ผู้ใช้:Tadpidchaa/กระบะทราย

ชีค ฮาชินา วะเจด

ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศคนที่ 10 อยู่ในวาระ ก่อนหน้า คาเลดา เซีย

ข้อมูลส่วนบุคคล แก้

เกิด : 28 กันยายน ค.ศ.1947 (70ปี) ศาสนา : มุสลิม ราศี : ราศีตุล พรรคการเมือง : พรรคสันนิบาตอะวามี (AI) บิดา : ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน มารดา : ชีค ฟาซิลลาตุลเนซา มูจิบ คู่สมรส : เอ็มเอ วาเจด มิอาห์ (สมรส พ.ศ. 2510–พ.ศ. 2552) ทายาท :1.ชีค จามาล 2.ชีค ราเซล อาชีพ : นักการเมือง การศึกษา : Azimpur , Government Intermediate College , จบด้านวรรนกรรมเบงกาลี จากมหาวิทยาลัยธากา , Eden Mohila College และ Boston University รางวัลที่ได้รับ: รางวัลอินทิรา คานธี, Glamour Award The Chosen Ones , Mother Teresa Award ลายมือชื่อ :

อาชีพทางการเมืองของ ชีค ฮาชินา วะเจด มีมานานกว่า4ทศวรรษ ก่อนหน้านี้เธอเคยเป็นผู้นำฝ่ายค้านตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2538 ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง 2544 และได้เป็นผู้นำกลุ่มบังคลาเทศสันนิบาตอะวามี (AI) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 และในปี พ.ศ. 2551 เธอกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยชัยชนะอย่างถล่มทลาย ในเดือนมกราคมปี 2014 เธอได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ ชีค ฮาชินา วะเจด เป็นหนึ่งในผู้หญิงที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกอันดับที่ 36 ของ Forbes 'The World's 100 Women ที่มีอำนาจมากที่สุดในปี 2016 ชีค ฮาชินา วะเจด ยังเป็นบุตรสาวคนโตของ ชีค มูจิบู เราะห์มาน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกและยังเป็นผู้ก่อตั้งบังกลาเทศอีกด้วยอีกทั้งยังเป็นสมาชิกสภาสตรีโลกผู้นำเครือข่ายระหว่างประเทศในปัจจุบันและอดีตประธานาธิบดีสตรีและนายกรัฐมนตรีคนที่10ของประเทศบังคลาเทศ

ประวัติ แก้

ชีค ฮาชินา วะเจด เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1947 เป็นชาวราศี ตุล  (ปัจจุบันอายุ70ปี) ที่เมือง ตุงจีปาลา เขตปกครองเบงกอล (ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ) นับถือศาสนามุสลิม บิดาชื่อ นายชีค มูจิบู เราะห์มาน(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกและเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศบังกลาเทศ มารดาชื่อ นางชีค ฟาซิลลาตุลเนซา มูจิบ ชีค ฮาชินา วะเจด(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ฮาชินาเป็นบุตรสาวคนแรกมีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด5คน ได้แก่ ชีค รีฮานา , ชีค คามาล(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ,ชีค จามาล(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว),ชีค ราเซล(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)  สมรสกับนาย เอ็ม เอ วะเจด มิอาห์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวบังคลาเทศผู้มีชื่อเสียง เมื่อปี ค.ศ.1968 และมีบุตรด้วยกัน2คน คือ  Sajeeb Wazed , Saima Wazed ฮาชินาจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยม Azimpur  และจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ Government Intermediate College (ตอนนี้คือ Badrunnesa Government Girls 'College) ฮาชินาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านภาษาเบงกาลี จากมหาวิทยาลัยธากาของบังกลาเทศ ในปี 1973  , Eden Mohila Colleg และสำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ซึ่งในระหว่างที่เธอศึกษาที่มหาวิทยาลัยธากา เธอได้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองหลายประการ โดยได้รับเลือกให้เป็นรองประธานของสหภาพนักศึกษา และเป็นสมาชิกสันนิบาตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธากา <ref>https://sameaf.mfa.go.th/th/important_person/detail.php?ID=4971>

ชีวิตส่วนตัว แก้

ฮาชินา แต่งงานกับดร M. Wazed Miah ในปี 1968 ซึ่งเสียชีวิตเนื่องจากอาการป่วยเป็นเวลานาน ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เธอมีลูกชายหนึ่งคนคือ Sajeeb Wazed Joy และลูกสาวหนึ่งคนคือ Saima Wazed Hossain Putul <ref>https://en.wikipedia.org/wiki/Sheikh_Hasina>

ประวัติทางครอบครัว แก้

ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2541 ระหว่างเกิดสงครามแยกดินแดนปากีสถานตะวันออกกับตะวันตก ปากีสถานตะวันออกได้ประกาศแยกตัวออก และได้ตั้งเอกราชใหม่ ภายใต้ชื่อว่าสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทำให้ปากีสถานตะวันตกไม่เห็นด้วยจึงส่งกองกำลังทหารเข้ามาปราบปราม อินเดียเห็นเช่นนั้นจึงส่งกองกำลังทหารเข้ามาช่วยเหลือปากีสถานตะวันออก ทำให้ปากีสถานตะวันตกผ่ายแพ้ในการรบครั้งนั้นและยอมคืนเอกราชให้แก่สาธารณรัฐบังกลาเทศ และในวันที่ 16 ธันวาคม 2514 ได้ตั้งนาย ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน (หัวหน้าพรรคสันนิบาตอะวามี) เป็นประธานาธิบดีคนแรกและเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศบังกลาเทศ (Father of the Nation) ในวันที่ 15 สิงหาคม 2518 ครอบครัวของนักการเมืองส่วนใหญ่ถูกสังหารในการรัฐประหารรวมถึง นาย มูจิบู เราะห์มาน และภรรยา กับลูกชาย 3 คน ได้ถูกลอบสังหารอย่างเหี้ยมโหด โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่งที่เคยร่วมในสงครามแยกปากีสถานตะวันออกจากปากีสถานตะวันตก แต่ ฮาชินา วะ เจดและน้องสาวรอดมาได้อย่างหวุดหวิด เนื่องจากขณะนั้นเธอและน้องสาวกำลังเดินทางเยือนประเทศเยอรมนีตะวันตกอยู่ทำให้รอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด แต่กลุ่มทหารที่ยึดอำนาจในเวลานั้นได้สั่งห้ามเธอกลับเข้าประเทศ ทำให้ในที่สุดต้องลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษและประเทศอินเดียในเวลาต่อมา <ref>www.apecthai.org/index.php/.../เอเซีย/599-สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ.html> ปี 2524 นางชีค ฮาสินาได้เดินทางกลับประเทศบังกลาเทศ แต่เป็นช่วงที่สถานการณ์การเมืองอยู่ในความรุนแรง เกิดการสังหารนายพลเซียอูล เราะห์มาน ประธานาธิบดีในขณะนั้น และเธอเองก็ถูกจับขังคุกเป็นเวลา 3 เดือนและเมื่อเธอออกจากคุก เธอตัดสินใจก้าวสู่สนามเลือกตั้งอย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรกในปี 2529 <ref>www.apecthai.org/index.php/.../เอเซีย/599-สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ.html>

ประวัติทางการเมือง แก้

ชีค ฮาชินา วะเจด นายกรัฐมนตรีแห่งบังกลาเทศนับเป็นบุคคลที่มีประวัติทางการเมืองที่โชกโชนเป็นอย่างมาก ในปี 2529 ชีค ฮาชินา ได้ลงสู่สนามการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ประธานาธิบดี Ershad แต่ว่าพรรคสันนิบาตอะวามได้รับความพ่ายแพ้ทำให้เธอทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้าน ในปีพ.ศ. 2529-2530 ในปี 2534 ได้มีการจัดการเลือกตั้งแบบเสรีขึ้นเป็นครั้งแรกของบังกลาเทศ หลังจากตกอยู่ภายใต้อำนาจรัฐบาลทหารมาเป็นเวลายาวนาน ผลปรากฏว่าพรรคชาตินิยมบังกลาเทศของนาง คาเลดา เซีย เป็นฝ่ายชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้โดยกวาดที่นั่งในสภาไปถึง 140 ที่นั่ง แต่พรรคสันนิบาตอะวามี (AI) ของนางฮาชินา วะเจด ได้เข้าไปอยู่ในสภาเพียง 88 คนเท่านั้นโดยทำหน้าเป็นฝ่ายค้าน การต่อสู่ทางการเมืองในขณะนั้นเป็นไปอย่างดุเดือด จนทำให้รัฐบาลของนางคาเลดา เซีย ประกาศลาออก ส่งให้ผลให้ต้องจัดการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ ในปี 2539 มีการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่โดยครั้งนี้พรรคสันนิบาตอะวามีก็ได้รับชัยชนะโดยกวาดที่นั่งในสภาไป 146ที่นั่ง ทำให้นางฮาชินา วะเจดได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก เธอประกาศตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ด้วยการร่วมมือกับพรรคเล็กๆและ ส.ส.บางส่วนของพรรคชาตินิยม ซึ่งกลายเป็นการสร้างความขัดแย้งครั้งใหญ่ของพรรคสันนิบาตอวามิกับพรรคชาตินิยม และได้สร้างความขัดแย้งกับอินเดีย ทำให้คะแนนนิยมตกต่ำลงมาก ในปี 2544 มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นอีกครั้ง พรรคสันนิบาตอะวามีได้รับความพ่ายแพ้ไปในครั้งนี้ สาเหตุเกิดจากในปี 2539 นางฮาชินา ได้สร้างความขัดแย้งหลายๆอย่าง ทำให้ประชาชนไม่พอใจ จึงทำให้คะแนนตกต่ำลงมากจึงทำให้พรรคชาตินิยม ของนางคาเลดา เซีย ชนะการเลือกตั้งในครั่งนี้โดยกวาดที่นั่งในสภาไปถึง 193 ที่นั่ง ในปี 2551 ในการเลือกตั้งครั่งนี้พรรคสันนิบาตอะวามีของนาง ฮาชินา วะเจด ก็กลับมาชนะการเลือกตั้งได้อีกครั้งโดยกว่าที่นั่งในสภาไปถึง 2 ใน 3 (230ที่นั่งจาก300ที่นั่ง) ทำให้นางฮาชินา วะเจด ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของบังกลาเทศอีกครั้ง ในปี 2557 เกิดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นอีกครั้ง เต็มไปด้วยเหตุรุนแรง มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 11 คน จากเหตุรุนแรง ก่อนหน้าวันเลือกตั้งมีคนเสียชีวิตไปหลายสิบคนในเหตุปะทะ และครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พรรคสันนิบาตอะวามี ของนางฮาชินา วะเจดได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างทล่มทลาย โดยกวาดที่นั่งในสภาไปถึง 234 ที่นั่ง จาก 300 ที่นั่งซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมาก ขณะที่ พรรคเนชันนัลลิสต์ ปาร์ตี้ หรือ บีเอ็นพี ของ คาลิดา เซีย คู่แข่งของเธอ ซึ่งเคยชนะการเลือกตั้งอย่างทิ้งห่างในปี 2001 สามารถรวบรวมที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้เพียง 27 ที่นั่งเท่านั้น และนางฮาชินา วะเจด ก็ได้ดำรงนายกรัฐมันตรีเป็นสมัยที่3 ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557 นางฮาชินา วะเจด สมาชิกคณะรัฐมนตรีทั้ง 48 คนได้เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง และดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน <ref>http://www.komchadluek.net/news/politic/148230> <ref>https://translate.google.co.th/translate?hl=th&sl=en&u=https://en.wikipedia.org/wiki/Politics_of_Bangladesh&prev=search> <ref>http://www.ptp.or.th/news/15> <ref>www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9510000153275>


รางวัลและความสำเร็จ แก้

ในปีพ. ศ. 2540 เธอได้ใกล้ชิดกับสมเด็จพระราชินีแห่งสเปนและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งอย่างฮิลลารี คลินตันเธอได้รับเชิญให้ร่วมเป็นประธานการประชุมสุดยอดด้านเครดิตเล็ก ๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นขบวนการสำคัญ ๆ ด้านมนุษยธรรม ในปีพ. ศ. 2541 เธอได้รับรางวัล 'Mother Teresa Award' จาก 'All India Peace Council' เธอได้รับรางวัลสำหรับความพยายามสันติภาพของเธอที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าของประเทศบังคลาเทศและความพยายามของเธอที่จะห้ามการใช้ทุ่นระเบิดต่อต้านการบุกรุกซึ่งเป็นประเทศแรกในเอเชียใต้ที่จะย้ายถิ่นฐานนี้ ในปีพ. ศ. 2541 เธอยังได้รับรางวัล 'MK Gandhi Award' จากมูลนิธิมหาตมะคานธีของนอร์เวย์อีกด้วย เธอได้รับเกียรติในการมีส่วนร่วมที่สำคัญในการส่งเสริมความเข้าใจและประชาธิปไตยอันสงบในบักลาเทศ<ref>https://translate.google.co.th/translate?hl=th&sl=en&u=http://www.thefamouspeople.com/profiles/sheikh-hasina-5680.php&prev=search>