พระเจ้าการ์ซิอา ซันเชซที่ 1 แห่งปัมโปลนา
พระเจ้าการ์ซิอา ซันเชซที่ 1 (สเปน: García Sánchez I; บาสก์: Gartzea I.a Sanoitz; ค.ศ. 919 – 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 970)[1] เป็นกษัตริย์แห่งนาเฆรา[2] และสืบทอดตำแหน่งกษัตริย์แห่งปัมโปลนาต่อจากพระบิดา ปกครองราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 925 จนสิ้นพระชนม์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าซันโช การ์เซสที่ 1 กษัตริย์แห่งปัมโปลนากับพระราชินีโตดา อัซนาเรซ[3] พระนัดดาหญิงของพระเจ้าฟอร์ตุน การ์เซส
พระเจ้าการ์ซิอา ซันเชซที่ 1 | |
---|---|
กษัตริย์แห่งปัมโปลนา | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 925–970 |
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าซันโชที่ 1 แห่งปัมโปลนา |
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าซันโชที่ 2 แห่งปัมโปลนา |
ประสูติ | ค.ศ. 919 |
สิ้นพระชนม์ | ค.ศ. 970 |
ฝังพระศพ | ปราสาทนักบุญเอสเตบันเดโย, บิยามายอร์เดมองฆาร์ดิน |
พระมเหสี | อันเดรโกโต กาลินเดซ เตเรซา รามิเรซ |
พระบุตร | พระเจ้าซันโชที่ 2 แห่งปัมโปลนา รามิโร กอนซาโล อูร์รากา |
ราชวงศ์ | ฆีเมเนซ |
พระบิดา | พระเจ้าซันโชที่ 1 แห่งปัมโปลนา |
พระมารดา | โตดา อัซนาเรซ |
การครองราชย์
แก้ในปี ค.ศ. 923 พระเจ้าซันโช การ์เซสที่ 1 พระบิดาของพระองค์ร่วมมือกับพระเจ้าออร์ดอญโญที่ 2 แห่งเลออนกอบกู้นาเฆรา ลาริโอฆาเมเดีย และลาริโอฆาอัลตากลับคืนมา พระเจ้าซันโช การ์เซสที่ 1 ได้สิทธิ์ในการปกครองราชอาณาจักรนาเฆรา ทำให้กลายเป็นปฐมกษัตริย์ของราชอาณาจักรดังกล่าว[2]
เมื่อพระเจ้าซันโช การ์เซสสิ้นพระชนม์ในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 925 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือการ์ซิอา ซันเชซ พระโอรสวัย 6 พรรษา ภายใต้การคุ้มครองของพระปิตุลา ฆิเมโน การ์เซส ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 931 ก่อให้เกิดวิกฤตการแย่งชิงสิทธิ์ในการคุ้มครองกษัตริย์ การเข้ามาแทรกแซงของพระมารดา พระราชินีโตดา และการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยของอับดุรเราะห์มานที่ 3 พระภาติยะของพระราชินีโตดา ทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ พระราชินีไปเยี่ยมเยียนกาหลิบผู้เป็นพระภาติยะที่ค่ายกาลาออร์ราในปี ค.ศ. 934 และขอให้กาหลิบยอมรับการ์ซิอา พระโอรสของพระองค์ เป็นกษัตริย์คนใหม่ของปัมโปลนา แลกกับการที่พระองค์สัญญาว่าจะตัดความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรอัสตูเรียส ทว่าข้อตกลงกับกาหลิบกอร์โดบาอยู่ได้ไม่นาน[4]
หลังพระเจ้าการ์ซิอา ซันเชซบรรลุนิติภาวะในปี ค.ศ. 933 ทรงอ้างสิทธิ์ในการคุ้มครองอันเดรโกโต กาลินเดซ คู่หมั้นของพระองค์ และบริหารปกครองเคาน์ตีอารากอน จนกระทั่งการแต่งงานถูกประกาศให้เป็นโมฆะในปี ค.ศ. 943 ปีที่ชื่อของเตเรซา รามิเรซ พระมเหสีคนที่สองของพระองค์ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก[5]
การเข้ามาแทรงแซงกิจการด้านการปกครองของพระราชชนนีทำให้ราชอาณาจักรปัมโปลนากลายเป็นรัฐสำคัญของกลุ่มราชอาณาจักรคริสเตียน พี่น้องหญิงสามคนของพระเจ้าการ์ซิอา ซันเชซถูกจับแต่งงานกับกษัตริย์เลออน[3] คือ อูร์รากากับพระเจ้ารามิโรที่ 2, ซันชากับพระเจ้าออร์ดอญโญที่ 2 และโอเนกากับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 5 ด้วยเหตุนี้นาวาร์จึงมีส่วนพัวพันในสงครามกลางเมืองของราชอาณาจักรเลออน เมื่อพระเจ้ารามิโรที่ 2 สิ้นพระชนม์ พระราชินีโตดาได้ช่วยให้ซันโช พระนัดดา ได้ครองบัลลังก์ที่วางอยู่ ต่อมาเมื่อพระเจ้าซันโชถูกเนรเทศโดยออร์ดอญโญผู้เลวร้าย พระนัดดาอีกคนของพระองค์ พระราชชนนีมองหาความช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม อับดุรเราะห์มานจึงช่วยซันโช หลานชายของตน กอบกู้บัลลังก์กลับคืนมา
ในปี ค.ศ. 939 พระองค์เข้าร่วมกองทัพผสมที่จัดตั้งขึ้นมาโดยพระเจ้ารามิโรที่ 2 แห่งเลออน, เฟร์นัน กอนซาเลซ และกองทหารอัสตูเรียสและเลออน ซึ่งได้รับชัยชนะครั้งสำคัญเหนืออับดุรเราะห์มานที่ 3 ในสมรภูมิซิมังกัส[6]
ในปี ค.ศ. 961 ทรงมีบทบาทในความขัดแย้งระหว่างเคาน์ตีกัสติยากับราชอาณาจักรเลออน และจับกุมตัวเฟร์นัน กอนซาเลซ เคานต์แห่งกัสติยาได้ ทว่าทรงปฏิเสธที่จะมอบตัวเขาให้ชาวมุสลิม ในปี ค.ศ. 963 ทรงตั้งกลุ่มพันธมิตรคริสเตียนขึ้นมาต่อกรกับอัลฮาเกนที่ 2 แต่ถูกปราบโดยชาวมุสลิม[7]
พระองค์สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 970 ร่างของพระองค์ถูกฝังที่หน้ามุขของโบสถ์น้อยนักบุญเอสเตบันในปราสาทมองฆาร์ดิน
การอภิเษกสมรสและทายาท
แก้ทรงทำสัญญาแต่งงานครั้งแรกกับอันเดรโกโต กาลินเดซ บุตรสาวของกาลินโด อัซนาเรซที่ 2 เคานต์แห่งอารากอนกับซันชา การ์เซส กาลินโด อัซนาเรซไม่มีทายาทตามกฎหมายที่เป็นเพศชาย เคาน์ตีอารากอนจึงตกทอดเป็นของอันเดรโกโต บุตรสาว และต่อมาก็ตกทอดเป็นของซันโช พระโอรสของอันเดรโกโต[8] อันเดรโกโตถูกพระสวามีทอดทิ้งก่อนปี ค.ศ. 943 และเกษียณตัวไปอยู่ที่อัยบาร์ ทรงสิ้นพระชนม์ที่นั่นในปี ค.ศ. 971 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ
- พระเจ้าซันโชที่ 2 การ์เซส กษัตริย์แห่งนาเฆรา-ปัมโปลนาและเคานต์แห่งอารากอน
- อูร์รากา ซันเชซ[9] ทำสัญญาแต่งงานครั้งแรกกับเฟร์นัน กอนซาเลซ เคานต์แห่งกัสติยา หลังเป็นม่ายในปี ค.ศ. 970 อูร์รากากลับมาปัมโปลนา หลังปี ค.ศ. 972 ทรงทำสัญญาแต่งงานครั้งใหม่กับกิเอร์โม ซันเชซ เคานต์แห่งกัสกอญ[10]
พระเจ้าการ์ซิอา ซันเชสอภิเษกสมรสครั้งที่สองก่อนปี ค.ศ. 943 กับเตเรซา ซึ่งอาจจะเป็นพระธิดาของพระจ้ารามิโรที่ 2 แห่งเลออนกับอาโดซินดา กูติเอร์เรซ ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ
อ้างอิง
แก้- ↑ Cañada Juste , Alberto (1981). «A millenarian from Navarra: Ramiro Garcés, king of Viguera» . Prince of Viana (Year 42, No. 162): 21-37, pp. 21 and 28.
- ↑ 2.0 2.1 García Prado , Justiniano (1983). History of La Rioja: Middle Ages vol.II . Caja Rioja.
- ↑ 3.0 3.1 Cañada Juste , Alberto (1981). «A millenarian from Navarra: Ramiro Garcés, king of Viguera» . Prince of Viana (Year 42, No. 162): 21-37, p. 2. 3.
- ↑ Bazán , Iñaki (2002). «From the dark times to the provincial splendor (V to XVI centuries)». From Túbal to Aitor - History of Vasconia . Bazán, Iñaki, coordinator. Madrid: The sphere of books, p. 207
- ↑ Cañada Juste , Alberto (1981). «A millenarian from Navarra: Ramiro Garcés, king of Viguera» . Prince of Viana (Year 42, No. 162), p. 24
- ↑ Martínez Diez , Gonzalo (2007). Sancho III the Greater King of Pamplona, Rex Ibericus . Madrid: Marcial Pons History, p. 29
- ↑ Biographies and Lives. «García Sánchez I» . Retrieved on October 24, 2004 .
- ↑ Martínez Diez , Gonzalo (2007). Sancho III the Greater King of Pamplona, Rex Ibericus . Madrid: Marcial Pons History, p. 31
- ↑ Cañada Juste , Alberto (1981). «A millenarian from Navarra: Ramiro Garcés, king of Viguera» . Prince of Viana (Year 42, No. 162), p. 28
- ↑ Martínez Diez , Gonzalo (2007). Sancho III the Greater King of Pamplona, Rex Ibericus . Madrid: Marcial Pons History, p. 109
- ↑ Martínez Diez , Gonzalo (2007). Sancho III the Greater King of Pamplona, Rex Ibericus . Madrid: Marcial Pons History, p. 37
- ↑ Cañada Juste , Alberto (1981). «A millenarian from Navarra: Ramiro Garcés, king of Viguera» . Prince of Viana (Year 42, No. 162), p. 37