พลังดอกไม้ (ภาพถ่าย)

พลังดอกไม้ (อังกฤษ: Flower Power) เป็นชื่อของภาพถ่ายโดย เบอร์นี บอสตัน ช่างภาพชาวอเมริกัน ถ่ายให้กับหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันสตาร์ ที่ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1967 ระหว่างการเดินขบวนมาร์ชออนเดอะเพนตากอน ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการเคลื่อนตัวแห่งชาติเพื่อยุติสงครามในเวียดนาม โดยภาพแสดงให้เห็นว่า ผู้ประท้วง จอร์จ แฮร์ริส กำลังวางดอกคาร์เนชั่น เข้าไปในบาร์เรลของปืนไรเฟิล เอ็ม-14 ที่ถือโดยเจ้าหน้าที่จากกองพันตำรวจกองทัพที่ 503 (503rd Military Police Battalion)[1]

ภาพถ่าย พลังดอกไม้ (Flower Power) โดยเบอร์นี บอสตัน ถ่ายระหว่างมาร์ออนเดอะเพนตากอน เมื่อ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1967

ภาพถ่ายนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลพูลิตเซอร์ในปี ค.ศ. 1967[2]

เหตุการณ์

แก้

คณะกรรมการเคลื่อนตัวแห่งชาติเพื่อยุติสงครามในเวียดนาม ได้จัดมาร์ชออนเดอะเพนตากอน ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1967 ขณะที่ผู้ประท้วงต่อต้านสงครามกำลังเข้าใกล้บริเวณเดอะเพนตากอน ได้มีเจ้าหน้าที่จากกองพันตำรวจกองทัพ ที่ 503 (503rd Military Police Battalion) ออกมาเผชิญหน้า และกันผู้ชุมนุมไว้ เจ้าหน้าที่ได้ประทับปืนโดยหันปากปลายกระบอกไปยังมวลชนผู้ประท้วง และแปรแถวเป็นรูปครึ่งวงกลม กันไม่ให้ผู้ประท้วงปีนขึ้นไปบนบันไดของเพนตากอนได้ ช่างภาพประจำหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันสตาร์ เบอร์นี บอสตัน ได้รับมอบหมายจากบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ให้ถ่ายภาพการประท้วง บอสตันนั่งประจำอยู่ที่ผนังตรงทางเข้าห้างสรรพสินค้า ซึ่งช่วยให้เขาเห็นเหตุการณ์ค่อย ๆ คลี่คลายต่อหน้า[3] ในบทสัมภาษณ์ปี ค.ศ. 2005 เขาระบุว่า "ขณะที่ผมเห็นทะเลแห่งผู้ประท้วง ผมนึกแล้วว่าจะต้องมีบางอย่างเกิดขึ้นแน่ ผมเห็นกองทัพกรีฑาเข้าไปในทะเลแห่งผู้ประท้วง และผมก็พร้อมเลย"[4] ชายหนุ่มคนหนึ่งโผล่ออกมาจากฝูงชนผู้ประท้วง และเริ่มวางดอกคาร์เนชั่นลงในบาร์เรลของปืนไรเฟิลทีละกระบอก[3] บอสตันจับภาพขณะที่ชายหนุ่มคนนั้นกำลังวางดอกคาร์เนชั่นดอกหนึ่งได้ ซึ่งต่อมากลายมาเป็นภาพถ่ายขึ้นชื่อของตัวเขา[3]

หลังบอสตันแสดงภาพถ่ายดังกล่าวให้กับบรรณาธิการของ The Washington Star ดู "บรรณาธิการไม่แม้แต่จะเห็นความสำคัญ [ของภาพนี้]" และภาพนี้ถูกตีพิมพ์ลงในหน้าลึก ๆ ของหนังสือพิมพ์[3] ภาพนี้ไม่ได้รับความสนใจมากนัก จนกระทั่งบอสตันส่งภาพนี้เข้าประกวดในงานประกวดถ่ายภาพงานหนึ่ง แล้วชนะ[3]

สิ่งสืบเนื่อง

แก้

ผู้ประท้วงในภาพ

แก้
 
มุมอื่น ๆ ของการเดินขบวนมาร์ชออนเดอะเพนตากอน

เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า ชายหนุ่มในภาพ คือ จอร์จ เอ็ดเกอร์ลี แฮร์ริส ที่ 3 (George Edgerly Harris III) นักแสดงวัย 18 ปีจากนิวยอร์ก ผู้ย้ายไปอาศัยในซานฟรานซิสโกในปี ค.ศ. 1967[1][5] แฮร์ริสมีชื่อในการแสดงว่า ไฮบิสคัส และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเดอะค็อกเก็ตติส ซึ่งเป็นกองแดร็ก "ธีมเกย์, ไซคาเดลิก และแฟลมบอยเยนต์"[1] แฮร์ริสเสียชีวิตในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ในข่วงต้นการระบาดของเอดส์[1]

พอล แครสเนอร์ เขียนในบทความเมื่อปี ค.ศ. 2008 ให้กับฮัฟฟิงตันโพสต์ระบุว่า ชายหนุ่มในภาพคือ "ซูเปอร์โจเอล" หรือ โจเอล ทอร์นาบีน (Joel "Super-Joel" Tornabene) ผู้นำเยาวชนต้านวัฒนธรรมของพรรคเยาวชนสากล ซึ่งอาศัยอยู่ในเบิร์กลีย์ ในคริสต์ทศวรรษ 1960[6] ทอร์นาบีนเสียชีวิตในเม็กซิโกเมื่อปี ค.ศ. 1993[7]

ความสำคัญเชิงสัญลักษณ์

แก้
 
หญิงสาวคนหนึ่งกำลังยื่นดอกไม้ ในฐานะสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ให้แก่ทหารขณะเดินขบวนมาร์ชออนเดอะเพนตากอน

ขบวนการพลังดอกไม้ เริ่มต้นขึ้นในเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในฐานะการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ ต่อตัานสงครามเวียดนาม ขบวนการมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้วัตถุที่ไร้ความรุนแรง เช่น ของเล่น, ธง, ของหวาน และดนตรี เพื่อแสดงว่าขบวนการสันติภาพนี้ไม่มีความโกรธ ไม่มีความรุนแรง และเคลื่อนไหวเพื่อต้านกับขบวนการรถมอเตอร์ไซค์ของเฮลส์แองเจิลส์ที่สนับสนุนสงคราม

ความสำคัญเชิงวัฒนธรรม

แก้

พลังดอกไม้ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลพูลิตเซอร์ ในปี ค.ศ. 1967[2]

ภาพนี้ยังส่งผลและมีอิทธิพลต่อขบวนการต้านสงครามในคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นภาพที่เป็นตัวแทนว่า การข่าวผ่านภาพ (photojournalism) สามารถช่วยขบวนการนี้ได้อย่างไร[8]

ในปี ค.ศ. 1993 สมาคมช่างภาพข่าวแห่งชาติมอบรางวัลเกียรติยศสูงสุดแก่บอสตัน ซึ่งคือ Joseph A. Sprague Memorial Award[9]

พลังดอกไม้ ยังคงสถานะภาพที่เป็นดั่งภาพเอกลักษณ์ประจำคริสต์ทศวรรษ 1960[10]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Flowers, Guns and an Iconic Snapshot". Washingtonpost.com. March 18, 2007. สืบค้นเมื่อ December 6, 2013.
  2. 2.0 2.1 Boston, Bernie (October 21, 1967). "Flower Power". The Washington Evening Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-13.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Stewart, Jocelyn Y. (January 25, 2008). "Bernie Boston; captured iconic 60s' moment - The Boston Globe". Boston.com. สืบค้นเมื่อ December 6, 2013.
  4. Ashe, Alice (2005). "Bernie Boston: View Finder" (PDF). Curio Magazine. James Madison University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2009. สืบค้นเมื่อ September 29, 2017.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. Silva, Hoaracio (August 17, 2003). "Karma Chameleon". New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 9 October 2017.
  6. Krassner, Paul (January 30, 2008). "Tom Waits Meets Super-Joel". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 2011-01-24.
  7. Krassner, Paul (November 30, 2009). "A Dose of My Own Medicine". Antique Children. AQC Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-26. สืบค้นเมื่อ 2022-06-26.
  8. Gottschalk, Molly (2016-07-12). "Why certain photographs quickly come to define a movement". Artsy. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
  9. "Joseph A Sprague Memorial Award". NPPA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-18. สืบค้นเมื่อ December 6, 2013.
  10. Mulligan, Therese (2006). Bernie Boston: American Photojournalist. ISBN 9781933360195.