ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอออน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการอ้างอิงด้วยสจห.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Nitrate-ion-elpot.png|thumb|right|200px|แผนภาพประจุอิเล็กตรอนของไนเตรตไอออน]]
 
'''ไอออน''' คือ [[อะตอม]] หรือกลุ่มอะตอม ที่มี[[ประจุ]]สุทธิทางไฟฟ้าเป็นบวก หรือเป็นลบ ไอออนที่มีประจุลบ จะมี[[อิเล็กตรอน]]ใน[[ชั้นอิเล็กตรอน]] (electron shell) มากกว่าที่มันมี[[โปรตอน]]ใน[[นิวเคลียสอะตอม|นิวเคลียส]] เราเรียกไอออนชนิดนี้ว่า [[แอนไอออน]] (anion) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้ว[[แอโนด]] (anode) ส่วนไอออนที่มีประจุบวก จะมีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน เราเรียกว่า [[แคทไอออน]] (cation) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้ว[[แคโทด]] (cathode) กระบวนการแปลงเป็นไอออน และสภาพของการถูกทำให้เป็นไอออน เรียกว่า [[การแตกตัวเป็นไอออน]] ({{lang-en|ionization}}) ส่วนกระบวนการจับตัวระหว่างไอออนและอิเล็กตรอนเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นอะตอมที่ดุลประจุแล้วมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า recombination แอนไอออนแบบโพลีอะตอมิก ซึ่งมีออกซิเจนประกอบอยู่ บางครั้งก็เรียกว่า "ออกซีแอนไอออน" (oxyanion)
 
ไอออนแบบอะตอมเดียวและหลายอะตอม จะเขียนระบุด้วยเครื่องหมายประจุรวมทางไฟฟ้า และจำนวนอิเล็กตรอนที่สูญไปหรือได้รับมา (หากมีมากกว่า 1 อะตอม) ตัวอย่างเช่น [[ไฮโดรเจน|H]]<sup>+</sup>, [[กำมะถัน|S]][[ออกซิเจน|O]]<sub>3</sub><sup>2-</sup>
 
กลุ่มไอออนที่ไม่แตกตัวในน้ำ หรือแม้แต่ก๊าซ ที่มีส่วนของอนุภาคที่มีประจุ จะเรียกว่า [[พลาสมา]] (plasma) ซึ่งถือเป็น สถานะที่ 4 ของ[[สสาร]] เพราะคุณสมบัติของมันนั้น แตกต่างไปจาก[[ของแข็ง]] [[ของเหลว]] หรือ[[ก๊าซ]]
 
== พลังงานที่ต้องใช้ ==
พลังงานที่ต้องการใช้เพื่อดึงอิเล็กตรอนในสถานะพลังงานต่ำสุด จากอะตอม หรือโมเลกุลสารใด ๆ ในสถานะก๊าซ ที่มีประจุสุทธิทางไฟฟ้าน้อยกว่า เรียกว่า ความสามารถในการทำให้เกิดไอออน (ionization potential หรือ ionization energy) พลังงานในการทำให้เกิดไอออนลำดับที่ n ของอะตอม ถือพลังงานที่ต้องใช้เพื่อดึงอิเล็กตรอนตัวที่ n หลังจากอิเล็กตรอนตัวที่ n-1 ถูกดึงออกไปแล้ว
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไอออน"