พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2

พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (ครองราชย์ ป. ค.ศ. 375-415) รู้จักกันตรามตำแหน่ง วิกรมาทิตย์ หรือ จันทรคุปตวิกรมาทิตย์ เป็นจักรพรรดิคุปตะ นักวิชาการสมัยใหม่โดยทั่วไประบุพระองค์เข้ากับพระเจ้าจันทระในจารึกโลหะสตมภ์เดลี

พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2
วิกรมาทิตย์
Bhattāraka-mahārājādhirāja
เทวราช
Rājarshi
เจ้าแห่งสามมหาสมุทร
Apratiratha
Paramabhagavata
เหรียญทอง 8 กรัมที่แสดงจันทรคุปต์ที่ 2 ทรงม้าประดับเครื่องทรง มีธนูอยู่ที่พระหัตถ์ซ้าย[1] พระนาม Cha-gu-pta ปรากฏที่บนซ้ายของจตุภาค
จักรพรรดิคุปตะ
ครองราชย์ป. ค.ศ. 375 หรือ 380 –  415 (35-40 ปี)
ก่อนหน้าพระเจ้าสมุทรคุปต์, อาจเป็นรามคุปต์
ถัดไปพระเจ้ากุมารคุปต์ที่ 1
ประสูติไม่ทราบ
จักรวรรดิคุปตะ
สวรรคตป. ค.ศ. 415
จักรวรรดิคุปตะ
คู่อภิเษกDhruvadevi, Kuberanaga
พระราชบุตร
ราชวงศ์คุปตะ
พระราชบิดาพระเจ้าสมุทรคุปต์
พระราชมารดาDattadevi
ศาสนาฮินดู[2]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
การยุทธ์
  • การพิชิตเบงกอลของคุปตะ (ป. ค.ศ. 320-380)
  • สงครามคุปตะ-ศกะ (335-413)
  • การพิชิตปัญจาบ
  • การทัพหุนาของจันทรคุปต์ที่ 2 (356-399)
  • ยุทธการที่เบกรัม
  • ยุทธการใกล้หุบเขาคาพีซา
  • ยุทธการที่ซิสถาน
  • การยอมจำนนของ Varahran
  • การทัพบัลฆ์ของจันทรคุปต์ที่ 2 (367)
  • ยุทธการที่ออกซุส (399)

จันทรคุปต์ที่ 2 ดำเนินนโยบายขยายดินแดนของพระเจ้าสมุทรคุปต์ต่อผ่านการพิชิตทางทหารและพันธมิตรผ่านการสมรส หลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันถึงชัยชนะอันน่าทึ่งของพระองค์ ซึ่งรวมถึงการเอาชนะจักรวรรดิซาเซเนียน[3]การพิชิตเซแทร็ปตะวันตก และทำให้หุนาเป็นรัฐบริวาร ในรัชสมัยจันทรคุปต์ที่ 2 จักรวรรดิคุปตะอยู่ในช่วงสูงสุด โดยควบคุมดินแดนกว้างขวางจากแม่น้ำอามูดาร์ยา[4]ทางตะวันตกถึงภูมิภาคเบงกอลทางตะวันออก และจากตีนเขาหิมาลัยทางเหนือถึงแม่น้ำนรรมทาทางใต้ จันทรคุปต์ที่ 2ทรงขยายอิทธิพลและปกครองเหนือภูมิภาค Kuntala ของ Karnataka ทางอ้อมด้วยพันธมิตรผ่านการสมรสกับ Kadambas และในช่วงที่ Prabhavatigupta พระราชธิดาปกครองเป็นผู้สำเร็จราชการ 20 ปี พระองค์จึงผนวกอาณาจักร Vakataka เข้ากับจักรวรรดิคุปตะ[5][6][7]

พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนเมืองหลวงจากกรุงปาตลีบุตรไปยังเมืองอุชเชนี พระองค์ทรงสนับสนุนศิลปะและวิทยาการแขนงต่าง ๆ ทำให้อารยธรรมอินเดียในช่วงนี้มีความเจริญสูงสุด พระองค์ยังได้รับพระสมัญญานาม "มหาราช" อีกด้วย

จันทรคุปต์ที่ 2 เป็นผู้นับถือลัทธิไวษณพอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยอมรับศาสนาอื่นได้ด้วย ฝาเสี่ยน ผู้แสวงบุญชาวจีนที่เดินทางมาอินเดียในรัชสมัยพระองค์เสนอแนะว่าพระองค์ปกครองอาณาจักรอันสงบสุขและเจริญรุ่งเรือง วิกรมาทิตย์ในตำนานน่าจะอิงจากจันทรคุปต์ที่ 2 (กับพระองค์อื่น ๆ) และระบุว่ากาลิทาส นักกวีสันสกฤตอาจเป็นกวีในราชสำนักของพระองค์ วิหารถ้ำที่อุทัยคีรีก็สร้างขึ้นในรัชสมัยพระองค์

ชีวิตช่วงต้น

แก้

จันทรคุปต์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสมุทรคุปต์กับราชินี Dattadevi ตามที่ปรากฏในจารึกของพระองค์เอง[8] ตามข้อมูลลำดับวงตระกูลคุปตะทางการ จัทรคุปต์ขึ้นครองราชย์ถัดจากพระราชบิดา บทละครสันสกฤต เทวีจันทรคุปตัมกับหลักฐานอื่นเสนอแนะว่า พระองค์มีพระเชษฐานามรามคุปต์ที่ครองราชย์ก่อน ในบทละคร รามคุปต์ตัดสินพระทัยยกราชินี Dhruvadevi ให้แก่ศัตรูศกะตอนถูกล้อม แต่จันทรคุปต์เสด็จไปยังค่ายของศัตรูโดยปลอมตัวเป็นราชินีและสังหารศัตรู ในเวลาต่อมา จันทรคุปต์ทรงปลดรามคุปต์ออกจากราชบัลลังก์ และขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่[9] ความเป็นประวัติศาสตร์ของเรื่องเล่านี้เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ โดยบางคนเชื่อว่าเรื่องเล่าดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่แท้จริง ในขณะที่บางคนก็มองว่าเป็นเพียงผลงานที่แต่งขึ้นเท่านั้น[10][11]

อ้างอิง

แก้
  1. *1910,0403.26
  2. Doniger, Wendy (2009). The Hindus: An Alternative History (ภาษาอังกฤษ). p. 379. ISBN 9781594202056. สืบค้นเมื่อ 2022-09-24.
  3. Prakash, Buddha (1962). Studies in Indian History and Civilization (ภาษาอังกฤษ). Shiva Lal Agarwala.
  4. Agrawal, Ashvini (1989). Rise and Fall of the Imperial Guptas (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publ. p. 240 & 264. ISBN 978-81-208-0592-7.
  5. Raychaudhuri, Hem Channdra (1923). Political history of ancient India, from the accession of Parikshit to the extinction of the Gupta dynasty. Robarts - University of Toronto. Calcutta, Univ. of Calcutta. pp. 282–288.
  6. Annual Report Of Mysore 1886 To 1903.
  7. Hermann Kulke & Dietmar Rothermund 2004, p. 91.
  8. Tej Ram Sharma 1989, p. 148.
  9. Upinder Singh 2008, p. 479.
  10. D. C. Sircar 1969, p. 139.
  11. R. C. Majumdar 1981, p. 51.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ถัดไป
พระเจ้าสมุทรคุปต์   พระมหาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิคุปตะ
(พ.ศ. 919-958)
  พระเจ้ากุมารคุปต์ที่ 1