับงานด้านคณิตศาสตร์อื่นๆ ของนิวตัน<ref>D T Whiteside (ed.), ''The Mathematical Papers of Isaac Newton'' (Volume 1), (Cambridge University Press, 1967), part 7 "The October 1666 Tract on Fluxions", [http://books.google.com/books?id=1ZcYsNBptfYC&pg=PA400 at page 400, in 2008 reprint].</ref> ในจดหมายที่[[ไอแซก แบร์โรว์]] ส่งไปให้[[จอห์น คอลลินส์]]เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1669 กล่าวถึงผู้เขียนต้นฉบับ ''[[De analysi per aequationes numero terminorum infinitas]]'' ที่เขาส่งไปให้คอลลินส์เมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนั้นว่า<ref>D Gjertsen (1986), "The Newton handbook", (London (Routledge & Kegan Paul) 1986), at page 149.</ref>
 
{{quote|Mr Newton, a fellow of our College, and very young&nbsp;... but of an extraordinary genius and proficiency in these things. }}
 
ต่อมานิวตันมีข้อขัดแย้งกับ[[ไลบ์นิซ]]ในเรื่องที่ว่า ใครเป็นผู้คิดพัฒนา[[แคลคูลัส]]ก่อนกัน นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เชื่อว่าทั้งนิวตันและไลบ์นิซต่างคนต่างก็พัฒนา[[แคลคูลัสกณิกนันต์]]กันโดยอิสระ แม้ว่าจะมีบันทึกที่แตกต่างกันมากมาย ดูเหมือนว่า นิวตันจะไม่เคยตีพิมพ์อะไรเกี่ยวกับแคลคูลัสเลยก่อนปี พ.ศ. 2236 และไม่ได้เขียนบทความฉบับสมบูรณ์ในเรื่องนี้ตราบจนปี พ.ศ. 2247 ขณะที่ไลบ์นิซเริ่มตีพิมพ์บทความฉบับเต็มเกี่ยวกับกระบวนวิธีคิดของเขาในปี พ.ศ. 2227 (บันทึกของไลบ์นิซและ "กระบวนวิธีดิฟเฟอเรนเชียล" เป็นที่ยอมรับนำไปใช้โดยนักคณิตศาสตร์ในภาคพื้นยุโรป และต่อมานักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษจึงค่อยรับไปใช้ในปี พ.ศ. 2363) แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดนี้ไม่ได้ให้ข้อสังเกตในเนื้อหาของแคลคูลัส ซึ่งนักวิจารณ์ทั้งในยุคของนิวตันและยุคสมัยใหม่ต่างระบุว่า มีอยู่ในเล่มที่ 1 ของหนังสือชุด ''Principia'' ของนิวตัน (ตีพิมพ์ปี 2230) และในต้นฉบับลายมือเขียนที่มีมาก่อนหน้านี้ เช่น ''De motu corporum in gyrum'' ("การเคลื่อนที่ของวัตถุในวงโคจร") เมื่อปี 1684 ''Principia'' ไม่ได้เขียนในภาษาแคลคูลัสแบบที่เรารู้จัก แต่มีการใช้แคลคูลัสกณิกนันต์ในรูปแบบเรขาคณิต ว่าด้วยจำนวนที่ถูกจำกัดด้วยสัดส่วนของจำนวนที่เล็กลงไปเรื่อยๆ นิวตันสาธิตวิธีการนี้เอาไว้ใน ''Principia'' โดยเรียกชื่อมันว่า กระบวนวิธีสัดส่วนแรกและสัดส่วนสุดท้าย (method of first and last ratios)<ref>Newton, 'Principia', 1729 English translation, [http://books.google.com/books?id=Tm0FAAAAQAAJ&pg=PA41 at page 41].</ref> และอธิบายไว้ว่าเหตุใดเขาจึงแสดงความหมายของมันในรูปแบบเช่นนี้<ref>Newton, 'Principia', 1729 English translation, [http://books.google.com/books?id=Tm0FAAAAQAAJ&pg=PA54 at page 54].</ref> โดยกล่าวด้วยว่า "นี้คือการแสดงวิธีแบบเดียวกันกับกระบวนการของการแบ่งแยกไม่ได้อีกต่อไป"
 
ด้วยเหตุนี้ในยุคปัจจุบัน ''Principia'' จึงถูกเรียกว่าเป็น "หนังสือที่อัดแน่นด้วยทฤษฏีและการประยุกต์ใช้แคลคูลัสกณิกนันต์"<ref>Clifford Truesdell, ''Essays in the History of Mechanics'' (Berlin, 1968), at p.99.</ref> และ "lequel est presque tout de ce calcul" ("แทบทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับแคลคูลัส") ในยุคของนิวตัน<ref>อยู่ในบทนำของหนังสือของ Marquis de L'Hospital's ''Analyse des Infiniment Petits'' (Paris, 1696).</ref> การใช้กระบวนวิธีเช่นนี้ของเขาที่เกี่ยวข้องกับ "จำนวนกณิกนันต์หนึ่งอันดับหรือมากกว่านั้น" ได้แสดงไว้ในงานเขียน ''De motu corporum in gyrum'' ของเขาเมื่อปี 1684<ref>เริ่มต้นด้วย [[De motu corporum in gyrum#Contents|De motu corporum in gyrum]], ดูเพิ่มที่ [http://books.google.com/books?id=uvMGAAAAcAAJ&pg=RA1-PA2 (Latin) Theorem 1].</ref> และในงานเขียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ที่เขียนขึ้น "ระหว่าง 2 ทศวรรษก่อนปี 1684"<ref>D T Whiteside (1970), "The Mathematical principles underlying Newton's Principia Mathematica" in ''Journal for the History of Astronomy'', vol.1, pages 116–138, especially at pages 119–120.</ref>
 
นิวตันลังเลในการเผยแพร่แคลคูลัสของเขาก็เพราะเขากลัวข้อโต้แย้งและคำวิพากษ์วิจารณ์<ref>Stewart 2009, p.107</ref> เขาเคยสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส [[Nicolas Fatio de Duillier]] ครั้นปี 2234 ดุยลิเยร์เริ่มต้นเขียน ''Principia'' ของนิวตันขึ้นในรูปแบบใหม่ และติดต่อกับไลบ์นิซ<ref>Westfall 1980, pp 538–539</ref> มิตรภาพระหว่างดุยลิเยร์กับนิวตันเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ปี 2236 และหนังสือนั้นก็เลยเขียนไม่เสร็จ
 
สมาชิก[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]หลายคน (สมาคมซึ่งนิวตันเป็นสมาชิกอยู่ด้วย) เริ่มกล่าวหาไลบ์นิซว่า[[โจรกรรมทางวรรณกรรม|ลอกเลียนผลงาน]]ของนิวตันในปี พ.ศ. 2242 ข้อโต้แย้งรุนแรงขึ้นถึงขั้นแตกหักในปี 2254 เมื่อทางราชสมาคมฯ ประกาศในงานศึกษาชิ้นหนึ่งว่า นิวตันคือผู้ค้นพบแคลคูลัสที่แท้จริง และตราหน้าไลบ์นิซว่าเป็นจอมหลอกลวง งานศึกษาชิ้นนั้นกลายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยเมื่อพบในภายหลังว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็นคนเขียนบทสรุปของงานโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไลบ์นิซ ข้อขัดแย้งในเรื่องนี้กลายเป็นรอยด่างพร้อยในชีวิตของทั้งนิวตันและไลบ์นิซตราบจนกระทั่งไลบ์นิซเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2259<ref>Ball 1908, p. 356ff</ref>
 
นิวตันได้รับยกย่องโดยทั่วไปเนื่องจาก[[ทฤษฎีบททวินาม]]ที่ใช้ได้สำหรับเลขยกกำลังใดๆ เขาเป็นผู้ค้นพบ [[Newton's identities]], [[Newton's method]], เส้นโค้งบนระนาบลูกบาศก์ ([[โพลีโนเมียล]]อันดับสามของตัวแปรสองตัว), เขามีส่วนอย่างสำคัญต่อทฤษฎี [[finite differences]], และเป็นคนแรกที่ใช้[[เศษส่วนเลขชี้กำลัง]] (fractional indices) และนำ[[เรขาคณิต]]เชิงพิกัดมาใช้หาคำตอบจาก[[สมการไดโอแฟนทีน]] เขาหาค่าผลบวกย่อยโดยประมาณของ[[อนุกรมฮาร์โมนิก]]ได้โดยใช้[[ลอการิทึม]] (ก่อนจะมีสมการผลรวมของออยเลอร์) และเป็นคนแรกที่ใช้[[อนุกรมกำลัง]] งานของนิวตันเกี่ยวกับอนุกรมอนันต์ได้รับแรงบันดาลใจจากเลขทศนิยมของไซมอน สเตวิน (Simon Stevin)<ref>{{citation
| last1 = Błaszczyk | first1 = Piotr
| author1-link =
| last2 = Katz | first2 = Mikhail
| author2-link = Mikhail Katz
| last3 = Sherry | first3 = David
| author3-link =
| arxiv = 1202.4153
| doi = 10.1007/s10699-012-9285-8
| issue =
|journal = [[Foundations of Science]]
| pages =
| title = Ten misconceptions from the history of analysis and their debunking
| volume =
| year = 2012}}</ref>
 
นิวตันได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ลูเคเชียนด้านคณิตศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2212 โดยการเสนอชื่อของแบร์โรว์ ซึ่งในวันรับตำแหน่งนั้น ผู้รับตำแหน่งที่เป็นภาคีสมาชิกของเคมบริดจ์หรือออกซฟอร์ดจะต้องบวชเข้าเป็นพระในนิกายแองกลิกัน อย่างไรก็ดี ตำแหน่งศาสตราจารย์ลูเคเชียนนี้ไม่ได้บังคับว่าผู้รับตำแหน่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (คาดว่าคงเพราะต้องการให้มีเวลาเพื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า) นิวตันจึงยกเป็นข้ออ้างว่าตนไม่จำเป็นต้องบวช และได้รับพระราชานุญาตจาก[[พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ]][[ไฟล์:NewtonsTelescopeReplica.jpg|thumb|แบบจำลองจาก[[กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง]]ตัวที่สองของนิวตัน ซึ่งเขานำเสนอต่อ[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]ในปี 1672<ref>{{cite book|url=http://books.google.com/?id=KAWwzHlDVksC&dq=history+of+the+telescope&printsec=frontcover |title='&#39;The History of the Telescope'&#39; By Henry C. King, Page 74 |publisher=Google Books |accessdate=16 January 2010|isbn=978-0-486-43265-6|author1=King, Henry C|year=2003}}</ref>]]
 
ช่วงปี 2213-2215 นิวตันสอนวิชาทัศนศาสตร์<ref>{{cite web|last=Newton|first=Isaac|title=Hydrostatics, Optics, Sound and Heat|url=http://cudl.lib.cam.ac.uk/view/MS-ADD-03970/|publisher=Cambridge University Digital Library|accessdate=10 January 2012}}</ref> ในระหว่างช่วงเวลานี้ เขาศึกษาเรื่อง[[การหักเห]]ของแสง โดยแสดงให้เห็นว่า [[ปริซึม]]สามารถแตกแสงขาวให้กลายเป็นสเปกตรัมของแสงได้ และถ้ามี[[เลนส์]]กับปริซึมอีกแท่งหนึ่งจะสามารถรวมแสงสเปกตรัมหลายสีกลับมาเป็นแสงขาวได้<ref>Ball 1908, p. 324</ref> นักวิชาการยุคใหม่เปิดเผยว่างานวิเคราะห์แสงขาวของนิวตันนี้เป็นผลมาจากวิชาเล่นแร่แปรธาตุเชิง[[ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์|คอร์พัสคิวลาร์]]<ref>[[William R. Newman]], "Newton's Early Optical Theory and its Debt to Chymistry," in Danielle Jacquart and Michel Hochmann, eds., ''Lumière et vision dans les sciences et dans les arts'' (Geneva: Droz, 2010), pp. 283-307. A free access online version of this article can be found at [http://webapp1.dlib.indiana.edu/newton/html/Newton_optics-alchemy_Jacquart_paper.pdf the ''Chymistry of Isaac Newton'' project]</ref>
 
เขายังแสดงให้เห็นว่า แสงที่มีสีจะไม่เปลี่ยนคุณสมบัติไปไม่ว่าจะถูกกระจายลำแสงออกส่องไปยังพื้นผิววัตถุใดๆ ก็ตาม นิวตันให้ข้อสังเกตว่า ไม่ว่าแสงนั้นจะสะท้อน กระจาย หรือเคลื่อนผ่านอะไร มันก็ยังคงเป็นสีเดิมอยู่นั่นเอง นอกจากนี้เขาสังเกตว่า สีนั้นคือผลลัพธ์จากการที่วัตถุมีปฏิกิริยากับแสงที่มีสีอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าวัตถุนั้นสร้างสีของมันออกมาเอง แนวคิดนี้รู้จักในชื่อ ทฤษฎีสีของนิวตัน (Newton's theory of colour)<ref>Ball 1908, p. 325</ref>
 
== เกียรติคุณและอนุสรณ์ ==