ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ละหมาด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5683770 สร้างโดย 115.87.216.145 (พูดคุย)
Prayong.flower (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
 
การละหมาดที่มี 2 ร็อกอะหฺ เมื่อลุกขึ้นจากการกราบครั้งที่ 2 จะอ่านตะฮียะหฺ หรือเรียกว่า ตะชะหฺหุด ส่วนละหมาดที่มีมากกว่า 2 ร็อกอะหฺจะอ่านตะฮียะหฺอีกครั้งในร็อกอะหฺสุดท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการกล่าวตะฮียะหฺจะเป็นการกล่าวสลาม คือกล่าวว่า "อัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมาตุลลอหฺ" พร้อมกับเหลียวไปทางขวาครั้งหนึ่ง กล่าวอีกพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย แล้วยกมือลูบหน้า เป็นอันเสร็จสิ้นการละหมาด
 
'''ผู้หญิงละหมาด'''
เมื่อผู้หญิงละหมาดไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรดูหรือละหมาดสุนัตก็ตาม ในกรณีที่ละหมาดร่วมกันญะมาอะห์ ไม่ตักบีรและไม่อ่านด้วยเสียงดัง ความดังนั้นเปรียบได้ว่าขนาดเท่าพูดเบาๆ และไม่ยืนเข้าแถวแบบผู้ชาย ที่อิหม่ามจะยืนเดี่ยงข้างหน้า สำหรับผู้หญิงในกรณีญะมาอะห์ให้ยืนเข้าแถวในระดับเดียวกัน ให้ผู้ที่จะนำตักบีรยืนอยู่ซ้าย มะอฺมูม(ผู้ตาม)ให้ยืนด้านขวา
 
=='''ละหมาดมัสบู๊ก'''== الصلاة المسبوك Prayer cast
คือการมาร่วมละหมาดญะมาอะห์ไม่ทันในรุกูอะของเราะกะอัตนั้นๆ เมื่ออิหม่ามละหมาดเสร็จให้สลาม เรายังไม่ต้องให้สลามตามอิหม่าม แต่ต้องลุกขึ้นละหมาดเราะกะอัตนั้นเสียก่อน จึงจะนั่งตะชะฮู้ดครั้งสุดท้ายได้ การมาทันเราะกะอัตนั้นหรือไม่นั้น เอาการก้มรุกูอะเป็นเกณฑ์ ถ้ามะอะมูมมาได้ทำรุกูอะ ก็ถือมาทันเราะกะอัตนั้น เราขาดไปกี่รุกูอะก็ทำให้ครบตามจำนวนในเวลานั้นๆ
 
=='''ละหมาดย่อ'''== قصر الصلاة Shorten Prayer ผู้เดินทาง (صلاة المسافر)
สามารถละหมาดย่อได้ตราบใดที่ผู้นั้นยังเป็นผู้เดินทาง ถ้าหากเขาลงพักเพื่อทำธุระที่รอการเสร็จสิ้นธุระนั้น เขาก็สามารถละหมาดย่อได้เช่นกัน เพราะถือว่าเขาเป็นผู้เดินทาง ถึงแม้ว่าเขาจะลงพักเป็นเวลาหลายปีก็ตาม และอิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ.) เลือกความเห็นที่ว่า การลงพักไม่ทำให้ออกจากฮุก่มของการเดินทางไม่ว่าจะยาวหรือสั้นก็ตาม (หมายถึงการลงพัก) ตราบใดที่ผู้นั้นไม่ได้ลงหลักปักฐานในสถานที่ที่เขาลงพักอยู่นั้น และซัยยิด ซาบิก ก็มีความเห็นตามนี้ด้วย (ดู ฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่ 1 หน้า 268,269) คุณ hasan ก็เอาทัศนะทั้งหมดมาชั่งดู เห็นกับทัศนะไหนก็ว่าไปตามนั้น เรื่องนี้เปิดกว้าง
ละหมาดที่ย่อได้ มี 3 ละหมาด คือละหมาดที่มี 4 เราะกะอัตเท่านั้นที่ย่อได้ให้เหลือ 2 เราะกะอัต
# ละหมาดดุฮรี่ الظهر
# ละหมาดอัสรี่ العصر
# ละหมาดอีชาอ์ العشاء
 
อิสลามได้กำหนดรูปแบบของการละหมาดฟัรดู(ที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการทำศึก) ไว้ 3 ประเภทด้วยกันคือ
# ละหมาดของคนปกติ
# ละหมาดของคนมีอุปสรรค์
# ละหมาดของคนเดินทาง
ดังมีรายละเอียดดังนี้
# การละหมาดของคนที่อยู่ปกติก็ละหมาดไปตามเวลาและข้อกำหนดของแต่ละช่วงเวลาของมัน และแบบอย่างท่านนบี
# สำหรับผู้ที่อยู่ในสภาพมีอุปสรรค์ เช่น เจ็บป่วย กำลังรอพาหนะเดินทาง การไปยังสถานที่อื่นไกลบ้านแล้วคาดว่าจะกลับมาไม่ทันเวลาละหมาดข้างหน้า เช่นต้องออกไปหาหมอตอนบ่าย 3 คาดว่าคงจะกลับมาไม่ทันเวลาอัสรี่แน่ๆ หรือมีเหตุอันอาจจะทำให้ไม่สามารถละหมาดได้ตรงตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ (جمع الصلاة) วิธีการก็คือ นำละหมาดดุฮ์รี่ กับอัศรี่มาขึ้นมารวมกันในเวลาของดุฮรี่ (جمع تقديم) หรือจะเอาละหมาดดุฮ์รี่ลงไปรวมในเวลาอัศริ (جمع تاخير ) แต่ไม่ต้องย่อ และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยจะเอามัฆริบลงไปรวมในเวลาอีชาอฺ หรือเอาอีชาอฺขึ้นมารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องย่อ (قصر )
# อบูซุบัยร์ได้รายงานจากสะอี๊ด บินญุบัยร์ โดยฟังมาจากอิบนิอับาสว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ได้ละหมาดซุฮ์ริกับอัศริรวมกันที่มะดีนะห์ โดยที่ไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามและไม่ได้เดินทาง อบูซุเบรกล่าวว่า ฉันถามสะอี๊ดว่า ทำใมจึงทำเช่นนั้น เขาตอบว่า ฉันก็เคยถามอิบนิอับบาสอย่างนี้เหมือนกัน เขาตอบว่า ท่านรอซูลไม่ต้องการให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชาติของท่าน (บันทึกโดย อิหม่ามมุสลิม ฮะดีษที่ 1147)
# ส่วนผู้ที่อยู่ในสภาพของผู้เดินทางนั้น สามารถที่จะรวมและย่อละหมาดได้ด้วย วิธีการก็คือ
- นำละหมาดซุฮ์ริ กับอัศริมารวมกัน โดยละหมาดย่ออย่างละ 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง)
ถ้าเอาอัสรี่ขึ้นมาย่อรวมในเวลาของดุฮรี่ เรียกว่า “جمع تقديم “ ย่อรวมต้นของรอบบ่าย
ถ้าเอาเวลาของดุฮฺรี่ลงไปย่อรวมกับอัสรี่ เรียกว่า “جمع تاخير “ ย่อรวมหลังของช่วงบ่าย
- นำเอาอีชาขึ้นมารวมกับมัฆริบ (ละหมาดมักริบเต็ม 3 ร็อกอัต) เสร็จแล้วละหมาดอีชาอีก 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง) “جمع تقديم “ ย่อรวมต้นของละหมาดรอบค่ำ
จะเอามัฆริบลงไปย่อรวมในเวลาอีชา (ละหมาดมักริบเต็ม 3 ร็อกอัต) เสร็จแล้วละหมาดอีชาอีก 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง) “جمع تاخير” ย่อรวมหลังของช่วงค่ำ
แต่ถ้าการเดินทางสิ้นสุดลงแล้ว อาทิเช่น เดินทางไปทำอุมเราะห์และฮัจญ์ ระหว่างเดินทางอยู่บนเครื่องบินและสนามบิน คือช่วงเวลาเดินทาง ละหมาดย่อและรวมได้ แต่พอถึงที่พักในมักกะห์หรือมะดินะห์ก็ตาม ถือว่าพ้นจากภาวะเดินทางแล้ว เพราะมีที่พักพิงสะดวกสบายแล้ว ให้ละหมาดเต็มตามอิหม่ามในท้องที่นั้นๆ ครั้นเมื่อออกเดินทางไปถึงทุ่งมีนาในวันที่ 8 ซุลฮิจญะห์ ก็เริ่มย่อละหมาดได้ เพื่อจะไปรอวุกุฟในวันที่ 9 ซุลฮิจญะห์ (وقوف ) ในขณะอยู่ที่ทุ่งอารอฟาต เข้าเวลาดุฮรี่ก็ละหมาดโดยการนำเอาอัสรี่ขึ้นมาย่อและรวมกับดุฮฺรี่ ( جمع تقديم ) ถึงเวลามักริบยังไม่ละหมาดให้อพยบไปทุ่งมุซดาลิฟะห์เลย พอมาถึงทุ่งมุซดาลิฟะห์ ก็ให้เอาละหมาดมักริบ( ละหมาดเต็ม) มาละหมาดรวมย่อกับอิชาอฺ (جمع تاخير )
เมื่อกลับมาถึงที่พัก โรงแรม หรือ บ้าน ที่มีความสะดวกสบายแล้ว เป็นอันว่าสิ้นสุดของการเดินทางแล้ว ให้กลับมาละหมาดเต็ม กรณีนี้ไม่อนุญาตให้ละหมาดชดใช้ด้วยการย่อ และรวมได้ (ดูมัฏละอุ้ลบัดรอยน์ ; ชัยค์ ดาวูด อัลฟะฏอนี หน้า 44)
 
=='''การรวมละหมาด'''==
ผู้ที่อยู่ในสภาพมีอุปสรรค์ เช่น เจ็บป่วย กำลังรอพาหนะเดินทาง การไปยังสถานที่อื่นไกลบ้านแล้วคาดว่าจะกลับมาไม่ทันเวลาละหมาดข้างหน้า เช่นต้องออกไปหาหมอตอนบ่าย 3 คาดว่าคงจะกลับมาไม่ทันเวลาอัสรี่แน่ๆ หรือมีเหตุอันอาจจะทำให้ไม่สามารถละหมาดได้ตรงตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ (جمع الصلاة) วิธีการก็คือ นำละหมาดดุฮ์รี่ กับอัศรี่มาขึ้นมารวมกันในเวลาของดุฮรี่ (جمع تقديم) หรือจะเอาละหมาดดุฮ์รี่ลงไปรวมในเวลาอัศริ (جمع تاخير ) แต่ไม่ต้องย่อ และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยจะเอามัฆริบลงไปรวมในเวลาอีชาอฺ หรือเอาอีชาอฺขึ้นมารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องย่อ (قصر )
ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า อิหม่ามอะฮฺมัดอนุญาตให้ละหมาดรวมได้ เมื่อไม่ว่าง (มีธุระยุ่ง) (ดูฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่ 1/274)
 
 
== อ้างอิง ==
เส้น 53 ⟶ 90:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [ http://www.islaminthailand.org : เพื่อความเข้าใจอิสลาม และมุสลิม]
* [ [http://ar.islamway.net/search?type%5B%5D=&query=%D9%83%D9%8A%D9%81%D9%8A%D8%A9+%D8%B5%D9%84%D8%A7%D8%A9+%D8%A7%D9%84%D8%A5%D8%B3%D9%84%D8%A7%D9%85%D9%8A%D8%A9 http://ar.islamway.net]]
 
[[หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาอิสลาม]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ละหมาด"