พยัญชนะสุริยันและพยัญชนะจันทรา
ในภาษาอาหรับและภาษามอลตา พยัญชนะจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเรียกว่า พยัญชนะสุริยัน หรือ อักษรสุริยัน (อาหรับ: حروف شمسية ḥurūf shamsiyyah) และอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า พยัญชนะจันทรา หรือ อักษรจันทรา (حروف قمرية ḥurūf qamariyyah) โดยขึ้นอยู่กับว่าเสียงพยัญชนะนั้นกลืนเสียงของอักษร ลาม (ﻝ l) ในคำกำกับนาม อัล (ال al) ที่นำหน้าอยู่หรือไม่[1] ในทางสัทศาสตร์ พยัญชนะสุริยันส่วนใหญ่เป็นพยัญชนะที่มีลักษณ์โคโรนัล (เสียงพยัญชนะที่มีการยกสุดปลายลิ้นหรือปลายลิ้นขึ้นจากตำแหน่งปกติ) ส่วนพยัญชนะจันทราเป็นพยัญชนะประเภทอื่น ๆ
ที่มาของชื่อพยัญชนะทั้งสองมาจากการที่คำว่า الشمس (al-shams) ซึ่งแปลว่า "ดวงอาทิตย์" ออกเสียงว่า อัชชัมส์ โดยมีการกลืนเสียงของอักษร ลาม ในขณะที่คำว่า القمر (al-qamar) ซึ่งแปลว่า "ดวงจันทร์" ออกเสียงว่า อัลเกาะมัร โดยไม่มีการกลืนเสียงของอักษร ลาม
กฎ
แก้ในภาษาอาหรับ เมื่อคำกำกับนาม อัล นำหน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะสุริยัน เสียง /l/ ของคำกำกับนาม อัล จะกลมกลืนเสียงไปกับพยัญชนะตัวนั้น ก่อให้เกิดการซ้ำเสียง ตัวอย่างเช่น คำที่หมายถึง "แม่น้ำไนล์" จะไม่ออกเสียงว่า อัลนีล แต่จะออกเสียงว่า อันนีล และเมื่อคำกำกับนาม อัล นำหน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะจันทรา จะไม่เกิดการกลมกลืนเสียงแต่อย่างใด
พยัญชนะสุริยันและพยัญชนะจันทราเป็นไปตามตาราง ดังนี้:
พยัญชนะสุริยัน | ﺕ | ﺙ | ﺩ | ﺫ | ﺭ | ﺯ | ﺱ | ﺵ | ﺹ | ﺽ | ﻁ | ﻅ | ﻝ | ﻥ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
t | th | d | dh | r | z | s | sh | ṣ | ḍ | ṭ | ẓ | l | n | |
/t/ | /θ/ | /d/ | /ð/ | /r/ | /z/ | /s/ | /ʃ/ | /sˤ/ | /dˤ/ | /tˤ/ | /ðˤ/ | /l/ | /n/ | |
พยัญชนะจันทรา | ء | ﺏ | ﺝ | ﺡ | ﺥ | ﻉ | ﻍ | ﻑ | ﻕ | ﻙ | ﻡ | ﻭ | ﻱ | ه |
ʼ | b | j | ḥ | kh | ʻ | gh | f | q | k | m | w | y | h | |
/ʔ/ | /b/ | /d͡ʒ/ | /ħ/ | /x/ | /ʕ/ | /ɣ/ | /f/ | /q/ | /k/ | /m/ | /w/ | /j/ | /h/ |
ญีม
แก้ในภาษาอาหรับ อักษร ญีม (ج) ออกเสียงต่างกันไปตามภูมิภาค โดยในหลายภูมิภาค อักษรนี้แทนเสียง [d͡ʒ] หรือ [ʒ] ซึ่งเป็นพยัญชนะโคโรนัล อย่างไรก็ตาม ในภาษาอาหรับคลาสสิก อักษรนี้แทนเสียงหยุด เพดานอ่อน ก้อง ลิ้นส่วนหน้าสู่เพดานแข็ง /ɡʲ/ หรือเสียงหยุด เพดานแข็ง ก้อง /ɟ/ (การออกเสียงเป็น [ɡ] หรือ [ɟ] ยังคงปรากฏอยู่ในอียิปต์ ซูดาน และเยเมน/โอมานตอนใต้) ซึ่งไม่ใช่พยัญชนะโคโรนัล จึงถือว่า ญีม เป็นพยัญชนะจันทราตัวหนึ่ง
ในภาษามอลตา อักษร ġ ซึ่งแทนเสียง /d͡ʒ/ ถูกจัดเป็นพยัญชนะจันทราเช่นกัน ในขณะที่อักษร ċ ซึ่งแทนเสียง /t͡ʃ/ (คู่ตรงข้ามเสียงไม่ก้องของ /d͡ʒ/) ถูกจัดเป็นพยัญชนะสุริยัน
อักขรวิธี
แก้ในภาษาเขียนจะยังคงรักษารูปสะกด ال อยู่ไม่ว่าจะออกเสียงอย่างไร เมื่อมีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรแบบเต็ม อาจแสดงการกลมกลืนเสียงด้วยการเติม ชัดดะฮ์ เหนือพยัญชนะที่ตามหลังตัว ลาม และอาจแสดงการไม่กลมกลืนเสียงด้วยการเติม ซุกูน เหนือตัว ลาม
พยัญชนะสุริยัน | พยัญชนะจันทรา | ||||
---|---|---|---|---|---|
الشَّمْس | อัชชัมส์ | 'ดวงอาทิตย์' | الْقَمَر | อัลเกาะมัร | 'ดวงจันทร์' |
الثِّقَة | อัษษิเกาะฮ์ | 'ความมั่นใจ' | الْمُرْجَان | อัลมุรญาน | 'ปะการัง' |
ชื่อภาษาอาหรับส่วนใหญ่ที่เขียนขึ้นในสมัยใหม่ (รวมถึงชื่อบุคคลและชื่อภูมิศาสตร์ภาษาอาหรับ) ไม่เป็นไปตามกฎการกลมกลืนเสียงพยัญชนะหรือเติมชัดดะฮ์เมื่อถอดเป็นอักษรโรมันในภาษาที่เขียนด้วยอักษรโรมัน บางครั้งกฎพยัญชนะสุริยันและพยัญชนะจันทราก็ไม่ใช้ในภาษาปาก
เช่น ชื่อบุคคล الرَّحْمَن ถอดเป็นอักษรโรมันว่า Al-Rahman แทนที่จะเป็น Ar-Raḥmān;
ชื่อภูมิศาสตร์ الْجُمْهُورِيَّةُ التُّونِسِيَّة ถอดเป็นอักษรโรมันว่า Al-Jumhuriyah Al-Tunisiyah แทนที่จะเป็น Al-Jumhūrīyatu ’t-Tūnisīyah
พยัญชนะสุริยัน | พยัญชนะจันทรา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รูปพยัญชนะ | หน่วยเสียง | กลืนเสียงของอักษร ลาม ในคำกำกับนาม อัล ร่วมกับชัดดะฮ์ (الْـّ) |
ตัวอย่าง | รูปพยัญชนะ | หน่วยเสียง | ไม่ กลืนเสียงของอักษร ลาม ในคำกำกับนาม อัล (الْـ) |
ตัวอย่าง | |
ت
t |
/t/ | − التّـ
อัตต... |
التِّينُ
อัตตีน(-ุ) = มะเดื่อ |
ء
ʼ |
/ʔ/ | − الْإـ, الْأـ
อัลอะ.../ อัลอุ...; อัลอิ... |
الْأَخُ
อัลอัค(-ุ) = พี่/น้องชาย الْأُذُنُ อัลอุษุน(-ุ) = หู الْإِبْرِيقُ อัลอิบรีก(-ุ) = เหยือก | |
ث
th |
/θ/ | − الثّـ
อัษษ... |
الثَّعْلَبُ
อัษษะอ์ลับ(-ุ) = สุนัขจิ้งจอก |
ب
b |
/b/ | − الْبـ
อัลบ... |
الْبَيتُ
อัลบัยต์(-ุ) = บ้าน | |
د
d |
/d/ | −الدّ
อัดด... |
الدُّبُّ
อัดดุบบ์(-ุ) = หมี |
ج
j |
/d͡ʒ/ | − الْجـ
อัลญ... |
الْجَوزُ
อัลเญาซ์(-ุ) = วอลนัต | |
ذ
dh |
/ð/ | −الذّ
อัษษ... |
الذَّكَرُ
อัษษะกัร(-ุ) = ผู้ชาย, เพศผู้ |
ح
ḥ |
/ħ/ | − الْحـ
อัลฮั... |
الْحَجُّ
อัลฮัจญ์(-ุ) = พิธีฮัจญ์ | |
ر
r |
/r/ | −الرّ
อัรร... |
الرَّبُّ
อัรร็อบบ์(-ุ) = พระเจ้า (อัลลอฮ์) |
خ
kh |
/x/ | − الْخـ
อัลค... |
الْخَوْخُ
อัลเคาค์(-ุ) = ลูกท้อ | |
ز
z |
/z/ | −الزّ
อัซซ... |
الزَّنْبَقُ
อัซซันบัก(-ุ) = ดอกลิลี |
ع
ʻ |
/ʕ/ | − الْعـ
อัลอะ.../ อัลอุ.../ อัลอิ... |
الْعَقْلُ
อัลอักล์(-ุ) = จิตใจ الْعُشْبُ อัลอุชบ์(-ุ) = หญ้า الْعِيدُ อัลอีด(-ุ) = วันหยุด, เทศกาล | |
س
s |
/s/ | − السّـ
อัสซ... |
السَّمَاوَاتُ
อัสซะมาวาต(-ุ) = สวรรค์, ท้องฟ้า |
غ
gh |
/ɣ/ | − الْغـ
อัลฆ... |
الْغَرَامُ อัลเฆาะรอม(-ุ) = ความรัก, ความอบอุ่น | |
ش
sh |
/ʃ/ | − الشّـ
อัชช... |
الشَّرْقُ อัชชัรก์ (-ุ) = ทิศตะวันออก |
ف
f |
/f/ | − الْفـ
อัลฟ... |
الْفِكْرُ อัลฟิกร์(-ุ) = ความคิด | |
ص
ṣ |
/sˤ/ | − الصّـ
อัศศ... |
الصَّحْرَاءُ อัศเศาะห์รออ์(-ุ) = ทะเลทราย |
ق
q |
/q/ | − الْقـ
อัลก... |
الْقِرْدُ อัลกิรด์(-ุ) = ลิง | |
ض
ḍ |
/dˤ/ | − الضّـ
อัฎฎ... |
الضَّبَابُ อัฎเฎาะบาบ(-ุ) = หมอก |
ك
k |
/k/ | − الْكـ
อัลก... |
الْكَوْكَبُ อัลเกากับ(-ุ) = ดาวเคราะห์ | |
ط
ṭ |
/tˤ/ | − الطّـ
อัฏฏ... |
الطَّاهِرُ อัฏฏอฮิร(-ุ) = ความบริสุทธิ์ |
م
m |
/m/ | − الْمـ
อัลม... |
الْمَتْحَفُ อัลมัตฮัฟ(-ุ) = พิพิธภัณฑ์ | |
ظ
ẓ |
/ðˤ/ | − الظّـ
อัซซ... |
الظُّهْرُ
อัซซุฮร์(-ุ)" = ตอนเที่ยง |
و
w |
/w/ | −الْو
อัลว... |
الْوَفِيُّ อัลวะฟีย์(-ุ)" = ความซื่อสัตย์ | |
ل
l |
/l/ | − اللّـ
อัลล... |
اللَّوْنُ
อัลเลาน์(-ุ)" = สี |
ي
y |
/j/ | − الْيـ
อัลย... |
الْيَانْسُونُ อัลยานซูน(-ุ)" | |
ن
n |
/n/ | − النّـ
อันน... |
النِّسَاءُ อันนิซาอ์(-ุ)" = ผู้หญิง |
ه
h |
/h/ | − الْهـ
อัลฮ... |
الْهَوَاءُ อัลฮะวาอ์(-ุ)" = ลม, จุมพิตแห่งชีวิต |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Abboud, Peter F.; และคณะ (1983). Elementary Modern Standard Arabic 1. Cambridge UP. pp. 123–124. ISBN 0-521-27295-5.