พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ
พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ เป็นพระที่นั่งที่อยู่ต่อกับท้องพระโรงกลางของหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาททางทิศตะวันตก ที่เฉลียงด้านหน้าพระที่นั่งองค์นี้มีอ่างน้ำพุซึ่งเรียกกันมาแต่เดิมว่า "อ่างแก้ว" นามของพระที่นั่งองค์นี้มีความหมายว่า "เป็นที่ซึ่งพระองค์เสด็จพระราชสมภพ" เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชสมภพ ณ พระที่นั่งแห่งนี้ ต่อมาใน พ.ศ. 2430 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็นห้องเสวย นอกจากนั้น ในบางครั้งเจ้านายฝ่ายในบางพระองค์ยังเสด็จมาประทับชั่วคราว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงประกาศกระแสพระราชดำริ ในอันที่จะให้มีการเลิกทาส ณ พระที่นั่งองค์นี้ ท่ามกลางที่ประชุมคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2417
พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | พระที่นั่ง |
เมือง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ผู้สร้าง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เป็นส่วนหนึ่งของ | หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท |
เลขอ้างอิง | 0005574 |
ต่อมาพระที่นั่งองค์นี้ชำรุดทรุดโทรดมาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้รื้อลง และสร้างพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติองค์ใหม่ขึ้นมาแทน
สถาปัตยกรรม
แก้พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติเป็นพระที่นั่งแบบยุโรปร่วมสมัย ตัวอาคารเป็นแบบยุโรป มุงหลังคาพระที่นั่งด้วยกระเบื้องเป็นแบบไทยเพื่อให้รับทัศนียภาพกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายในมีอ่างแก้ว อ่างน้ำพุสวยงดงาม ผนังองค์พระที่นั่งประดับประดาด้วยลวดลายปูนปั้นปิดทองงดงาม รวมถึงตุ๊กตาสำริด กระถางกระเบื้องลายคราม รวมทั้งเครื่องเรือนยุโรป แบบฝรั่งเศส งดงามเข้าชุดกันทั้งพระที่นั่ง
ห้องภายในพระที่นั่ง
แก้- ห้องพระราชทานเลี้ยง
- ท้องพระโรง
- ห้องพระราชทานเลี้ยงกาแฟ