ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอแซก นิวตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 10233503 สร้างโดย 2001:44C8:48D3:F0E2:DC2C:D7FF:FE10:C88F (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ิเกดเหเหหเกหด
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 40:
}}
{{ใช้ปีคศ}}
*
 
เซอร์ '''ไอแซก นิวตัน''' ({{lang-en|Isaac Newton}}; 25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ตาม[[ปฏิทินจูเลียน]]){{fn|1}} [[นักฟิสิกส์]] นัก[[คณิตศาสตร์]] นัก[[ดาราศาสตร์]] นักปรัชญาธรรมชาติ นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาว[[อังกฤษ]]
 
ศาสตร์นิพนธ์ของนิวตันในปี ค.ศ. 1687 เรื่อง ''[[Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica|หลักการทางคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ]]'' (Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica) (เรียกกันโดยทั่วไปว่า ''Principia'') ถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานของวิชา[[กลศาสตร์ดั้งเดิม]] ในงานเขียนชิ้นนี้ นิวตันพรรณนาถึง [[กฎแรงโน้มถ่วงสากล]] และ [[กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน]] ซึ่งเป็นกฎทางวิทยาศาสตร์อันเป็นเสาหลักของการศึกษาจักรวาลทางกายภาพตลอดช่วง 3 ศตวรรษถัดมา นิวตันแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ บนโลกและ[[กลศาสตร์ท้องฟ้า|วัตถุท้องฟ้า]]ล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่าง[[กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์|กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์]]กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน ซึ่งช่วยยืนยัน[[แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล]] และช่วยให้[[การปฏิวัติวิทยาศาสตร์]]ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
 
นิวตันสร้าง[[กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง]]ที่สามารถใช้งานจริงได้เป็นเครื่องแรก<ref>{{cite web|url=http://etoile.berkeley.edu/~jrg/TelescopeHistory/Early_Period.html|title=The Early Period (1608–1672)|accessdate=2009-02-03|publisher=James R. Graham's Home Page}}{{ลิงก์เสีย|date=สิงหาคม 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref> และพัฒนาทฤษฎี[[สี]]โดยอ้างอิงจากผลสังเกตการณ์ว่า [[ปริซึม]]สามเหลี่ยมสามารถแยกแสงสีขาวออกมาเป็นหลายๆ สีได้ ซึ่งเป็นที่มาของ[[สเปกตรัมแสงที่มองเห็น]] เขายังคิดค้น[[กฎการเย็นตัวของนิวตัน]] และศึกษา[[ความเร็วของเสียง]]
 
ในทางคณิตศาสตร์ นิวตันกับ[[ก็อตฟรีด ไลบ์นิซ]] ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎี[[แคลคูลัสกณิกนันต์|แคลคูลัสเชิงปริพันธ์และอนุพันธ์]] เขายังสาธิต[[ทฤษฎีบททวินาม]] และพัฒนากระบวนวิธีของนิวตันขึ้นเพื่อการประมาณค่า[[รากที่ n|รากของฟังก์ชัน]] รวมถึงมีส่วนร่วมในการศึกษา[[อนุกรมกำลัง]]
 
นิวตันไม่เชื่อเรื่องศาสนา เขาเป็นคริสเตียนนอกนิกายออร์โธดอกซ์ และยังเขียนงานตีความคัมภีร์ไบเบิลกับงานศึกษาด้านไสยศาสตร์มากกว่างานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เสียอีก เขาต่อต้านแนวคิด[[ตรีเอกภาพ]]อย่างลับๆ และเกรงกลัวในการถูกกล่าวหาเนื่องจากปฏิเสธการถือบวช
 
ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
 
== ประวัติ ==
 
=== วัยเด็ก ===
ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1642 <small>(หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185 ตามปฏิทินจูเลียน)</small>{{fn|1}} ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งใน[[ลินคอล์นเชียร์]] ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับ[[ปฏิทินเกรกอเรียน]] ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 บิดาของนิวตัน ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: "ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ"<ref>Cohen, I.B. (1970). Dictionary of Scientific Biography, Vol. 11, p.43. New York: Charles Scribner's Sons</ref> นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน<ref name="nomarry">{{cite web|url=http://www.newton.ac.uk/newtlife.html|title=Isaac Newton's Life|year=1998|publisher=Isaac Newton Institute for Mathematical Sciences|accessdate=2010-03-28|archive-date=2014-05-28|archive-url=https://web.archive.org/web/20140528154858/http://www.newton.ac.uk/newtlife.html|url-status=dead}}</ref><ref name="bellevue">{{cite web|url=http://scidiv.bellevuecollege.edu/MATH/Newton.html|title=Isaac Newton|publisher=Bellevue College|accessdate=2010-03-28}}</ref><ref name="newtonbook">{{Cite book|last=Newton|first=Isaac|coauthors=Derek Thomas Whiteside|title=The Mathematical Papers of Isaac Newton: 1664-1666 |publisher=Cambridge University Press|location=Cambridge|year=1967|page=8|isbn=9780521058179|url=http://books.google.com/?id=1ZcYsNBptfYC&pg=PA8&lpg=PA8&dq=isaac+newton+miss+storey&q=miss%20storey|accessdate=2010-03-28}}</ref>
 
นับแต่อายุ 12 จนถึง 17 นิวตันเข้าเรียนที่[[คิงส์สกูล แกรนแธม]] ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1659 เขากลับไปบ้านเกิดเมื่อมารดาที่เป็นหม้ายครั้งที่ 2 พยายามบังคับให้เขาเป็นชาวนา แต่เขาเกลียดการทำนา<ref>Westfall 1994, pp 16-19</ref> ครูใหญ่ที่คิงส์สกูล เฮนรี สโตกส์ พยายามโน้มน้าวให้มารดาของเขายอมส่งเขากลับมาเรียนให้จบ จากแรงผลักดันในการแก้แค้นครั้งนี้ นิวตันจึงเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงที่สุด<ref>White 1997, p. 22</ref>
 
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1661 นิวตันได้เข้าเรียนที่[[วิทยาลัยทรินิตี้ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]] ในฐานะซิซาร์ (sizar; คือทุนชนิดหนึ่งซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพื่อแลกกับที่พัก อาหาร และค่าธรรมเนียม)<ref>Michael White, ''Isaac Newton'' (1999) [http://books.google.com/books?id=l2C3NV38tM0C&pg=PA24&dq=storer+intitle:isaac+intitle:newton&lr=&num=30&as_brr=0&as_pt=ALLTYPES#PPA46,M1 page 46] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20160427130013/https://books.google.com/books?id=l2C3NV38tM0C&pg=PA24&dq=storer+intitle:isaac+intitle:newton&lr=&num=30&as_brr=0&as_pt=ALLTYPES#PPA46,M1 |date=2016-04-27 }}</ref> ในยุคนั้นการเรียนการสอนในวิทยาลัยตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดของ[[อริสโตเติล]] แต่นิวตันชอบศึกษาแนวคิดของนักปรัชญายุคใหม่คนอื่นๆ ที่ทันสมัยกว่า เช่น [[เรอเน เดส์การ์ตส์|เดส์การ์ตส์]] และ[[นักดาราศาสตร์]] เช่น [[นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส|โคเปอร์นิคัส]], [[กาลิเลโอ]] และ[[โจฮันเนส เคปเลอร์|เคปเลอร์]] เป็นต้น ปี ค.ศ. 1665 เขาค้นพบ[[ทฤษฎีบททวินาม]]และเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็น [[แคลคูลัสกณิกนันต์]] (infinitesimal calculus) นิวตันได้รับปริญญาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นาน มหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจาก[[โรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน|เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่]] แม้เมื่อศึกษาในเคมบริดจ์เขาจะไม่มีอะไรโดดเด่น<ref>ed. Michael Hoskins (1997). Cambridge Illustrated History of Astronomy, p.&nbsp;159. [[Cambridge University Press]]</ref> แต่การศึกษาด้วยตนเองที่บ้านในวูลส์ธอร์พตลอดช่วง 2 ปีต่อมาได้สร้างพัฒนาการแก่ทฤษฎีเกี่ยวกับแคลคูลัส ธรรมชาติของ[[แสงสว่าง]] และ[[กฎแรงโน้มถ่วง]]ของเขาอย่างมาก นิวตันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแสงอาทิตย์อย่างหลากหลายด้วยแท่งแก้ว[[ปริซึม]]และสรุปว่า[[รังสี]]ต่างๆ ของแสงซึ่งนอกจากจะมีสีแตกต่างกันแล้วยังมีภาวะการหักเหต่างกันด้วย การค้นพบที่เป็นการอธิบายว่าเหตุที่ภาพที่เห็นภายในกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้[[เลนส์]]แก้วไม่ชัดเจน ก็เนื่องมาจากมุมในการหักเหของลำแสงที่ผ่านแก้วเลนส์แตกต่างกัน ทำให้ระยะโฟกัสต่างกันด้วย จึงเป็นไม่ได้ที่จะได้ภาพที่ชัดด้วยเลนส์แก้ว การค้นพบนี้กลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนา[[กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง|กล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงาสะท้อนแสง]]ที่สมบูรณ์โดย[[วิลเลียม เฮอร์เชล]] และ [[เอิร์ลแห่งโรส]] ในเวลาต่อมา ในเวลาเดียวกับการทดลองเรื่องแสงสว่าง นิวตันก็ได้เริ่มงานเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่อง[[การโคจร]]ของ[[ดาวเคราะห์]]
 
ในปี ค.ศ. 1667 เขากลับไปเคมบริดจ์อีกครั้งหนึ่งในฐานะภาคีสมาชิกของทรินิตี้<ref>{{Venn|id=RY644J|name=Newton, Isaac}}</ref> ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่ว่าผู้เป็นภาคีสมาชิกต้องอุทิศตนถือบวช อันเป็นสิ่งที่ นิวตันพยายามหลีกเลี่ยงเนื่องจากมุมมองของเขาที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนา โชคดีที่ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าภาคีสมาชิกต้องบวชเมื่อไร จึงอาจเลื่อนไปตลอดกาลก็ได้ แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อนิวตันได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง[[เมธีลูเคเชียน]]อันทรงเกียรติ ซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงการบวชไปได้อีก ถึงกระนั้นนิวตันก็ยังหาทางหลบหลีกได้โดยอาศัยพระบรมราชานุญาตจาก[[สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2]]
 
=== ชีวิตการงาน ===
[[ไฟล์:Newton-Principia-Mathematica 1-500x700.jpg|thumbnail|145px|left|''Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica'' งานตีพิมพ์สำคัญชิ้นแรกของไอแซก นิวตัน]]
 
การหล่นของ[[แอปเปิล]]ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและ[[โรเบิร์ต ฮุก]] ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการ[[กลศาสตร์]]เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ ในปีเดียวกันนั้น [[เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์]]ได้มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง "หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (''Philosophiae naturalist principia mathematica'' หรือ ''The Mathematical Principles of Natural Philosophy'') ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่อง[[ความโน้มถ่วงสากล]] และเป็นการวางรากฐานของ[[กลศาสตร์ดั้งเดิม]] (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่าน[[กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน|กฎการเคลื่อนที่]] ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ [[กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ]] ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนา[[แคลคูลัส]]เชิง[[อนุพันธ์]]อีกด้วย
 
งานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของ[[เทห์วัตถุ]]ที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของ[[กาลิเลโอ]]เป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา
 
ในขณะเดียวกัน การมีส่วนในการต่อสู้การบุกรุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างผิดกฎหมายจาก[[สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเจมส์ที่ 2]] ทำให้นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2232-33 ต่อมาปี พ.ศ. 2239 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิต[[กษาปณ์|เหรียญกษาปณ์]]เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากขึ้นในขณะนั้นซึ่งต่อมา นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการในปี พ.ศ. 2242 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม และในปี พ.ศ. 2244 นิวตันได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2247 นิวตันได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” หรือ ''Optics'' ฉบับภาษาอังกฤษ (สมัยนั้นตำรามักพิมพ์เป็นภาษาละติน) ซึ่งนิวตันไม่ยอมตีพิมพ์จนกระทั่งฮุก คู่ปรับเก่าถึงแก่กรรมไปแล้ว
 
=== ชีวิตครอบครัว ===
นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าเขาเคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้ใด{{citation needed|date=September 2011}} แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเขาถึงแก่กรรมไปโดยที่ยังบริสุทธิ์ ดังที่บุคคลสำคัญหลายคนกล่าวถึง เช่นนักคณิตศาสตร์ [[ชาลส์ ฮัตตัน]]<ref>{{cite book |title=A Philosophical and Mathematical Dictionary Containing... Memoirs of the Lives and Writings of the Most Eminent Authors, Volume 2 |last=Hutton |first=Charles |authorlink=Charles Hutton |year=1815 |page=100 |url=http://books.google.ca/books?id=_xk2AAAAQAAJ&pg=PA100&lpg=PA100&dq=Charles+Hutton+Isaac+Newton+constitutional+indifference&source=bl&ots=gxI1T-5UzL&sig=NJHnmCqkPwNalnOSrUXZZgkfODs&hl=en#v=onepage&q=Charles%20Hutton%20Isaac%20Newton%20constitutional%20indifference&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref> นักเศรษฐศาสตร์ [[จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์]]<ref>{{cite web |url=http://www-history.mcs.st-and.ac.uk/Extras/Keynes_Newton.html |title=Newton: the Man |author=John Maynard Keynes |publisher=[[University of St Andrews]] School of Mathematics and Statistics |accessdate=September 11, 2012}}</ref> และนักฟิสิกส์ [[คาร์ล เซแกน]]<ref>{{cite book |title=Cosmos |last=Carl |first=Sagan |authorlink=Carl Sagan |year=1980 |publisher=Random House |location=New York |isbn=0394502949 |page= |url=http://books.google.ca/books?id=_-XhL6_xsVkC&pg=PA55&lpg=PA55&dq=Isaac+Newton+virgin&source=bl&ots=pfxDt6lG8I&sig=u4GtOW8G0jCFdrppKL2o0j9ZAKU&hl=en&sa=X&ei=jrJJULeTIYnDigLs14Fo&ved=0CEMQ6AEwAzge#v=onepage&q=Isaac%20Newton%20virgin&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref>
 
[[วอลแตร์]] นักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสซึ่งพำนักในลอนดอนในช่วงเวลาที่ฝังศพของนิวตัน อ้างว่าเขาได้ค้นพบข้อเท็จจริงนี้ เขาเขียนไว้ว่า "ผมได้รับการยืนยันจากหมอและศัลยแพทย์ที่อยู่กับเขาตอนที่เขาตาย"<ref>''Letters on England'', 14, pp. 68-70, as referenced in the footnote for the quote in p. 6 of James Gleick's biography, ''Isaac Newton''</ref> (เรื่องที่อ้างกล่าวว่า ขณะที่เขานอนบนเตียงและกำลังจะตาย ก็สารภาพออกมาว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่<ref>{{cite book |title=Isaac Newton |last=Stokes |first=Mitch |year=2010 |publisher=Thomas Nelson |isbn=1595553037 |page=154 |url=http://books.google.ca/books?id=zpsoSXCeg5gC&pg=PA154&lpg=PA154&dq=Isaac+Newton+virgin+confess&source=bl&ots=jL4JIVcIJe&sig=JYyHgrFXKVc_fQrc_Xr3FXjJYkw&hl=en#v=onepage&q=Isaac%20Newton%20virgin%20confess&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref><ref>{{cite journal |last=Foster |first=Jacob |year=2005 |title=Everybody Loves Einstein |journal=[[The Oxonian Review]] |volume=5 |issue=1 |url=http://www.oxonianreview.org/issues/5-1/5-1foster.html |doi= |access-date=2012-09-17 |archive-date=2012-05-15 |archive-url=https://web.archive.org/web/20120515221800/http://www.oxonianreview.org/issues/5-1/5-1foster.html |url-status=dead }}</ref>) ในปี 1733 วอลแตร์ระบุโดยเปิดเผยว่านิวตัน "ไม่มีทั้งความหลงใหลหรือความอ่อนแอ เขาไม่เคยเข้าใกล้หญิงใดเลย"<ref>{{cite book |title=The Newton Handbook |last=Gjertsen |first=Derek |year=1986 |publisher=Taylor & Francis |isbn=0710202792 |page=105 |url=http://books.google.ca/books?id=cqIOAAAAQAAJ&pg=PA105&lpg=PA105&dq=Isaac+Newton+virgin&source=bl&ots=Sf2QL1yV2J&sig=0m7VW3Ca0_jKFl-k-P8FNAATuaY&hl=en#v=onepage&q=Isaac%20Newton%20virgin&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref><ref>{{cite book |title=Newton: The Making of Genius |last=Fara |first=Patricia |authorlink=Patricia Fara |year=2011 |publisher=Pan Macmillan |isbn=1447204530 |page= |url= |accessdate=September 11, 2012}}</ref>
 
นิวตันมีมิตรภาพอันสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส [[Nicolas Fatio de Duillier]] ซึ่งเขาพบในลอนดอนราวปี 1690<ref>{{cite web |url=http://web.clas.ufl.edu/users/ufhatch/pages/13-NDFE/newton/05-newton-timeline-m.htm |title=Newton Timeline |author=Professor Robert A. Hatch, University of Florida |accessdate=August 13}}</ref> แต่มิตรภาพนี้กลับสิ้นสุดลงเสียเฉยๆ ในปี 1693 จดหมายติดต่อระหว่างคนทั้งคู่บางส่วนยังคงเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน
 
[[ไฟล์:Sir Isaac Newton by Sir Godfrey Kneller, Bt.jpg|thumb|upright|ภาพวาดนิวตันในปี [[ค.ศ. 1702]] โดย [[Godfrey Kneller|ก็อดฟรีย์ เนลเลอร์]]]]
 
=== บั้นปลายของชีวิต ===
ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก, [[กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ|ไลบ์นิซ]] และ[[จอห์น เฟลมสตีด|เฟลมสตีด]] ซึ่งนิวตันแก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจินตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายก[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]ที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”
 
เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดอย่างยิ่งใหญ่เทียบเท่า[[กษัตริย์อังกฤษ|กษัตริย์]] ศพของเขาฝังอยู่ที่[[แอบบีเวสต์มินสเตอร์|มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์]] เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ
 
'''เซอร์ไอแซก นิวตัน'''มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของ[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] และ[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]] หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]
 
== ผลงาน ==
{{โครงส่วน}}
=== ด้านคณิตศาสตร์ ===
กล่าวกันว่า ผลงานของนิวตันเป็น "ความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในทุกสาขาของคณิตศาสตร์ในยุคนั้น<ref>{{cite book|author=W W Rouse Ball|title=A short account of the history of mathematics|year=1908|page=319}}</ref> ผลงานที่เขาเรียกว่า Fluxion หรือแคลคูลัส ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียนชุดหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1666 ในปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์อยู่รวมกับงานด้านคณิตศาสตร์อื่นๆ ของนิวตัน<ref>D T Whiteside (ed.), ''The Mathematical Papers of Isaac Newton'' (Volume 1), (Cambridge University Press, 1967), part 7 "The October 1666 Tract on Fluxions", [http://books.google.com/books?id=1ZcYsNBptfYC&pg=PA400 at page 400, in 2008 reprint].</ref> ในจดหมายที่[[ไอแซก แบร์โรว์]] ส่งไปให้[[จอห์น คอลลินส์]]เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1669 กล่าวถึงผู้เขียนต้นฉบับ ''[[De analysi per aequationes numero terminorum infinitas]]'' ที่เขาส่งไปให้คอลลินส์เมื่อเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนั้นว่า<ref>D Gjertsen (1986), "The Newton handbook", (London (Routledge & Kegan Paul) 1986), at page 149.</ref>
 
{{quote|Mr Newton, a fellow of our College, and very young&nbsp;... but of an extraordinary genius and proficiency in these things. }}
 
ต่อมานิวตันมีข้อขัดแย้งกับ[[ไลบ์นิซ]]ในเรื่องที่ว่า ใครเป็นผู้คิดพัฒนา[[แคลคูลัส]]ก่อนกัน นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เชื่อว่าทั้งนิวตันและไลบ์นิซต่างคนต่างก็พัฒนา[[แคลคูลัสกณิกนันต์]]กันโดยอิสระ แม้ว่าจะมีบันทึกที่แตกต่างกันมากมาย ดูเหมือนว่า นิวตันจะไม่เคยตีพิมพ์อะไรเกี่ยวกับแคลคูลัสเลยก่อนปี พ.ศ. 2236 และไม่ได้เขียนบทความฉบับสมบูรณ์ในเรื่องนี้ตราบจนปี พ.ศ. 2247 ขณะที่ไลบ์นิซเริ่มตีพิมพ์บทความฉบับเต็มเกี่ยวกับกระบวนวิธีคิดของเขาในปี พ.ศ. 2227 (บันทึกของไลบ์นิซและ "กระบวนวิธีดิฟเฟอเรนเชียล" เป็นที่ยอมรับนำไปใช้โดยนักคณิตศาสตร์ในภาคพื้นยุโรป และต่อมานักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษจึงค่อยรับไปใช้ในปี พ.ศ. 2363) แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดนี้ไม่ได้ให้ข้อสังเกตในเนื้อหาของแคลคูลัส ซึ่งนักวิจารณ์ทั้งในยุคของนิวตันและยุคสมัยใหม่ต่างระบุว่า มีอยู่ในเล่มที่ 1 ของหนังสือชุด ''Principia'' ของนิวตัน (ตีพิมพ์ปี 2230) และในต้นฉบับลายมือเขียนที่มีมาก่อนหน้านี้ เช่น ''De motu corporum in gyrum'' ("การเคลื่อนที่ของวัตถุในวงโคจร") เมื่อปี 1684 ''Principia'' ไม่ได้เขียนในภาษาแคลคูลัสแบบที่เรารู้จัก แต่มีการใช้แคลคูลัสกณิกนันต์ในรูปแบบเรขาคณิต ว่าด้วยจำนวนที่ถูกจำกัดด้วยสัดส่วนของจำนวนที่เล็กลงไปเรื่อยๆ นิวตันสาธิตวิธีการนี้เอาไว้ใน ''Principia'' โดยเรียกชื่อมันว่า กระบวนวิธีสัดส่วนแรกและสัดส่วนสุดท้าย (method of first and last ratios)<ref>Newton, 'Principia', 1729 English translation, [http://books.google.com/books?id=Tm0FAAAAQAAJ&pg=PA41 at page 41].</ref> และอธิบายไว้ว่าเหตุใดเขาจึงแสดงความหมายของมันในรูปแบบเช่นนี้<ref>Newton, 'Principia', 1729 English translation, [http://books.google.com/books?id=Tm0FAAAAQAAJ&pg=PA54 at page 54].</ref> โดยกล่าวด้วยว่า "นี้คือการแสดงวิธีแบบเดียวกันกับกระบวนการของการแบ่งแยกไม่ได้อีกต่อไป"
 
ด้วยเหตุนี้ในยุคปัจจุบัน ''Principia'' จึงถูกเรียกว่าเป็น "หนังสือที่อัดแน่นด้วยทฤษฏีและการประยุกต์ใช้แคลคูลัสกณิกนันต์"<ref>Clifford Truesdell, ''Essays in the History of Mechanics'' (Berlin, 1968), at p.99.</ref> และ "lequel est presque tout de ce calcul" ("แทบทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับแคลคูลัส") ในยุคของนิวตัน<ref>อยู่ในบทนำของหนังสือของ Marquis de L'Hospital's ''Analyse des Infiniment Petits'' (Paris, 1696).</ref> การใช้กระบวนวิธีเช่นนี้ของเขาที่เกี่ยวข้องกับ "จำนวนกณิกนันต์หนึ่งอันดับหรือมากกว่านั้น" ได้แสดงไว้ในงานเขียน ''De motu corporum in gyrum'' ของเขาเมื่อปี 1684<ref>เริ่มต้นด้วย [[De motu corporum in gyrum#Contents|De motu corporum in gyrum]], ดูเพิ่มที่ [http://books.google.com/books?id=uvMGAAAAcAAJ&pg=RA1-PA2 (Latin) Theorem 1].</ref> และในงานเขียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ที่เขียนขึ้น "ระหว่าง 2 ทศวรรษก่อนปี 1684"<ref>D T Whiteside (1970), "The Mathematical principles underlying Newton's Principia Mathematica" in ''Journal for the History of Astronomy'', vol.1, pages 116–138, especially at pages 119–120.</ref>
 
นิวตันลังเลในการเผยแพร่แคลคูลัสของเขาก็เพราะเขากลัวข้อโต้แย้งและคำวิพากษ์วิจารณ์<ref>Stewart 2009, p.107</ref> เขาเคยสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส [[Nicolas Fatio de Duillier]] ครั้นปี 2234 ดุยลิเยร์เริ่มต้นเขียน ''Principia'' ของนิวตันขึ้นในรูปแบบใหม่ และติดต่อกับไลบ์นิซ<ref>Westfall 1980, pp 538–539</ref> มิตรภาพระหว่างดุยลิเยร์กับนิวตันเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่ปี 2236 และหนังสือนั้นก็เลยเขียนไม่เสร็จ
 
สมาชิก[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]หลายคน (สมาคมซึ่งนิวตันเป็นสมาชิกอยู่ด้วย) เริ่มกล่าวหาไลบ์นิซว่า[[โจรกรรมทางวรรณกรรม|ลอกเลียนผลงาน]]ของนิวตันในปี พ.ศ. 2242 ข้อโต้แย้งรุนแรงขึ้นถึงขั้นแตกหักในปี 2254 เมื่อทางราชสมาคมฯ ประกาศในงานศึกษาชิ้นหนึ่งว่า นิวตันคือผู้ค้นพบแคลคูลัสที่แท้จริง และตราหน้าไลบ์นิซว่าเป็นจอมหลอกลวง งานศึกษาชิ้นนั้นกลายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยเมื่อพบในภายหลังว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็นคนเขียนบทสรุปของงานโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไลบ์นิซ ข้อขัดแย้งในเรื่องนี้กลายเป็นรอยด่างพร้อยในชีวิตของทั้งนิวตันและไลบ์นิซตราบจนกระทั่งไลบ์นิซเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2259<ref>Ball 1908, p. 356ff</ref>
 
นิวตันได้รับยกย่องโดยทั่วไปเนื่องจาก[[ทฤษฎีบททวินาม]]ที่ใช้ได้สำหรับเลขยกกำลังใดๆ เขาเป็นผู้ค้นพบ [[Newton's identities]], [[Newton's method]], [[เส้นโค้งกำลังสามบนระนาบ]] ([[พหุนาม]]กำลังสามในตัวแปรสองตัว) เขามีส่วนอย่างสำคัญต่อทฤษฎี [[finite differences]], และเป็นคนแรกที่ใช้เลขชี้กำลังที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม และนำ[[เรขาคณิต]]เชิงพิกัดมาใช้หาคำตอบจาก[[สมการไดโอแฟนทีน]] เขาหาค่าผลบวกย่อยโดยประมาณของ[[อนุกรมฮาร์โมนิก]]ได้โดยใช้[[ลอการิทึม]] (ก่อนจะมีสมการผลรวมของออยเลอร์) และเป็นคนแรกที่ใช้[[อนุกรมกำลัง]]และพิจารณาอนุกรมแปลงกลับของอนุกรมกำลัง (reverse power series) งานของนิวตันเกี่ยวกับอนุกรมอนันต์ได้รับแรงบันดาลใจจากเลขทศนิยมของไซมอน สเตวิน (Simon Stevin)<ref>{{citation
| last1 = Błaszczyk | first1 = Piotr
| author1-link =
| last2 = Katz | first2 = Mikhail
| author2-link = Mikhail Katz
| last3 = Sherry | first3 = David
| author3-link =
| arxiv = 1202.4153
| doi = 10.1007/s10699-012-9285-8
| issue =
|journal = [[Foundations of Science]]
| pages =
| title = Ten misconceptions from the history of analysis and their debunking
| volume =
| year = 2012}}</ref>
 
นิวตันได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ลูเคเชียนด้านคณิตศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2212 โดยการเสนอชื่อของแบร์โรว์ ซึ่งในวันรับตำแหน่งนั้น ผู้รับตำแหน่งที่เป็นภาคีสมาชิกของเคมบริดจ์หรือออกซฟอร์ดจะต้องบวชเข้าเป็นพระในนิกายแองกลิกัน อย่างไรก็ดี ตำแหน่งศาสตราจารย์ลูเคเชียนนี้ไม่ได้บังคับว่าผู้รับตำแหน่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (คาดว่าคงเพราะต้องการให้มีเวลาเพื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า) นิวตันจึงยกเป็นข้ออ้างว่าตนไม่จำเป็นต้องบวช และได้รับพระราชานุญาตจาก[[พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ]][[ไฟล์:NewtonsTelescopeReplica.jpg|thumb|แบบจำลองจาก[[กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง]]ตัวที่สองของนิวตัน ซึ่งเขานำเสนอต่อ[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]ในปี 1672<ref>{{cite book|url=http://books.google.com/?id=KAWwzHlDVksC&dq=history+of+the+telescope&printsec=frontcover |title='&#39;The History of the Telescope'&#39; By Henry C. King, Page 74 |publisher=Google Books |accessdate=16 January 2010|isbn=978-0-486-43265-6|author1=King, Henry C|year=2003}}</ref>]]
 
ช่วงปี 2213-2215 นิวตันสอนวิชาทัศนศาสตร์<ref>{{cite web|last=Newton|first=Isaac|title=Hydrostatics, Optics, Sound and Heat|url=http://cudl.lib.cam.ac.uk/view/MS-ADD-03970/|publisher=Cambridge University Digital Library|accessdate=10 January 2012}}</ref> ในระหว่างช่วงเวลานี้ เขาศึกษาเรื่อง[[การหักเห]]ของแสง โดยแสดงให้เห็นว่า [[ปริซึม]]สามารถแตกแสงขาวให้กลายเป็นสเปกตรัมของแสงได้ และถ้ามี[[เลนส์]]กับปริซึมอีกแท่งหนึ่งจะสามารถรวมแสงสเปกตรัมหลายสีกลับมาเป็นแสงขาวได้<ref>Ball 1908, p. 324</ref> นักวิชาการยุคใหม่เปิดเผยว่างานวิเคราะห์แสงขาวของนิวตันนี้เป็นผลมาจากวิชาเล่นแร่แปรธาตุเชิง[[ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์|คอร์พัสคิวลาร์]]<ref>[[William R. Newman]], "Newton's Early Optical Theory and its Debt to Chymistry," in Danielle Jacquart and Michel Hochmann, eds., ''Lumière et vision dans les sciences et dans les arts'' (Geneva: Droz, 2010), pp. 283-307. A free access online version of this article can be found at [http://webapp1.dlib.indiana.edu/newton/html/Newton_optics-alchemy_Jacquart_paper.pdf the ''Chymistry of Isaac Newton'' project]</ref>
 
เขายังแสดงให้เห็นว่า แสงที่มีสีจะไม่เปลี่ยนคุณสมบัติไปไม่ว่าจะถูกกระจายลำแสงออกส่องไปยังพื้นผิววัตถุใดๆ ก็ตาม นิวตันให้ข้อสังเกตว่า ไม่ว่าแสงนั้นจะสะท้อน กระจาย หรือเคลื่อนผ่านอะไร มันก็ยังคงเป็นสีเดิมอยู่นั่นเอง นอกจากนี้เขาสังเกตว่า สีนั้นคือผลลัพธ์จากการที่วัตถุมีปฏิกิริยากับแสงที่มีสีอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าวัตถุนั้นสร้างสีของมันออกมาเอง แนวคิดนี้รู้จักในชื่อ ทฤษฎีสีของนิวตัน (Newton's theory of colour)<ref>Ball 1908, p. 325</ref>
 
== เกียรติคุณและอนุสรณ์ ==
[[ไฟล์:Isaac Newton grave in Westminster Abbey.jpg|thumb|200px|ที่ฝังศพนิวตันในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์]]
[[ไฟล์:Isaac Newton statue.jpg|thumb|200px|อนุสาวรีย์นิวตันที่ [[พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด]]]]
 
นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส [[โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์]] มักพูดบ่อยๆ ว่านิวตันเป็นอัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา มีอยู่ครั้งหนึ่งเขากล่าวว่า นิวตันนั้น "โชคดีที่สุด เพราะเราไม่อาจค้นพบระบบของโลกได้มากกว่า 1 ครั้ง"<ref>Fred L. Wilson, ''History of Science: Newton'' citing: Delambre, M. "Notice sur la vie et les ouvrages de M. le comte J. L. Lagrange," ''Oeuvres de Lagrange'' I. Paris, 1867, p. xx.</ref> กวีชาวอังกฤษ [[อเล็กซานเดอร์ โพพ]] ได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของนิวตัน และเขียนบทกวีที่โด่งดังมาก ดังนี้:
 
{{คำพูด|
ธรรมชาติและกฎแห่งธรรมชาติซ่อนตัวอยู่ในรัตติกาล<br />
พระเจ้าตรัสว่า "ให้นิวตันกำเนิด" แสงสว่างจึงได้มีขึ้น<br />
Nature and nature's laws lay hid in night;<br />
God said "Let Newton be" and there was light.}}
 
แม้โดยทางบุคลิกภาพแล้ว นิวตันจะไม่ใช่คนถ่อมตัวนัก แต่นิวตันก็มีมารยาทพอที่จะถ่อมตัวกับความสำเร็จของตัวเอง ครั้งหนึ่งเขาเขียนจดหมายถึง[[โรเบิร์ต ฮุก]] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2219 ว่า:
 
{{คำพูด
|ถ้าฉันสามารถมองได้ไกลกว่าผู้อื่น นั่นก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์</br>If I have seen further it is by standing on the shoulders of giants.<ref>จดหมายจากไอแซก นิวตัน ถึงโรเบิร์ต ฮุก, 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1676, บันทึกไว้ในผลงานของ ชอง-ปีแยร์ เมอรี (1992) ''Newton: Understanding the Cosmos'', New Horizons</ref><ref>Wikipedia ''[[Standing on the shoulders of giants]]'',</ref>}}
 
อย่างไรก็ดี นักเขียนบางคนเชื่อว่า ถ้อยคำข้างต้นซึ่งเขียนขึ้นในช่วงเวลาที่นิวตันกับฮุกกำลังมีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับการค้นพบเรื่องแสง น่าจะเป็นการตอบโต้ฮุก (โดยว่าเป็นถ้อยคำที่ทั้งสั้นและห้วน) มากกว่าจะเป็นการถ่อมตน<ref>John Gribbin (2002) ''Science: A History 1543-2001'', p 164.</ref><ref>White 1997, p187.</ref> วลี "ยืนบนบ่าของยักษ์" อันโด่งดังตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยกวีชื่อ [[จอร์จ เฮอร์เบิร์ต]] (อดีตโฆษกมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และภาคีสมาชิกของวิทยาลัยทรินิตี้) ในงานเขียนเรื่อง ''Jacula Prudentum'' (1651) มีความหมายหลักคือ "คนแคระที่ยืนบนบ่าของยักษ์ จะมองเห็นได้ไกลกว่าที่แต่ละคนมอง" ผลกระทบในที่นี้จึงน่าจะเป็นการเปรียบเปรยว่าตัวนิวตันนั่นเองที่เป็น "คนแคระ" ไม่ใช่ฮุก
 
มีบันทึกในช่วงหลัง นิวตันเขียนว่า:
 
{{คำพูด
|ฉันไม่รู้หรอกว่าโลกเห็นฉันเป็นอย่างไร แต่กับตัวเองแล้ว ฉันเหมือนจะเป็นเด็กที่เล่นอยู่ริมชายฝั่ง เพลิดเพลินกับการเสาะหาก้อนกรวดเรียบๆ หรือเปลือกหอยที่สวยเป็นพิเศษ ขณะที่มหาสมุทรแห่งความจริงอันยิ่งใหญ่ทอดตัวอยู่เบื้องหน้าโดยยังไม่ถูกค้นพบ<ref>Memoirs of the Life, Writings, and Discoveries of Sir Isaac Newton (1855) โดย เซอร์เดวิด บรูสเตอร์ (Volume II. Ch. 27)</ref>}}
 
นิวตันยังคงมีอิทธิพลต่อนักวิทยาศาสตร์มาตลอด เห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็นสมาชิก[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]] (ซึ่งนิวตันเคยเป็นประธาน) เมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยถามว่า ใครเป็นผู้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ต่อประวัติศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์มากกว่ากันระหว่างนิวตันกับ[[ไอน์สไตน์]] นักวิทยาศาสตร์แห่งราชสมาคมฯ ให้ความเห็นโดยส่วนใหญ่แก่นิวตันมากกว่า<ref name="royalsoc.ac.uk">{{cite web|title=Newton beats Einstein in polls of Royal Society scientists and the public |work=The Royal Society |url=http://royalsociety.org/News.aspx?id=1324&terms=Newton+beats+Einstein+in+polls+of+scientists+and+the+public}}</ref> ปี พ.ศ. 2542 มีการสำรวจความคิดเห็นจากนักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกปัจจุบัน 100 คน ลงคะแนนให้ไอน์สไตน์เป็น "นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล" โดยมีนิวตันตามมาเป็นอันดับสอง ในเวลาใกล้เคียงกันมีการสำรวจโดยเว็บไซต์ PhysicsWeb ให้คะแนนนิวตันมาเป็นอันดับหนึ่ง<ref>Opinion poll. Einstein voted "greatest physicist ever" by leading physicists; Newton runner-up: BBC news, Monday, 29 November 1999, [http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/541840.stm News.bbc.co.uk]</ref>
 
=== อนุสรณ์ ===
อนุสาวรีย์นิวตัน (2274) ตั้งอยู่ใน[[มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์]] ด้านทิศเหนือของทางเดินสู่เวทีนักร้องของโบสถ์ ใกล้กับที่ฝังศพของเขา ศิลปินผู้แกะสลักคือ ไมเคิล ไรส์แบร็ค (2237-2313) ทำด้วยหินอ่อนสีขาวและเทา ออกแบบโดยสถาปนิก วิลเลียม เคนท์ เป็นรูปปั้นนิวตันกำลังนอนเอนอยู่เหนือหีบศพ ศอกขวาตั้งอยู่บนหนังสือสำคัญหลายเล่มของเขา มือซ้ายชี้ไปยังม้วนหนังสือที่ออกแบบในเชิงคณิตศาสตร์ เหนือร่างเขาเป็นพีระมิดกับโดมท้องฟ้า แสดงสัญลักษณ์จักรราศีและเส้นทางเดินของดาวหางใหญ่แห่งปี 2223 ด้านข้างมี[[ยุวเทพ]]กำลังใช้เครื่องมือหลายอย่างเช่นกล้องโทรทรรศน์และปริซึม<ref name="wmabbey">{{cite web|url=http://www.westminster-abbey.org/our-history/people/sir-isaac-newton|title=Famous People & the Abbey: Sir Isaac Newton|publisher=Westminster Abbey|accessdate=2009-11-13}}</ref>
 
== เชิงอรรถ ==
{{fnb|1}}ในช่วงชีวิตของนิวตัน มีการใช้งานปฏิทินอยู่ 2 ชนิดในยุโรป คือ [[ปฏิทินจูเลียน]] หรือ'ปฏิทินแบบเก่า' กับ [[ปฏิทินเกรกอเรียน]] หรือ 'ปฏิทินแบบใหม่' ซึ่งใช้กันในประเทศยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิก และที่อื่นๆ ตอนที่นิวตันเกิด วันที่ในปฏิทินเกรกอเรียนจะนำหน้าปฏิทินจูเลียนอยู่ 10 วัน ดังนั้น นิวตันจึงเกิดในวันคริสต์มาส หรือ 25 ธันวาคม 2185 ตามปฏิทินจูเลียน แต่เกิดวันที่ 4 มกราคม 2186 ตามปฏิทินเกรกอเรียน เมื่อถึงวันที่เสียชีวิต ปฏิทินทั้งสองมีความแตกต่างกันเพิ่มเป็น 11 วัน นอกจากนี้ ก่อนที่อังกฤษจะรับเอาปฏิทินเกรกอเรียนเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2295 วันขึ้นปีใหม่ของอังกฤษเริ่มในวันที่ 25 มีนาคม (หรือ 'วันสุภาพสตรี' (Lady Day) ทั้งตามกฎหมายและตามประเพณีท้องถิ่น) มิใช่วันที่ 1 มกราคม หากมิได้มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น วันที่ทั้งหลายที่ปรากฏในบทความนี้จะเป็นวันที่ตามปฏิทินจูเลียน
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== บรรณานุกรม ==
{{refbegin|30em}}
* {{cite book|last=Ball|first=W.W. Rouse|title=A Short Account of the History of Mathematics|location=New York|publisher=Dover|year=1908|isbn=0-486-20630-0}}
* {{cite book|last=Christianson|first=Gale|title=In the Presence of the Creator: Isaac Newton & His Times|location=New York|publisher=Free Press|year=1984|isbn=0-02-905190-8}} This well documented work provides, in particular, valuable information regarding Newton's knowledge of [[Patristics]]
* {{cite journal|last=Craig |first=John |title=Isaac Newton&nbsp;– Crime Investigator |journal=Nature |year=1958 |volume=182|issue=4629 |pages=149–152 |doi=10.1038/182149a0 |bibcode = 1958Natur.182..149C }}
* {{cite journal|last=Craig |first=John |title=Isaac Newton and the Counterfeiters |journal=Notes and Records of the Royal Society of London |volume=18|issue=2 |year=1963 |pages=136–145 |doi=10.1098/rsnr.1963.0017 }}
* {{cite book|last=Levenson|first=Thomas|title= Newton and the Counterfeiter: The Unknown Detective Career of the World's Greatest Scientist|publisher=Mariner Books|year=2010|isbn=978-0-547-33604-6 }}
* {{cite book|last=Stewart|first=James|title= Calculus: Concepts and Contexts|publisher=Cengage Learning|year=2009|isbn=978-0-495-55742-5}}
* {{cite book|authorlink=Richard S. Westfall |last=Westfall |first=Richard S. |title=Never at Rest |publisher=Cambridge University Press |year=1980, 1998 |isbn=0-521-27435-4 }}
*{{cite book|last=Westfall|first=Richard S.|title=Isaac Newton|publisher=Cambridge University Press|year=2007|isbn=978-0-19-921355-9}}
*{{cite book|last=Westfall|first=Richard S.|title=The Life of Isaac Newton|publisher=Cambridge University Press|year=1994|isbn=0-521-47737-9}}
*{{cite book|authorlink=Michael White (author) |title=Isaac Newton: The Last Sorcerer |first=Michael |last=White |publisher=Fourth Estate Limited |year=1997 |isbn=1-85702-416-8}}
{{refend}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{วิกิคำคม}}
{{คอมมอนส์|Isaac Newton}}
* [http://www.newtonproject.ic.ac.uk/ The Newton Project] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20040604020936/http://www.newtonproject.ic.ac.uk/ |date=2004-06-04 }} - รวบรวมประวัติและผลงานของนิวตันในทุกสาขา
* [http://scienceworld.wolfram.com/biography/Newton.html ScienceWorld biography] โดย Eric Weisstein
* [http://www.chlt.org/sandbox/lhl/dsb/page.50.a.php Dictionary of Scientific Biography]
* [http://www.newtonproject.sussex.ac.uk/prism.php?id=1 The Newton Project]
* [http://www.isaacnewton.ca/ The Newton Project - Canada]
* [https://web.archive.org/web/20080629021908/http://www.skepticreport.com/predictions/newton.htm Rebuttal of Newton's astrology] (via [[archive.org]])
* [http://www.galilean-library.org/snobelen.html Newton's Religious Views Reconsidered] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070927014559/http://www.galilean-library.org/snobelen.html |date=2007-09-27 }}
* [http://www.pierre-marteau.com/editions/1701-25-mint-reports.html Newton's Royal Mint Reports]
* [http://www.pbs.org/wgbh/nova/newton/ Newton's Dark Secrets] [[Nova (TV series)|NOVA]] TV programme
* จากสารานุกรมปรัชญาของสแตนฟอร์ด:
** [http://plato.stanford.edu/entries/newton/ Isaac Newton], โดย จอร์จ สมิธ
** [http://plato.stanford.edu/entries/newton-principia/ Newton's Philosophiae Naturalis Principia Mathematica], โดย จอร์จ สมิธ
** [http://plato.stanford.edu/entries/newton-philosophy/ Newton's Philosophy], โดย แอนดรูว์ จาเนียค
** [http://plato.stanford.edu/entries/newton-stm/ Newton's views on space, time, and motion], โดย Robert Rynasiewicz
* [http://www.tqnyc.org/NYC051308/index.htm Newton's Castle] Educational material
* [http://www.dlib.indiana.edu/collections/newton The Chymistry of Isaac Newton] งานวิจัยเกี่ยวกับงานเขียนของนิวตันเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุ
* [http://www.fmalive.com/ FMA Live! Program for teaching Newton's laws to kids] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20160402142826/http://www.fmalive.com/ |date=2016-04-02 }}
* [http://www.adherents.com/people/pn/Isaac_Newton.html Newton's religious position] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20090822033018/http://www.adherents.com/people/pn/Isaac_Newton.html |date=2009-08-22 }}
* [http://hss.fullerton.edu/philosophy/GeneralScholium.htm The "General Scholium" to Newton's Principia] {{Webarchive|url=https://archive.is/20030513080422/http://hss.fullerton.edu/philosophy/GeneralScholium.htm |date=2003-05-13 }}
* Kandaswamy, Anand M. [http://www.math.rutgers.edu/courses/436/Honors02/newton.html ''The Newton/Leibniz Conflict in Context'']
* [http://www.phaser.com/modules/historic/newton/index.html Newton's First ODE] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20070705191603/http://www.phaser.com/modules/historic/newton/index.html |date=2007-07-05 }}&nbsp;– การศึกษาว่าด้วยวิธีที่นิวตันประมาณการผลลัพธ์ของการแก้สมการอันดับที่หนึ่งโดยใช้อนุกรมอนันต์
* [http://www.ltrc.mcmaster.ca/newton/ The Mind of Isaac Newton] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20061213222519/http://www.ltrc.mcmaster.ca/newton/ |date=2006-12-13 }} สื่อภาพ เสียง แอนิเมชั่น และสื่ออินเตอร์แอคทีฟอื่นๆ
* [http://www.enlighteningscience.sussex.ac.uk/home Enlightening Science] วิดีโอเกี่ยวกับชีวประวัติของนิวตัน ทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ และมุมมองของเขาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และศาสนา
* [http://www-history.mcs.st-andrews.ac.uk/Mathematicians/Newton.html ชีวประวัติของนิวตัน (มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ส)]
 
{{lifetime|1642|1727}}
[[หมวดหมู่:ไอแซก นิวตัน| ]]
[[หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ]]