พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร)

พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ระหว่างพุทธศักราช 2474-2476 และดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2483 - 2490 [1]

พระอรรถเปศลสรวดี
(เจริญ ทรัพยสาร)
เจ้าเมืองมหาสารคาม
ก่อนหน้าพระยาสารคามคณาพิบาล (อนงค์ พยัคฆันต์)
ถัดไปหลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ)
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2490
ก่อนหน้าพระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงษ์)
ถัดไปขุนบริบาลบรรพตเขต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2422
กรุงเทพมหานคร
เสียชีวิตพ.ศ. 2510
กาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) เกิดเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2422 เป็นชาวกรุงเทพมหานคร ได้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ คนที่ 17 เมื่อจังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอไปขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม ในเวลาต่อมาได้ลาออกจากราชการ กลับมาใช้ชีวิตอยู่จังหวัดกาฬสินธุ์อีกครั้ง จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2510 รวมอายุได้ 79 ปี

ผลงาน แก้

พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพย์สาร) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ได้พัฒนาและสร้างคุณประโยชน์นำความเจริญมาสู่จังหวัดกาฬสินธุ์มากมายพอประมวลได้ดังนี้

เป็นผู้สร้างสุขศาลาเป็นครั้งแรก คือ สุขศาลากาฬสินธุ์เป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูงและได้ติดต่อขอแพทย์จากทางราชการมาประจำรักษาคนป่วย หมอคนแรกของสุขศาลา คือ หมอบำ

สร้างโรงเรียนประจำจังหวัด คือ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ และโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด (โรงเรียนอนุกูลนารี)

ตัดถนนหลายสาย เช่น ถนนอรรถเปศลในปัจจุบัน

สร้างสะพานเลิงบักดอก เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในภาคอีสาน (ในขณะนั้นยาวประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ระหว่างวิบูลย์ฟาร์ม ยาวตลอดจนเกือบถึงสะพานข้ามลำน้ำพานในปัจจุบัน การปกครองบ้านเมืองในสมัยพระอรรถเปศลสรวดีขณะดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดมีความสงบเรียบร้อยดีมาก เนื่องจากพระอรรถเปศลสรวดีมีกุศโลบายในการปกครอง โดยใช้หลักเมตตาธรรม และขอร้องตักเตือนในเบื้องต้น ถ้าไม่เชื่อฟังก็ใช้วิธีเด็ดขาดเป็นวิธีสุดท้าย จึงทำให้พวกโจรผู้ร้ายและขโมยแทบไม่มี

การสร้างถาวรวัตถุ เช่น สุขศาลา โรงเรียน สะพาน ฯลฯ โดยอาศัยความร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวเมืองกาฬสินธุ์ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอ จึงทำให้อาศัยงบประมาณจากทางราชการไม่มากนัก

ผลงานที่นับว่าเด่นที่สุดในสมัยพระอรรถเปศล คือ การการป้องกันและรักษาผู้ป่วยไข้ ทรพิษและอหิวาตกโรค โดยการติดต่อที่ขอวัคซีนจากทางราชการ ซึ่งในสมัยนั้นชาวกาฬสินธุ์ป่วยเป็นโรคไข้ทรพิษและอหิวาตกโรค ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อร้ายแรงมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตจากโรคนี้ แต่ด้วยความสารถของพระอรรถเปศล ทำให้ป้องกันและรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลทำให้ชาวกาฬสินธุ์ล้มป่วยและเสียชีวิต จากไข้ทรพิษและอหิวาตกโรคน้อยลงกว่าเดิมมาก

ด้วยคุณงามความดีที่พระอรรถเปศลได้สร้างไว้แก่ชาวเมืองกาฬสินธุ์ทำให้ชาวเมืองกาฬสินธุ์ไว้วางใจเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ 2 สมัย โดยที่ท่านไม่ขอรับค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ตั้ง ย้าย ผู้ว่าราชการจังหวัด วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๗๒ เล่ม ๔๖ หน้า ๒๓๒
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๘๑, ๖ ธันวาคม ๒๔๗๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๔, ๑๒ มกราคม ๒๔๗๒
ก่อนหน้า พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) ถัดไป
พระยาสารคามคณาพิบาล (อนงค์ พยัคฆันต์)    
เจ้าเมืองมหาสารคาม,
ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม

(2474-2476)
  ขุนบริบาลบรรพตเขต
พระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงษ์)    
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(2483 - 2490)
  หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ)

อ้างอิง แก้

http://www.mahasarakham.go.th/index.htm เก็บถาวร 2012-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=159609 เก็บถาวร 2005-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน