พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน

พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน (อังกฤษ: Polytetrafluoroethylene; PTFE) หรือ เทฟลอน (Teflon; ชื่อทางการค้าของดูปองท์) เป็นฟลูออโรพอลิเมอร์สังเคราะห์ ซึ่งเป็นสารประกอบคาร์บอนและฟลูออรีนที่มีมวลโมเลกุลสูง มีคุณสมบัติเป็นของแข็งชนิดไฮโดรโฟบิก ทนอุณหภูมิที่สูงและต่ำได้ดี และเป็นหนึ่งในสารที่มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานน้อยที่สุด[2]

พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน
Polytetrafluoroethylene.svg
Perfluorodecyl-chain-from-xtal-Mercury-3D-balls.png
ชื่อตาม IUPAC Poly(1,1,2,2-tetrafluoroethylene)[1]
ชื่ออื่น Fluon, Poly(tetrafluoroethene), Poly(difluoromethylene), Poly(tetrafluoroethylene), teflon
เลขทะเบียน
ตัวย่อ PTFE
เลขทะเบียน CAS [9002-84-0][CAS]
KEGG D08974
ChEBI 53251
ChemSpider ID None
คุณสมบัติ
สูตรเคมี (C2F4)n
ความหนาแน่น 2200 kg/m3
จุดหลอมเหลว

327 °C

การนำความร้อน 0.25 W/(m·K)
ความอันตราย
NFPA 704
NFPA 704.svg
0
1
0
 
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

ในปี ค.ศ. 1938 PTFE ถูกค้นพบโดยบังเอิญ ขณะที่รอย พลันเกต (Roy Plunkett) นักเคมีของบริษัทดูปองท์กำลังทำการทดลองกับสารที่ใช้กับตู้เย็น[3] ในปี ค.ศ. 1945 ดูปองท์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสารนี้ในชื่อ เทฟลอน[4] ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 วิศวกรชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งได้คิดค้นกระทะที่เคลือบด้วยเทฟลอนขึ้น และตั้งกิจการในชื่อ Tefal[5]

นอกจากกระทะและอุปกรณ์ทำครัวแล้ว PTFE ยังใช้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นสารหล่อลื่น ใช้เป็นสีทาผนัง ไปจนถึงใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และการบิน[6]

กระบวนการผลิตแก้ไข

การผลิต PTFE อาจเป็นเรื่องยากและมีราคาแพง เนื่องจากมีอุณหภูมิหลอมเหลวสูง 327 °C (621 °F) ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิการสลายตัวเริ่มต้น 200 °C (392 °F)[7] แม้เมื่อหลอมเหลว PTFE ก็ไม่ไหลเนื่องจากมีค่าความหนืดสูงมาก[8][9] ความหนืดและจุดหลอมเหลวสามารถลดลงได้โดยการเพิ่มโคมอนอเมอร์จำนวนเล็กน้อย เช่น เพอร์ฟลูออโร (โพรพิลไวนิลอีเทอร์) และเฮกซะฟลูออโรโพรพิลีน (HFP) สารเหล่านี้ทำให้สายโซ่โมเลกุลของ PTFE ที่เป็นเส้นตรงสมบูรณ์กลายเป็นแบบมีกิ่งก้าน ซึ่งทำให้ความเป็นผลึกลดลง[10]

PTFE บางส่วนผลิตขึ้นโดยการขึ้นรูปแบบเย็น ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการขึ้นรูปแบบกดอัด[11] โดย PTFE แบบผงละเอียดจะถูกอัดในแม่พิมพ์ภายใต้แรงดันสูง (10–100 MPa)[11] หลังจากระยะเวลาการจมตัวลง ซึ่งกินเวลาตั้งแต่นาทีจนถึงวัน แม่พิมพ์จะถูกให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 360 ถึง 380 °C (680 ถึง 716 °F)[11] เพื่อให้อนุภาคละเอียดสามารถหลอมรวม (ซินเตอร์) เป็นมวลเดียวได้[12]

อ้างอิงแก้ไข

  1. "CHEBI:53251 - poly(tetrafluoroethylene)". Chemical Entities of Biological Interest (ChEBI). Cambridgeshire, UK. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012.
  2. "TEFLON TYPICAL PROPERTIES of PTFE" (PDF). WS Hampshire.
  3. "Polytetrafluoroethylene". Encyclopaedia Britannica.
  4. Mary Bellis. "Teflon ® - Roy Plunkett". Inventors. About.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2015.
  5. Steve Silverman. "Teflon". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2008. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2008.
  6. ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา, ผศ.; และคณะ (2011). "polytetrafluoroethylene (PTFE), teflon พอลิเททระฟลูออโรเอทิลีน (พีทีเอฟอี), เทฟลอน" (PDF). สารานุกรมเปิดโลกปิโตรเคมี Petrochemical Encyclopedia. ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี กระบวนการผลิต คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ และการใช้งาน. กรุงเทพฯ: บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). p. 246. ISBN 978-974-496-257-7.
  7. Zapp JA, Limperos G, Brinker KC (26 เมษายน 1955). "Toxicity of pyrolysis products of 'Teflon' tetrafluoroethylene resin". Proceedings of the American Industrial Hygiene Association Annual Meeting.
  8. "COWIE TECHNOLOGY - PTFE: High Thermal Stability". Cowie.com. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2017.
  9. "Free Flow Granular PTFE" (PDF). Inoflon Fluoropolymers. 16 สิงหาคม 2017.
  10. Sina Ebnesajjad (21 กันยายน 2016). Expanded PTFE Applications Handbook: Technology, Manufacturing and Applications. William Andrew. pp. 31–32. ISBN 978-1-4377-7856-4.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Polyflon PTFE Molding Powder" (PDF). Daikin Chemical. 16 สิงหาคม 2017.
  12. "Unraveling Polymers: PTFE". Poly Fouoro Ltd. 26 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2017.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

  สื่อที่เกี่ยวข้องที่วิกิคอมมอนส์: