พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์

พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์(อิตาลี: Partito Nazionale Fascista, PNF) เป็นพรรคการเมืองของอิตาลี ที่ถูกก่อตั้งโดยเบนิโต มุสโสลินีที่เป็นการแสดงความคิดทางการเมืองของลัทธิฟาสซิสต์ (ก่อนหน้านี้ได้แสดงออกโดยกลุ่มที่เป็นที่รู้จักคือ ฟาสเช่) พรรคนี้ได้มีบทบาทขึ้นปกครองอิตาลีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 เมื่อกลุ่มฟาสซิสได้เข้ายึดอำนาจด้วยการเดินขบวนสู่โรม จนถึงปี ค.ศ. 1943 เมื่อมุสโสลินีถูกปลดโดยสภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์

พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์
Partito Nazionale Fascista
ดูเชและผู้ก่อตั้งเบนิโต มุสโสลินี
Historical secretariesSee list
คำขวัญ"Credere, Obbedire, Combattere"
("จงเชื่อมั่น, เชื่อฟัง, ต่อสู้")
ก่อตั้ง9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921
ถูกยุบ27 July 1943
รวมตัวกับItalian Fasci of Combat,
Italian Nationalist Association
ก่อนหน้าFascist Revolutionary Party
ถัดไปRepublican Fascist Party
ที่ทำการPalazzo della Farnesina
Via della Lungara, 230
Rome, Italy
หนังสือพิมพ์Il Popolo d'Italia
ฝ่ายนักเรียนนักศึกษาGruppi Universitari Fascisti
ฝ่ายเยาวชนGioventù Italiana del Littorio
Opera Nazionale Balilla
Paramilitary wingMilizia Volontaria per la Sicurezza Nazionale
Trade Union wingConfederazione Generale del Lavoro
Opera Nazionale Dopolavoro
สมาชิกภาพ  (ปี 1939)6,000,000
อุดมการณ์ลัทธิฟาสซิสต์อิตาลี
จุดยืนขวาจัด
กลุ่มระดับชาติNational Blocs (1921)
National List (1924)
สี  สีดำ
เพลง"โจวีเนซซา"
ธงประจำพรรค
การเมืองItaly
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ก่อนหน้านี้ การก่อตั้งพรรคการเมืองครั้งแรกของมุสโสลินีได้เป็นที่รู้จักกันคือ พรรคปฏิวัติฟาสซิสต์ ซึ่งถูกก่อตั้งในปี ค.ศ. 1915 ตามที่มุสโสลินีได้ตั้งชื่อเอาไว้[1] ภายหลังผลการเลือกตั้งที่แย่ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1919 ในที่สุดพรรคปฏิวัติฟาสซิสต์ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ในช่วงการประชุมสภาครองเกสฟาสซิสต์ครั้งที่สามในกรุงโรม เมื่อวันที่ 7-10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921[2][3]

พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ได้มีรากฐานมาจากลัทธิชาตินิยมอิตาลีและความปรารถนาที่ฟื้นฟูและขยายดินแดนอิตาลี ซึ่งพวกฟาสซิสต์อิตาลีได้ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศชาติที่จะยืนยันความสูงส่งและความแข็งแกร่งและเพื่อหลีกเลี่ยงการเสื่อยโทรม[4] พวกฟาสซิสต์อิตาลีได้กล่าวอ้างว่าอิตาลีสมัยใหม่นั้นเป็นยุคที่สืบทอดต่อจากยุคโรมสมัยโบราณและเป็นมกดกและประวัติศาสตร์เพื่อสนับสนุนในการสร้างจักรวรรดิอิตาลีเพื่อจัดตั้งนโยบายสปาซิโอ วิทาเล("พื้นที่อยู่อาศัย")สำหรับการล่าอาณานิคมโดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิตาลีและเพื่อการสร้างในการควบคุมเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[5]

พวกฟาสซิสต์ได้ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบบรรษัทนิยม โดยที่นายจ้างและลูกจ้างที่รวมตัวกันได้เชื่อมโยงกันในสมาคมเพื่อเป็นตัวแทนของผู้ผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศและทำงานร่วมกับรัฐเพื่อกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ[6] ระบบเศรษฐกิจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชนชั้นโดยผ่านการร่วมมือกันระหว่างชนชั้น[7]

พวกฟาสซิสต์อิตาลีนั้นได้ต่อต้านพวกเสรีนิยม แต่ไม่ได้แสวงหาการฟื้นฟูฝ่ายปฏิการณ์ของโลกก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งได้ถือว่าเป็นความบกพร่อง และไม่สอดคล้องกับทิศทางที่เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าต่อนโยบาย[8] มันเป็นการคัดค้านต่อลัทธิสังคมนิยมของมาร์กซิสต์ เพราะเป็นความขัดแย้งโดยทั่วไปต่อลัทธิชาตินิยม แต่ยังคงต่อต้านฝ่ายปฏิการณ์ของอนุรักษ์นิยมที่พัฒนาขึ้นโดย Joseph de Maistre[9] ได้เชื่อว่าความสำเร็จของลัทธิชาตินิยมอิตาลีจำเป็นต้องเคารพในประเพณีและความรู้สึกที่ชัดเจนของการแบ่งปันในอดีตท่ามกลางหมู่ชาวอิตาลีควบคู่ไปกับความมุ่งมั่นที่จะทำให้อิตาลีทันสมัย[10]

พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์พร้อมกับพรรคที่สืบทอดต่อ, พรรครีพับลิกันฟาสซิสต์ ได้ถูกสั่งต้องห้ามไม่ให้มีการสร้างขึ้นมาใหม่โดยเพียงฝ่ายเดียวโดยรัฐธรรมนูญอิตาลี: "มันจะต้องถูกห้ามเพื่อจัดระเบียบใหม่, ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง, พรรคฟาสซิสต์ที่ล่มสลายไปแล้ว"

อ้างอิง

แก้
  1. Benito Mussolini (2006), My Autobiography with The Political and Social Doctrine of Fascism, Mineloa: NY: Dover Publication Inc., p. 227. Note that some authors refer to Mussolini's first political party as "The Revolutionary Fascist Party".
  2. Charles F. Delzell, edit., Mediterranean Fascism 1919-1945, New York, NY, Walker and Company, 1971, p. 26
  3. Joel Krieger, บ.ก. (2012), The Oxford Companion to Comparative Politics, Oxford University Press, p. 120
  4. Aristotle A. Kallis, Fascist ideology: territory and expansionism in Italy and Germany, 1922–1945. London, England, UK; New York City, USA: Routledge, 2000. Pp. 41.
  5. Aristotle A. Kallis. Fascist ideology: territory and expansionism in Italy and Germany, 1922–1945. London, England, UK; New York City, USA: Routledge, 2000. Pp. 50.
  6. Andrew Vincent. Modern Political Ideologies. Third edition. Malden, Massaschussetts, USA; Oxford, England, UK; West Sussex, England, UK: Blackwell Publishers Ltd., 2010. Pp. 160.
  7. John Whittam. Fascist Italy. Manchester, England, UK; New York City, USA: Manchester University Press, 1995. Pp. 160.
  8. Eugen Weber. The Western Tradition: From the Renaissance to the present. Heath, 1972. Pp. 791.
  9. Stanley G.Payne. A History of Fascism, 1914–45. Madison, Wisconsin, USA: University of Wisconsin Press, 1995. Pp. 214.
  10. Claudia Lazzaro, Roger J. Crum. "Forging a Visible Fascist Nation: Strategies for Fusing the Past and Present" by Claudia Lazzaro, Donatello Among The Blackshirts: History And Modernity In The Visual Culture Of Fascist Italy. Ithaca, New York, USA: Cornell University Press, 2005. Pp. 13.