เปารพ, เปารัพ, หรือ เปารวะ (สันสกฤต: पौरव Paurava; อังกฤษ: Pauravas) เป็นราชอาณาจักรโบราณทางตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ตั้งอยู่อย่างน้อยใน 892–322 ปีก่อนคริสตกาล เรื่องราวของเปารพนั้นมีบันทึกในเอกสารทางประวัติศาสตร์และศาสนาของฮินดูซึ่งเก่าแก่ถึง 820 ปีก่อนคริสตกาล

เปารพ

890 ปีก่อนคริสตกาล–322 ปีก่อนคริสตกาล
ที่ตั้งของเปารพรายล้อมด้วยกลุ่มชนอื่น ๆ คือ อุทุมพระ (Audumbaras), กุลินทะ (Kunindas), เวมกะ (Vemakas), วฤษณี (Vrishnis), โยธยา (Yaudheyas), อรชุนายนะ (Arjunayanas)
ที่ตั้งของเปารพรายล้อมด้วยกลุ่มชนอื่น ๆ คือ อุทุมพระ (Audumbaras), กุลินทะ (Kunindas), เวมกะ (Vemakas), วฤษณี (Vrishnis), โยธยา (Yaudheyas), อรชุนายนะ (Arjunayanas)
เมืองหลวงไม่ปรากฏ
ศาสนา
ฮินดู
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
890 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
322 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
Macedonian Empire
Macedonian Empire
Maurya Empire
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อินเดีย
 ปากีสถาน

โปรสครองบัลลังก์แห่งเปารพอยู่ในคราวที่อเล็กซานเดอร์มหาราชรุกรานอนุทวีปอินเดีย เชื่อกันว่า อเล็กซานเดอร์ปราบโปรสได้ในยุทธการที่ไฮดาสเปส (Battle of the Hydaspes) แล้วโปรดให้โปรสครองบัลลังก์ดังเดิม แต่ในฐานะเจ้าประเทศราช เรียก เซแทร็ป (satrap)[1] ครั้น 322 ปีก่อนคริสตกาล จันทรคุปตเมารยะพิชิตดินแดนเปารพได้และก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ จักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอนุทวีปอินเดีย[2]

อ้างอิง แก้

  1. Graham Phillips (31 March 2012). Alexander The Great. Ebury Publishing. pp. 129–131. ISBN 978-0-7535-3582-0.
  2. Arthur A. MacDonell (28 March 2014). A History of Sanskrit Literature (Illustrated). Lulu.com. p. 331. ISBN 978-1-304-98862-1.[ลิงก์เสีย]