ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุรพล นิติไกรพจน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎6 ปีที่ตึกโดม: น่าจะคัดลอกมา
Power364 (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงข้อมูล/เพิ่มการอ้างอิง
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 56:
== ชีวิตส่วนตัว ==
สุรพลสมรสกับจรรยา นิติไกรพจน์<ref>[http://news.sanook.com/economic/economic_66813.php จรรยา นิติไกรพจน์ กับ เบเลสซ่าฆสปาชานเมือง ใช้ความต่างสร้างจุดเด่น]</ref> มีบุตรสาว 2 คนคือ พธู นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และ ภัทรา นิติไกรพจน์ (ศึกษาอยู่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
 
== 6 ปีที่ตึกโดม ==<ref>“หกปีที่ตึกโดม (Six Years in Thammasat University)”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.</ref>
1. การเปลี่ยนแปลงกายภาพมหาวิทยาลัย : ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารทุกหลังในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ศูนย์ลำปาง ศูนย์พัทยา ก่อสร้างขึ้นใหม่หรือปรับปรุงอาคารเกือบทั้งหมดของศูนย์รังสิต บำรุงรักษา ซ่อมแซมห้องสมุด โรงอาหาร หอพัก ถนน ทางเดินเท้า ทางจักรยาน พื้นที่สาธารณะในทุกศูนย์การศึกษาเพราะมหาวิทยาลัยที่สะอาด เป็นระเบียบ สง่างามและมีทุกสิ่งทุกอย่างเพียบพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการให้บริการสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการบริหารมหาวิทยาลัย
2. การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการในทุกศูนย์การศึกษา :
• ระหว่างท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต โยกย้ายกองและสำนักงานทุกสำนักงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดีไปตั้งหน่วยงานหลักที่ศูนย์รังสิต ย้ายสำนักงานสนับสนุนการบริหารงานและการจัดการศึกษาทุกหน่วยไปประจำ ณ ศูนย์รังสิต ใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนระบบริหารงานระหว่างท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตมากกว่า 5 ปีจึงสำเร็จและทำให้พื้นที่สำนักงานสามารถให้บริการและตอบสนองการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
• ศูนย์ลำปางและศูนย์พัทยา จัดระบบงาน วางโครงสร้างหน่วยงาน กำหนดกรอบอัตรากำลังและสร้างขอบเขตความรับผิดชอบ มอบหมายให้มีผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยตรงในแต่ละระดับ
3. การเปลี่ยนแปลงและกำหนดมาตรฐานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นใหม่ :
• กำหนดนโยบายที่จะไม่มีการจัดการศึกษานอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนอกจากทั้งสี่ศูนย์การศึกษา
• ทบทวนหลักสูตรทั้งหมดทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา จัดให้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทำให้ในปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแรกของประเทศที่มีมาตรฐานครบถ้วนตามเกณฑ์
• กำหนดนโยบายไม่เพิ่มจำนวนรับนักศึกษาปริญญาตรี แต่จะเพิ่มในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเต็มรูปแบบ
4. การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการจัดการการเรียนการสอน : ปรับปรุงห้องเรียนให้มีอุปกรณ์ครบถ้วน ทันสมัย มีระบบเครือข่ายสัญญาณ มี software ลิขสิทธิ์ใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา พัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
5. การเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวิจัย : ขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพิ่มงบประมาณสนับสนุนการวิจัย สร้างบรรยากาศการยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้ประสบความสำเร็จในการวิจัย จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการวิจัยเป็นหน่วยงานถาวรระดับกองในสำนักงานอธิการบดีและกำหนดให้มีรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยรับผิดชอบส่งเสริมและดูแลงานวิจัย
6. การเปลี่ยนแปลงหน่วยงานบริหารมหาวิทยาลัย :
• จัดระบบงานและกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละงานของสำนักงานอธิการบดีให้ชัดเจน คือ สำนักงานนิติการ สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานประสานศูนย์การศึกษาในภูมิภาค สำนักงานอาคารสถานที่และสำนักงานบริหารการวิจัย
• ปรับเปลี่ยนโครงสร้างสำนักทะเบียนและประมวลผล สถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา สำนักหอสมุด เพื่อให้สอดคล้องรองรับการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงการดำเนินภารกิจของมหาวิทยาลัย
7. การปรับปรุงระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยสภามหาวิทยาลัย เพื่อลดปัญหา อุปสรรคและข้อขัดข้องที่มาจากระเบียบข้อบังคับประเภทต่าง ๆ เช่น ข้อบังคับเรื่องการจัดการศึกษา ระเบียบการบริหารจัดการทางการเงิน ระเบียบว่าด้วยการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ระเบียบการบริหารพนักงานมหาวิทยาลัย ระเบียบโครงการบริการสังคม ระเบียบว่าด้วยสวัสดิการ
8. การจัดระบบพัฒนาอาจารย์ประจำอย่างจริงจัง : การพัฒนาอาจารย์และพัฒนาระบบอาจารย์ประจำให้เข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์อย่างเหมาะสม มีจำนวนอาจารย์ที่พอเพียงเป็นการวางรากฐานการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคตเป็นอย่างดี
9. การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารบุคลากรสายสนับสนุน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีบุคลากรสายสนับสนุนประมาณ 4,600 คน การพัฒนาศักยภาพ กำหนดให้มีเงินเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในอัตราคนละ 2,500 / 1,200 / 800 บาทต่อเดือน วางระบบประเมินประสิทธิภาพและสร้างความก้าวหน้าที่ชัดเจน มีผลต่อการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร
10. การกำหนดแนวทางในเรื่องการประเมินมาตรฐานการศึกษา : ประกาศให้ปี 2550 เป็นปีแห่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ตามมติสภามหาวิทยาลัย จัดตั้งหน่วยงานดูแลรับผิดชอบประสานการปฏิบัติของฝ่ายต่าง ๆ ในเรื่องการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเป็นการเฉพาะ กำหนดให้มีผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายมาตรฐานการศึกษา กำหนดให้มีคณะกรรมการดูแลรับผิดชอบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่มีอธิการบดีเป็นประธาน ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับคะแนนประเมินคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในระดับดีมากตลอด 3 ปีติดต่อกัน (พ.ศ.2550-2552) และได้รับการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของประเทศสามลำดับแรกต่อเนื่องกัน 3 ปี (พ.ศ.2549 -2551)จากผลการปฏิบัติราชการประเมินโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
11. การเปลี่ยนแปลงระบบหอพักนักศึกษาและหอพักบุคลากร : ให้มีการก่อสร้างหอพักขนาดใหญ่ 4 อาคารในที่ดินของมหาวิทยาลัย ณ ศูนย์รังสิต ภายใต้ชื่อโครงการ TU-Dome Residential Complex (เรียกย่อ ๆ ว่า TU-Dome) ก่อสร้างอาคารหอพักบุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพิ่มขึ้น 2 หลังในปี 2553 และ 2554 ปรับปรุงระบบบริหารจัดการหอพักให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มศูนย์อาหาร ร้านค้าให้บริการ ทางเดินที่มีหลังคาคลุมตลอดแนว
12. การปรับปรุงคุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัย : จัดให้มีโรงอาหารศูนย์สุขศาสตร์แห่งที่ 2 เพิ่มร้านสะดวกซื้อในมหาวิทยาลัย จัดตั้งธนาคารกรุงไทยสาขาธรรมศาสตร์รังสิต ปรับปรุงและพัฒนาห้องน้ำทุกอาคารที่มหาวิทยาลัยดูแลให้สะอาด มีสุขอนามัยที่ดี
13. การกำหนดนโยบายในเรื่องสภาพแวดล้อมที่ดี : รณรงค์การคัดแยกขยะ การนำของใช้แล้วมาทำประโยชน์โดยจัดตั้งธนาคารขยะขึ้นที่ศูนย์รังสิตทำให้เป็นกรณีศึกษาต้นแบบของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รณรงค์งดใช้ภาชนะโฟมใส่อาหาร การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก รณรงค์ให้ศูนย์รังสิตเป็นมหาวิทยาลัยใช้จักรยาน (Bicycle Campus)
14. การปรับระบบการจราจรและการเดินทางระหว่างศูนย์การศึกษา : ทำสัญญาใหม่กำหนดให้ผู้ประกอบการเดินรถตู้ปรับอากาศระหว่างท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตใช้เชื้อเพลิง NGV ควบคุมราคาค่าโดยสารในอัตราเที่ยวละ 40 บาท จัดวางระบบและเริ่มให้บริการรถตู้โดยสารระหว่างศูนย์รังสิตกับสถานี BTS หมอชิต, ศูนย์รังสิตกับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค
15. การเปลี่ยนแปลงระบบสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา : สนับสนุนจุดเด่นที่เป็นลักษณะเฉพาะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีกิจกรรมนักศึกษาที่เข้มแข็ง หลากหลายและสามารถสร้างจิตสำนึกในการทำงานหรือทำประโยชน์ให้แก่คนอื่น ๆ หรือต่อสังคมโดยก่อสร้างอาคารกิจกรรมนักศึกษา 3 ชั้นที่ศูนย์รังสิต จัดตั้งเครือข่ายนักศึกษาอาสาสมัครเป็นการถาวร ปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการจัดตั้งชุมนุมและชมรมของนักศึกษา ประกาศให้ปี 2553 เป็นปีแห่งกิจกรรมนักศึกษา
16. การกำหนดแนวทางในการสร้างจิตสำนึกความเป็นธรรมศาสตร์ : จัดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิที่ศูนย์รังสิต เป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามินอกพื้นที่ภัยพิบัติเป็นศูนย์กลางของอาสาสมัคร ศูนย์กลางของจิตอาสาและความเอื้ออาทรต่อผู้อื่นของประชาคมธรรมศาสตร์ จัดสร้าง “หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์ ความภาคภูมิใจและเกียรติยศของมหาวิทยาลัย จัดสร้างลานโดมที่หลังตึกโดมท่าพระจันทร์ ปรับปรุงลานปรีดีด้านหน้าตึกโดม สร้างธรรมจักรที่ศูนย์ลำปางและศูนย์รังสิต จัดโครงการ “วันแรกพบ” สำหรับนักศึกษาใหม่ จัดกิจกรรม “ธรรมศาสตร์ทำนา” ที่ศูนย์รังสิตเพื่อให้ประชาคมธรรมศาสตร์ได้รับรู้และเรียนรู้อาชีพเกษตรกรและเส้นทางการผลิตเมล็ดข้าว
 
== เกียรติประวัติ ==