พระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858

พระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 (อังกฤษ: Government of India Act 1858) เป็นกฎหมายที่รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรตราขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1858 รัฐบาลของไวเคานต์พาลเมอร์สตันเสนอกฎหมายนี้ขึ้นหลังเกิดกบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 กฎหมายฉบับนี้ถ่ายโอนอำนาจการปกครองอนุทวีปอินเดียจากบริษัทอินเดียตะวันออกมาขึ้นกับราชสำนักอังกฤษโดยตรง[2] ทำให้พระมหากษัตริย์อังกฤษทรงสามารถแต่งตั้งสมาชิกรัฐบาลอินเดียและแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการไปปกครองอินเดีย กฎหมายฉบับนี้ทำให้การปกครองของบริษัทในอินเดียสิ้นสุดลง และเป็นจุดเริ่มต้นบริติชราช โดยมีใจความสำคัญดังนี้

  1. พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรจะทรงปกครองอินเดียผ่านทางรัฐมนตรีว่าการอินเดีย
  2. ตั้งกระทรวงว่าการอินเดียขึ้น มีรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ
  3. ตั้งสภาอินเดียขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับอินเดียจำนวน 15 นาย ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรี
  4. ยกฐานะ "ผู้สำเร็จราชการอินเดีย" ขึ้นเป็น "อุปราชแห่งอินเดีย" ทำหน้าที่ปกครองอินเดียในฐานะผู้แทนสมเด็จพระราชินีนาถ
  5. ให้อุปราชบริหารอินเดียโดยมีรัฐบาลอุปราชช่วยทั้งในด้านการบริหารและนิติบัญญัติ
  6. นโยบายของรัฐบาลอังกฤษในการปกครองอินเดีย
  7. รัฐบาลอังกฤษยอมรับข้อผูกพันระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกกับเจ้าพื้นเมืองอินเดียที่ทำกันไว้ก่อน
  8. รัฐบาลจะเคารพในสิทธิ ศักดิ์ศรี และเกียรติยศของเจ้าพื้นเมืองอินเดียและจะเคารพในลัทธิและประเพณีของอินเดียโบราณด้วย
  9. รัฐบาลอังกฤษจะไม่ขยายดินแดนในการปกครองของอังกฤษในอนุทวีปอินเดีย และไม่ล่วงล้ำดินแดนของผู้อื่น
  10. รัฐบาลอังกฤษจะให้ความยุติธรรม เมตตากรุณา ให้เสรีภาพทางศาสนา และจะคอยควบคุมมิให้รัฐบาลอุปราชเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
  11. ชาวอินเดียไม่ว่าเชื้อชาติหรือศาสนาใดจะได้รับการพิจารณาให้เข้ารับข้าราชการโดยเสรี จะได้รับความยุติธรรม หน้าที่ที่จะได้ทำขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และความซื่อสัตย์
พระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858[1]
ชื่อเต็มAn Act for the better Government of India
อ้างอิงสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
วาระ
ได้รับพระบรมราชานุญาต2 สิงหาคม ค.ศ. 1858
เริ่มใช้เมื่อ1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1858

อ้างอิงแก้ไข

  1. This short title was conferred on the Act by the Short Titles Act 1896, s. 1
  2. Wolpert, Stanley (1989). A New History of India (3d ed.), pp. 239–40. Oxford University Press. ISBN 0-19-505637-X.