ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อีเลียด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6716090 สร้างโดย 95.180.12.157 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Homer Ilias Griphanius c1572.jpg|thumb|220px|ภาพปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572]]
 
== ไก่ ==
'''อีเลียด''' ({{lang-el|Ἰλιάς ''Ilias''}}; {{lang-en|Iliad}}) เป็นหนึ่งในสองบทกวี[[มหากาพย์]][[กรีกโบราณ]]ของ[[โฮเมอร์]] ซึ่งเล่าเรื่องราวของ[[สงครามเมืองทรอย]]ในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า ''อีเลียด'' ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อน[[คริสตกาล]]<ref>Pierre Vidal-Naquet, ''Le monde d'Homère'', Perrin 2000, p19 </ref> นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดใน[[ภาษากรีกโบราณ]] จึงถือได้ว่าเป็น[[วรรณกรรม]]ชิ้นแรกของ[[ยุโรป]]<ref>[http://messagenet.com/myths/essays/iliad.html From the Iliad...] เรียงความเรื่อง ''ปกรณัมกรีก'' จาก message.net.com</ref> แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน
อร่อย มาก
 
เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก ''อีเลียม (Ilium)'') อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ''ทรอย'' ({{lang-tr|Truva}}; {{lang-el|Τροία, Troía}}; {{lang-la|Troia, Troiae}}) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน
 
== การสร้างสรรค์และฉันทลักษณ์ ==
ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิชาการต่างลงความเห็นว่า ''อีเลียด'' และ ''[[โอดิสซีย์]]'' ประพันธ์ขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 9 ถึงต้นศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล แต่ยังมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ คนสำคัญได้แก่ แบร์รี่ บี. พาวเวลล์ (ผู้เสนอแนวคิดว่า ''อีเลียด'' มีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับการประดิษฐ์คิดค้น[[อักษรกรีก]]) จี.เอส.เคิร์ค และ ริชาร์ด แจงโค ส่วนนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง (รวมถึงมาร์ติน เวสต์ และ ริชาร์ด ซีฟอร์ด) เชื่อว่า[[มหากาพย์]]ชิ้นนี้น่าจะเกิดขึ้นในราว 6-700 ปีก่อนคริสตกาล<ref>มาร์ติน แอล. เวสต์. [http://ccat.sas.upenn.edu/bmcr/2004/2004-04-35.html ''Greek Epic Fragments from the Seventh to the Fifth Centuries BC''] สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, 2003</ref><ref>ริชาร์ด ซีฟอร์ด [http://eh.net/bookreviews/library/0911 ''Money and the Early Greek Mind: Homer, Philosophy, Tragedy''] สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 2004</ref>
 
นักวิชาการโดยทั่วไปเชื่อกันว่า ทั้ง ''อีเลียด'' และ ''โอดิสซีย์'' ประพันธ์ขึ้นโดย[[กวี]]คนเดียวกัน ชื่อว่า '''[[โฮเมอร์]]''' ชาว[[กรีก]]จากแคว้นไอโอเนีย บางแห่งว่าเขาเป็นนักดนตรีพเนจรตาบอด ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวผ่านบทลำนำแบบปากเปล่า อันเป็นลักษณะของ[[วัฒนธรรม]]การขับร้องในยุคโบราณ อย่างไรก็ดีมีนักวิชาการหลายคนเชื่อว่า โฮเมอร์ ไม่มีตัวตนจริง และมหากาพย์ ''อีเลียด'' และ ''โอดิสซีย์'' ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันนั้นเป็นการสร้างสรรค์โดยนักประพันธ์หลายๆ คน ที่จดบันทึกบทลำนำลงเป็นลายลักษณ์อักษรหลังจากเวลาผ่านไปหลายร้อยปี<ref>[http://www.crystalinks.com/homer.html Homer] จาก Crystalinks.com</ref>
 
บทกวี ''อีเลียด'' ประพันธ์ด้วย[[ฉันทลักษณ์]]แบบ dactylic hexameter มีความยาวทั้งสิ้น 15,693 บรรทัด สามารถแบ่งออกได้เป็น 24 บท (หรือ 24 ม้วนกระดาษ) แนวทางการแบ่งเนื้อหาเช่นนี้ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน<ref>[http://www.mlahanas.de/Greeks/Mythology/Iliad.html ''Iliad''] จาก พจนานุกรมตำนานกรีก mlahanas.de</ref>
 
== เรื่องราวในอีเลียด ==
[[ไฟล์:Beginning Iliad.svg|thumb|280px|โคลงบทแรกของอีเลียด]]
[[ไฟล์:Akhilleus Patroklos Antikensammlung Berlin F2278.jpg|thumb|280px|อคิลลีสพยาบาลปโตรกลัส ภาพวาดในพิพิธภัณฑ์ Altes กรุง[[เบอร์ลิน]] ประเทศ[[เยอรมัน]]]]
555+
มหากาพย์ ''อีเลียด'' เริ่มต้นด้วยประโยคต่อไปนี้
{{คำพูด|
μῆνιν ἄειδε θεὰ Πηληϊάδεω Ἀχιλῆος<br />
οὐλομένην, ἣ μυρί' Ἀχαιοῖς ἄλγε' ἔθηκεν,
 
''ร้องเพลงเถิดเทพี โทสะแห่งอคิลลีส บุตรแห่งพีลูส''<br />
''โทสะทำลายล้างอันนำความเจ็บปวดมหาศาลสู่ชาวเอเคียน''}}
 
คำเปิดเรื่อง ''อีเลียด'' ของโฮเมอร์ คือ μῆνιν (mēnin) ซึ่งเป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง "โทสะ" เป็นการประกาศถึงธีมหลักของเรื่อง ''อีเลียด'' นั่นคือ "โทสะของ[[อคิลลีส]]" เมื่ออักกะเมมนอน ผู้นำกองทัพกรีกบุกเมืองทรอย ได้หมิ่นเกียรติของอคิลลีสโดยการชิงตัวนางไบรเซอีส ทาสสาวนางหนึ่งซึ่งตกเป็นของขวัญชนะศึกของอคิลลีสไปเสีย อคิลลีสจึงถอนตัวจากการรบ แต่เมื่อปราศจากอคิลลีสกับทัพของเขา กองทัพกรีกก็ต้องพ่ายต่อเมืองทรอยอย่างย่อยยับ จนเกือบจะถอดใจยกทัพกลับ แต่แล้วอคิลลีสกลับเข้าร่วมในการรบอีก หลังจากเพื่อนสนิทของเขาคือ [[ปโตรกลัส]] ถูกสังหารโดย[[เฮกเตอร์ (ทรอย)|เฮกเตอร์]]เจ้าชายเมืองทรอย อคิลลีสสังหารชาวทรอยไปเป็นจำนวนมากรวมทั้งเฮกเตอร์ แล้วลากศพเฮกเตอร์ประจาน ไม่ยอมคืนร่างผู้เสียชีวิตให้มาตุภูมิซึ่งผิดธรรมเนียมการรบ จนในที่สุดท้าว[[เพรียม]] บิดาของเฮกเตอร์ ต้องมาไถ่ร่างบุตรชายกลับคืน มหากาพย์ ''อีเลียด'' สิ้นสุดลงที่งานพิธีศพของเฮกเตอร์
 
โฮเมอร์บรรยายภาพการศึกไว้ในมหากาพย์อย่างละเอียด เขาระบุชื่อนักรบจำนวนมาก เอ่ยถึงถ้อยคำที่ด่าทอ นับจำนวนครั้งที่เปล่งเสียงร้อง รวมถึงรายละเอียดในการปลิดชีวิตฝ่ายศัตรู การสิ้นชีวิตของวีรบุรุษแต่ละคนส่งผลให้การสงครามรุนแรงหนักยิ่งขึ้น ทัพทั้งสองฝ่ายต่างเข้าแย่งชิงเสื้อเกราะเครื่องอาวุธ และแก้แค้นต่อผู้ที่สังหารคนของตน นักรบที่โชคดีมักรอดพ้นไปได้ด้วยฝีมือขับรถของสารถี หรือด้วยการช่วยเหลือป้องกันของเหล่าเทพ รายละเอียดสงครามของโฮเมอร์นับเป็นงานวรรณกรรมที่โหดเหี้ยมและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด
 
มหากาพย์ ''อีเลียด'' มีนัยยะทางศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่มาก กองทัพทั้งสองฝ่ายต่างเคร่งครัดศรัทธาต่อ[[เทพเจ้าของกรีก|เทพเจ้า]]ของตน และต่างมีนักรบที่สืบเชื้อสายมาจากเหล่าเทพด้วย พวกเขามักเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้า ขอคำปรึกษาจากพระ และแสวงหาคำพยากรณ์เพื่อตัดสินใจว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป พวกเทพเจ้ามักเข้าร่วมในการรบ ทั้งโดยการให้คำแนะนำและช่วยเหลือปกป้องนักรบคนโปรด บางคราวก็ร่วมรบด้วยตนเองกับพวกมนุษย์หรือกับเทพเจ้าองค์อื่นๆ
 
ตัวละครหลักของมหากาพย์ ''อีเลียด'' จำนวนมากมีส่วนเชื่อมโยงสงครามเมืองทรอยเข้ากับตำนานปรัมปราอื่นๆ เช่น ตำนาน[[เจสัน (ปกรณัม)|เจสันกับขนแกะทองคำ]] [[ตำนานกบฏเมืองธีบส์]] และ[[เฮราคลีส|การผจญภัยของเฮราคลีส (เฮอร์คิวลีส)]] ตำนานปรัมปราของกรีกโบราณเหล่านี้มีเรื่องเล่ามาในหลากหลายรูปแบบ โฮเมอร์จึงค่อนข้างมีอิสระในการเลือกเอารูปแบบตามที่เขาต้องการเพื่อนำมาประกอบในมหากาพย์ รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดูใน ''[[ตำนานกรีกโบราณ]]''
 
เรื่องราวในมหากาพย์ ''อีเลียด'' ครอบคลุมช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ในช่วงปีที่สิบและปีสุดท้ายของสงครามเมืองทรอย มิได้เล่าถึงความเป็นมาของการศึกและเหตุการณ์ในช่วงต้น (คือเรื่องที่[[ปารีส (ทรอย)|ปารีส]]ลักพานาง[[เฮเลน (ทรอย)|เฮเลน]]มาจากกษัตริย์เมนนิเลอัส) และมิได้เอ่ยถึงเหตุการณ์ตอนสิ้นสุดสงคราม (คือการตายของอคิลลีส และการล่มสลายของเมืองทรอย) อย่างไรก็ดีมีบทกวีมหากาพย์เรื่องอื่นที่บรรยายความต่อจากนี้ แต่หลงเหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียงเล็กน้อย มีเนื้อความกระจัดกระจายเป็นส่วนๆ ไม่ต่อเนื่อง รายละเอียดของสงครามทั้งหมด โปรดดูจากบทความเรื่อง ''[[สงครามเมืองทรอย]]''
 
=== โครงเรื่อง ===
บทกวีเริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวกรีกได้จับตัวนางไครเซอีส บุตรีของไครสิสเจ้าพิธีของ[[อพอลโล]]มาแล้ว และมอบนางให้เป็นรางวัลแก่อักกะเมมนอน เทพอพอลโลจึงบันดาลให้เกิดโรคระบาดในกองทัพกรีก เพื่อบีบบังคับให้อักกะเมมนอนคืนตัวนางไครเซอีสให้แก่บิดา อักกะเมมนอนจึงไปบังคับเอาตัวนางไบรเซอีสมาแทน นางไบรเซอีสเป็นทาสชาวเอเคียนที่มอบให้เป็นรางวัลแก่[[อคิลลีส]] นักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค ดังนั้นอคิลลีสจึงถอนตัวออกจากการรบ
 
ฝ่ายเมืองทรอยนั้นมีเจ้าชาย[[เฮกเตอร์ (ทรอย)|เฮกเตอร์]] โอรสของท้าว[[เพรียม]] เป็นแม่ทัพนำศึกป้องกันเมืองและปกป้องครอบครัวของตน เมื่ออคิลลีสไม่ยอมร่วมรบด้วย เฮกเตอร์จึงสามารถมีชัยชนะเหนือกองทัพกรีก นักรบกรีกที่เหลืออยู่ รวมถึง[[โอดิซูส]]และดิโอมีดีส ต่างได้รับบาดเจ็บ ด้วยเวลานั้นปวงเทพต่างเข้าข้างฝ่ายเมืองทรอย [[ปโตรกลัส]]จึงปลอมตัวเป็นอคิลลีสโดยนำเสื้อเกราะของเขามาสวม และนำทัพชาวเมอร์มิดอนกลับเข้าร่วมรบเพื่อช่วยป้องกันเรือของพวกกรีกไม่ให้ถูกเผาทำลาย ปโตรกลัสถูกเฮกเตอร์สังหารสิ้นชีพ อคิลลีสจึงกลับเข้าร่วมรบเพื่อแก้แค้นให้ปโตรกลัส เขาสังหารเฮกเตอร์ได้สำเร็จด้วยการประลองตัวต่อตัว แล้วเอาร่างของเฮกเตอร์กลับไปค่ายด้วย ท้าวเพรียมลอบเข้าค่ายทัพกรีก (ด้วยความช่วยเหลือของเทพ[[เฮอร์มีส]]) เพื่อไถ่ร่างของบุตรชายคืน อคิลลีสเกิดความสงสารจึงคืนให้ บทกวีจบลงที่การพิธีศพของเฮกเตอร์
 
=== รายละเอียดเล่ม ===
* เล่ม 1 : สงครามผ่านไปเก้าปี อักกะเมมนอนจับตัวนางไบรเซอีสมาใช้แทนนางไครเซอีส [[อคิลลีส]]ถอนตัวจากกองทัพด้วยความโกรธ บนเทือกเขา[[โอลิมปัส]] เหล่าเทพถกเถียงกันเรื่องผลของสงคราม
* เล่ม 2 : อักกะเมมนอนแสร้งสั่งให้ถอยทัพเพื่อลองใจ [[โอดิซูส]]ปลุกระดมทัพ[[กรีก]]ให้เข้าสู้ รายละเอียดกองเรือ รายละเอียดเมืองทรอยและทัพพันธมิตร
* เล่ม 3 : [[ปารีส (ทรอย)|ปารีส]]ท้าเมนนิเลอัสประลองตัวต่อตัว โดยนาง[[เฮเลน (ทรอย)|เฮเลน]]เฝ้าดูบนกำแพงเมืองทรอยข้างท้าวเพรียม ปารีสเอาชนะเมนนิเลอัสได้อย่างรวดเร็ว แต่เทพี[[อโฟรไดท์]]มาช่วยเขาไว้ ทำให้ดูเหมือนเมนนิเลอัสเป็นฝ่ายชนะ
* เล่ม 4 : ยกเลิกการพักรบ เริ่มประจัญบาน
* เล่ม 5 : ดิโอมีดีสมีชัยในการรบ อโฟรไดท์กับ[[เอรีส]]ได้รับบาดเจ็บ
* เล่ม 6 : เกลาคัสกับดิโอมีดีสแสดงความยินดีต่อกันระหว่างพักรบ [[เฮกเตอร์]]กลับเข้าเมืองทรอยและเจรจากับภริยาของตน
* เล่ม 7 : เฮกเตอร์สู้กับ[[อจักส์]]
* เล่ม 8 : เทพเจ้าถอนตัวจากการรบ
* เล่ม 9 : ทัพกรีกส่งผู้แทนไปเจรจากับอคิลลีส แต่ถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย
* เล่ม 10 : ดิโอมีดีสและโอดิซูสลอบสืบข้อมูลในเมืองทรอย และสังหารโดลอนชาวทรอยผู้ทรยศ
* เล่ม 11 : ปารีสทำร้ายดิโอมีดีสบาดเจ็บ อคิลลีสส่งปโตรกลัสเข้าร่วมรบ
* เล่ม 12 : ทัพกรีกถอยกลับเข้าค่าย ถูกทัพเมืองทรอยปิดล้อม
* เล่ม 13 : เทพ[[โพไซดอน]]ให้กำลังใจทัพกรีก
* เล่ม 14 : เทพี[[เฮรา]]ช่วยโพไซดอนให้ช่วยทัพกรีก เทพ[[ซูส]]มาห้ามไว้
* เล่ม 15 : เทพซูสห้ามโพไซดอนไม่ให้เข้ายุ่งเกี่ยวการรบ
* เล่ม 16 : ปโตรกลัสสวมเกราะของอคิลลีสเข้าร่วมรบ สังหารซาร์เพดอน และต่อมาถูกเฮกเตอร์สังหาร
* เล่ม 17 : สองทัพรบกันเพื่อชิงเสื้อเกราะและร่างของปโตรกลัส
* เล่ม 18 : อคิลลีสทราบข่าวการตายของปโตรกลัส ได้รับเสื้อเกราะใหม่ มีบทบรรยายเสื้อเกราะนี้อย่างละเอียด
* เล่ม 19 : อคิลลีสคืนดีกับอักกะเมมนอน และกลับเข้าร่วมรบ
* เล่ม 20 : เทพเจ้ากลับเข้าร่วมในการรบอีก อคิลลีสพยายามสังหาร[[อีเนียส]]
* เล่ม 21 : อคิลลีสรบกับทัพสกาแมนเดอร์จำนวนมาก ประจันหน้ากับเฮกเตอร์ที่หน้าประตูเมืองทรอย
* เล่ม 22 : อคิลลีสสังหารเฮกเตอร์และลากร่างของเขากลับไปค่ายทัพกรีก
* เล่ม 23 : งานศพของปโตรกลัส
* เล่ม 24 : ท้าวเพรียม กษัตริย์เมืองทรอย ลอบเข้าค่ายทัพ[[กรีก]] ขอร้องอคิลลีสให้คืนร่างของเฮกเตอร์ อคิลลีสยอมตาม ร่างของเฮกเตอร์จึงได้นำกลับไปทำพิธีศพบนกองฟืน
 
=== เหตุการณ์หลังจาก ''อีเลียด'' ===
ตอนจบของ ''อีเลียด'' เต็มไปด้วยลางร้ายมากมายอันเนื่องจากการเสียชีวิตของเฮกเตอร์ และดูเหมือนว่าชะตาของกรุงทรอยได้มาถึงจุดจบ แต่[[โฮเมอร์]]มิได้แสดงรายละเอียดของการล่มสลายของกรุงทรอยไว้ รายละเอียดของการล่มสลายสามารถดูเพิ่มเติมได้จาก ''[[สงครามเมืองทรอย]]'' ส่วน[[กวีนิพนธ์]]ของโฮเมอร์อีกเรื่องหนึ่งคือ ''[[โอดิสซีย์]]'' เล่าถึงเหตุการณ์ระหว่างการเดินทางกลับบ้านของ[[โอดิซูส]] หลังจากเสร็จศึกกรุงทรอย กวีนิพนธ์ทั้งสองเรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน แต่ไม่ได้ต่อเนื่องกัน
 
== ตัวละครหลัก ==
[[ไฟล์:Helen of Troy.jpg|thumb|250px|เฮเลนแห่งทรอย ต้นเหตุแห่งสงครามล่มเมือง]]
มหากาพย์ ''อีเลียด'' มีตัวละครปรากฏในเรื่องเป็นจำนวนมาก ในที่นี้จะกล่าวถึงตัวละครหลักจำนวนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญเท่านั้น
=== ฝ่ายเอเคียน ===
ชาวเอเคียน (Achaean) หรือที่ปัจจุบันแปลมาเป็น ชาว[[กรีก]] บางครั้งก็เรียกว่า ชาว Danaans (''Δαναοί'' : ปรากฏในมหากาพย์ 138 ครั้ง) หรือชาว Argives ('''Aργεĩοι'' : ปรากฏในมหากาพย์ 29 ครั้ง) มีตัวละครหลักดังนี้
* [[อคิลลีส]] ชาวเมอร์มิดอน บุตรนางอัปสรธีทิส เมื่อเด็กได้จุ่มร่างในแม่น้ำสติกส์อันศักดิ์สิทธิ์ ทำให้กายเป็นอมตะไม่ระคายคมดาบ เว้นแต่ที่ข้อเท้าซึ่งมารดากุมไว้ขณะจุ่มร่าง
* อักกะเมมนอน เจ้าเมืองไมซินีและอาร์กอส พี่ชายของเมนนิเลอัส เป็นแม่ทัพหลวงในการยกทัพไปตีเมืองทรอย
* เมนนิเลอัส เจ้าเมือง[[สปาร์ตา]] เป็นสามีของนางเฮเลน
* [[อจักส์]] ผู้ทรงพลัง
* ไดโอมิดีส
* [[โอดิซูส]] หรือ ยูลิซีส ผู้เฉลียวฉลาด
* [[ปโตรกลัส]] ญาติและสหายสนิทของอคิลลีส
* ฟิลอกทีทีส ผู้ครองคันธนูพร้อมลูกอาบเลือด[[ไฮดรา (สัตว์ในตำนาน)|ไฮดรา]]ของ[[เฮอร์คิวลีส]]
* ฟีนิกซ์
 
=== ฝ่ายทรอย ===
* ท้าว[[เพรียม]] เจ้าเมืองทรอย บิดาของเฮกเตอร์และปารีส
* [[เฮกเตอร์ (ทรอย)|เฮกเตอร์]] เจ้าชายเมืองทรอย
* [[ปารีส (ทรอย)|ปารีส]] เจ้าชายเมืองทรอย ผู้ชิงตัวนางเฮเลนมาจากเมืองสปาร์ตา เป็นเหตุให้เกิดสงคราม
* [[อีเนียส]] บุตรของเทพี[[วีนัส]] (หรือ[[อโฟรไดท์]]) นักรบเมืองทรอย
* [[เฮเลน (ทรอย)|นางเฮเลน]] เดิมเป็นภริยาของกษัตริย์เมนนิเลอัส ถูกเจ้าชายปารีสชิงตัวมาเมืองทรอย เป็นชนวนให้เกิดสงครามเมืองทรอย
* นางเฮกคิวบา ชายาของท้าวเพรียม มารดาของเฮกเตอร์และปารีส
* นางอันโดรมาคี ภริยาของเฮกเตอร์
* นางไบรเซอีส ชาวเมืองทรอย ถูกจับตัวไปเป็นเชลยแก่อคิลลีส แต่นางหลงรักอคิลลีส ภายหลังถูกอักกะเมมนอนชิงตัวไป ทำให้อคิลลีสโกรธและไม่เข้าช่วยในการรบ
* นางไครเซอีส บุตรีของไครสีส เจ้าพิธีศาลเทพ[[อพอลโล]] ถูกพวกกรีกชิงตัวไปให้อักกะเมมนอน ทำให้ไครสีสทำบูชาเทพอพอลโลให้ลงมาสั่งสอนฝ่ายกรีก เป็นเหตุการณ์ที่เทพเข้ามาร่วมในการสงครามเป็นครั้งแรก
 
== แก่นของเรื่อง ==
=== นอสตอส ===