พระราชวังปาการูยุง

พระราชวังปาการูยุง (อินโดนีเซีย: Istana Basa Paguruyung; มีนังกาเบา: Istano Basa Pagaruyuang) หรือ พระราชวังหลวงมีนังกาเบา (อังกฤษ: Minangkabau royal palace) คือ อิซตานา (พระราชวังหลวง) ของอาณาจักรปาการูยุงในอดีต ตั้งอยู่ในตำบลตันจุงเออมัซ ใกล้เมืองบาตูซังการ์ อำเภอตานะฮ์ดาตาร์ จังหวัดสุมาตราตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย สร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นรูมะฮ์กาดังแบบดั้งเดิมของชาวมีนังกาเบา แต่มีองค์ประกอบนอกแบบหลายอย่างรวมถึงโครงสร้างสามชั้นและขนาดที่ใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับรูมะฮ์กาดังทั่วไป[1]

พระราชวังปาการูยุง
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
มีนังกาเบา: Istano Basa Pagaruyuang
พระราชวังใหม่ สร้างขึ้นหลังอัคคีภัยเมื่อ ค.ศ. 2007
ที่ตั้งบาตูซังการ์ สุมาตราตะวันตก อินโดนีเซีย
พิกัด0°26′22″S 100°40′9″E / 0.43944°S 100.66917°E / -0.43944; 100.66917
สร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17
สร้างเพื่อที่ประทับของราชวงศ์แห่งอาณาจักรปาการูยุง
รื้อถอนค.ศ. 1837 (จากสงคราม)
ค.ศ. 1966 (จากอัคคีภัย)
ค.ศ. 2007 (จากอัคคีภัย)
สร้างใหม่ค.ศ. 1930, ค.ศ. 1968, ค.ศ. 2007
สถาปัตยกรรมบ้านมีนังกาเบาดั้งเดิม
เจ้าของอำเภอตานะฮ์ดาตาร์
พระราชวังปาการูยุงตั้งอยู่ในสุมาตราตอนใต้
พระราชวังปาการูยุง
ตำแหน่งที่ตั้งพระราชวังปาการูยุงในสุมาตราตอนใต้

สถาปัตยกรรม แก้

พระราชวังปาการูยุงหลังเดิมสร้างขึ้นจากงานช่างไม้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม พระราชัวงหลังปัจจุบันนี้สร้างขึ้นจากโครงร่างที่เป็นคอนกรีต นอกจากนั้นแล้วก็ประดับประดาด้วยการก่อสร้างโดยใช้วิธีและวัสดุแบบดั้งเดิม ตบแต่งด้วยงานแกะสลักไม้จำนวน 60 ชิ้น ที่แสดงถึงปรัชญาและวัฒนธรรมของมีนังกาเบา[2]

ประวัติศาสตร์ แก้

พระราชวังหลังเดิมสร้างขึ้นบนเขาบาตูปาตะฮ์ แต่ถูกเผามอดในระหว่างสงครามปาดรีเมื่อปี 1804 หลังสร้างพระราชวังขึ้นใหม่ ก็ถูกไฟเผาทำลายสิ้นอีกครั้งในปี 1966 ในสมัยเอกราช ผู้ว่าการจังหวัดสุมาตราตะวันตก ฮารุน เซิน (Harun Zen) ได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างพระราชวังขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 1976 เพื่อเชิดชูวัฒนธรรมและความภาคภูมิใจของชาวมีนังกาเบาขึ้นมาใหม่[1] การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นในปลายปีเดียวกัน

พระราขวังถูกไฟเผาทำลายอีกครั้งในเย็นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2007 หลังหลังคาของอาคารถูกฟ้าผ่าและเกิดประกายไฟขึ้น[3] โบราณวัตถุล้ำค่าภายในเหลือรอดมาเพียงแค่ 15 เปอร์เซนต์เท่านั้น of the ปัจจุบัน โบราณวัตถุที่เหลือได้ย้ายไปจัดเก็บและจัดแสดงที่ Balai Benda Purbakala Kabupaten Tanah Datar (กรมโบราณคดีอำเภอตานะฮ์ดาตาร์) ในขณะที่ ปูซากา หรือมรดกที่สืบทอดมาในราชอาณาจักรปาการูยุง นำไปเก็บและจัดแสดงที่พระราชวังซีลินดูอังบูลัน ราว 2 กิโลเมตรจากพระราชวังปาการูยุง[4] อาคารซ่อมแซมแล้วเสร็จในเวลา 6 ปี ด้วยงบประมาณ RP20 พันล้าน (US$1,71 ล้าน) และกลับมาเปิดให้เข้าชมอีกครั้งหลังประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโธโยโน เดินทางมาเปิดในเดือนตุลาคม 2013[2][5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Post, The Jakarta. "Istano Basa Pagaruyung: Restored to glory". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-08.
  2. 2.0 2.1 Syofiardi Bachyul Jb (November 23, 2013). "Istano Basa Pagaruyung: Restored to glory". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ December 24, 2013.
  3. "The Journal of Indonesia Today". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29.
  4. "Kebakaran Istano Basa Isyarat Kepada Pemerintah". Tempo Interaktif. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30.
  5. "Perbaikan Istana Pagaruyung Lebih dari Rp 20 Miliar". Kompas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-07.