แบล็คเบอร์รี่ (บีบี) กับ สิทธิความเป็นส่วนตัว แก้

ในปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้คงจะหนีไม่พ้นแบล็คเบอร์รี่ จาก RIM ค่ายมือถือจาก แคนนาดา และ ไอโพน(iphone) จาก apple ที่มี สตีฟ จอบส์ เป็น CEO ซึ่งโทรศัพท์มือถือทั้งสองค่ายนี้มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และความเป็นที่นิยมติดตลาดนี้เอง ในส่วนของ แบล็คเบอร์รี่ (BlackBerry) ที่มีฟังชันที่เป็นจุดเด่นที่สามารถ รับส่งข้อความได้เฉพาะโทรศัพท์ แบล็กเบอรรี่ เท่านั้น(Blackberry Messenger) กลับกลายเป็นจุดอ่อน ทำให้หลายๆประเทศต่อต้านขึ้นมา โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันออกกลาง พากันออกมาห้ามไม่ให้มีการสื่อสารผ่านทางเครื่อข่าย Blackberry Messengerนี้
สิทธิหมายถึงอำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองให้ เช่น หากเรามีสิทธิในการซื้อสินค้าจากตลาดเมื่อชำระเงินให้แม่ค้า หากได้ชำระเงินแล้ว ผู้ใดจะบังคับมิให้เราซื้อได้ไม่ หากบังคับ กฎหมายย่อมคุ้มครอง การได้รับสิทธิตามกฎหมายนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นๆ

ในทางนิติศาสตร์และกฎหมาย, สิทธิ หมายถึง สิทธิตามกฎหมายหรือศีลธรรม ที่จะทำหรือไม่ทำบางอย่าง หรือที่จะได้รับหรือไม่ได้รับบางอย่างในสังคมอารยะ (civil society) สิทธิทำหน้าที่เหมือนกฎในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

สิทธิส่วนบุคคล แก้

  • คำว่า "สิทธิส่วนบุคคล" หมายถึงสิทธิของบุคคลที่ประกอบไปด้วย สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ในเรื่องดังกล่าวน่าจะจัดอยู่ในเรื่องของความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งหมายความว่า สถานะที่บุคคลจะรอดพ้นจากการสังเกต การรู้เห็น การสืบความลับ การรบกวนต่างๆ และความมีสันโดษไม่ติดต่อสัมพันธ์กับสังคม โดยทั้งนี้ ขอบเขตที่บุคคลควรได้รับการคุ้มครองและการเคารพในสิทธิส่วนบุคคลก็คือการดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระ มีการพัฒนาบุคลิกลักษณะตามที่ต้องการ สิทธิที่จะแสวงหาความสุขในชีวิตตามวิถีทางที่อาจเป็นไปได้และเป็นความพอใจตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น[1]
  • คำว่า "เสรีภาพในการสื่อสาร" หมายถึงเงื่อนไขของบุคคลที่จะสื่อสารโดยไม่ขึ้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นอำนาจหรือมีอำนาจที่จะสื่อสารหรือไม่สื่อสารก็ได้ ในเรื่องดังกล่าวก็น่าจะรวมอยู่ในความหมายของเสรีภาพในการสื่อสารด้วยเช่นกัน การสื่อสารโดยผ่านเครือข่ายในรูปแบบต่างๆ รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเข้าไปขัดขวาง ไปตรวจ ไปกัก ไปเผยแพร่ หรือไปดักฟังไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมายให้ทำได้เพื่อรักษาความมั่นคง เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

ความขัดแย้งในประเทศไทย แก้

ในมุมมองของไทยไม่ได้มองว่าบีบีมีความละเอียดอ่อนต่อความมั่นคงของประเทศ เพราะข้อมูลที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ของบีบี เป็นเพียงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าเท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยไม่มีหน่วยงานใดใช้บีบีในการติดต่อสื่อสารกัน เหมือนกับประเทศที่ออกมาให้เรียกร้องก่อนหน้านี้ที่ต้องใช้บีบีในการสื่อสาร ซึ่งไทยมีช่องทางในการสื่อสารที่หลากหลาย” ความขัดแย้งเรื่อง Blackberry เน้นย้ำให้เห็นถึงประเด็นเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวในโลกดิจิตัล

ตัวอย่างข่าวเกี่ยวกับผลกระทบ แก้

โปรแกรมส่งข้อความแชท ถึงกันซึ่งอาจทำให้เกิดการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เผยล่าสุดมีผู้ซื้อซองประมูล 3G อีก 3 ราย

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. เปิดเผยว่า กทช.เตรียมหารือกระทรวงไอซีที ถึงผลกระทบการใช้โทรศัพท์ BlackBerry ที่มีโปรแกรมส่งข้อความและแชทหากัน ซึ่งมีผลให้เกิดการกระทำผิด พ.ร.บ.ความผิดด้านคอมพิวเตอร์ ปี 2551 เนื่องจากการส่งข้อความและการแชทข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บในเซิร์ฟเวอร์ ของบริษัท BlackBerry ในต่างประเทศ ซึ่งหากเกิดการกระทำผิดในประเทศ ก็จะมีการตรวจสอบได้ยาก โดยก่อนหน้านี้มีหลายประเทศมีการระงับใช้ โทรศัพท์ BlackBerry อาทิ ประเทศซาอุดิอาระเบีย อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ดูไบ เป็นต้น

จ่อเลิกใช้ “บีบี” ในไทย “กทช.”ถาม “ไอซีที” กรณีแบล็คเบอร์รี่มีระบบจัดส่งข้อมูลอัตโนมัติ หวั่นผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 18 ส.ค. พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด)ว่า กรณีที่องค์กรกำกับกิจการโทรคมนาคมของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี ระงับการให้บริการ รับส่งข้อความ และการเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านเครื่องแบล็คเบอร์รี่ (บีบี) ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.53 โดยครอบคลุมนักท่องเที่ยว และนักธุรกิจที่เดินทางเข้าประเทศ โดยยูเออี ระบุว่า แบล็คเบอร์รี่ให้บริการเกินขอบเขตกฎหมายของประเทศ จนก่อให้เกิดความกังวลด้านสังคมและความมั่นคง โดยเฉพาะเรื่องการจัดเก็บข้อมูลที่แบล็คเบอร์รี่มีระบบจัดส่งข้อมูลอัตโนมัติจากผู้ใช้ไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศ หากมีการทำผิดกฎหมายจะส่งผลให้ทางการยูเออีไม่สามารถเอาผิดได้ ตนจึงนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุม

บอร์ด กทช.กล่าวต่อว่า จากการที่แบล็คเบอร์รี่มีระบบจัดส่งข้อมูลอัตโนมัติจากผู้ใช้ ไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถจัดการข้อมูลได้เมื่อต้องการใช้ข้อมูล และมีความกังวลใจว่าข้อมูลที่ส่งถึงกันระหว่างผู้ใช้งานจะเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือไม่ ในส่วนของการเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ 90 วัน (ล็อกไฟล์) ซึ่งต้องสอบถามไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้ดูแลและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยที่บอร์ด กทช. มีมติให้ทำหนังสือสอบถามให้เร็วที่สุด
หลายประเทศกังวลถึงเทคโนโลยีการเข้ารหัสของโทรศัพท์มือถือ Blackberry ว่าอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย ในกรณีที่ผู้ก่อการร้ายใช้เทคโนโลยีการรับส่งข้อความและอีเมลล์ผ่าน Blackberry โดยไม่มีการตรวจสอบ พร้อมเตือนว่าอาจมีการระงับบริการรับส่งอีเมลล์และข้อความผ่าน Blackberry Messenger
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ประเทศที่มีการเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้งานโปรแกรมบีบี ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย ซาอุดิอาราเบีย สำหรับเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท รีเสิร์ช อินโมชั่น จำกัด หรือริม ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนแบล็คเบอร์รี่ ตั้งอยู่ที่ประเทศแคนาดา อย่างไรก็ตามช่วงที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกาศไม่ให้ใช้โปรแกรมแชทของแบล็คเบอร์รี่ “ริม” ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า ริมเคารพต่อกฎหมายของแต่ละประเทศ ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นหลัก โดยยืนยันว่าข้อมูลขององค์กรธุรกิจที่รับส่งผ่านระบบแบล็คเบอร์รี่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีใครสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แม้แต่พนักงานของริม เพราะแบล็คเบอร์รี่ใช้โซลูชั่น แบล็คเบอร์รี่ เอนเตอร์ไพรส์ ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและเป็นจุดขายของแบล็คเบอร์รี่ในการทำตลาดภาครัฐและลูกค้าธุรกิจ
รัฐบาลซาอุดิอาระเบียและรัฐบาลสหอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออี กำลังขอให้บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์ Blackberry ในแคนาดาอนุญาตให้มีการตรวจสอบข้อความและอีเมลล์ที่ส่งผ่าน Blackberry ในขณะที่อินเดียก็เตือนว่าอาจมีการระงับบริการรับส่งอีเมลล์และข้อความผ่าน Blackberry เช่นกัน

ซาอุดิอาระเบียและสหอาหรับเอมิเรตส์เรียกร้องให้บริษัท Research in Motion หรือ RIM ในแคนาดา ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ Blackberry ยินยอมให้มีการตรวจสอบอีเมลล์และข้อความที่ผ่านระบบ Blackberry Messenger หรือ BBM ซึ่งเป็นระบบรับส่งข้อความสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ Blackberry ซึ่งว่ากันว่ามีความปลอดภัยสูง และเป็นจุดขายของ Blackberry ไม่เช่นนั้นทั้งสองประเทศอาจมีคำสั่งระงับบริการดังกล่าวของ Blackberry เนื่องจากกังวลเรื่องผลกระทบด้านความมั่นคง คุณ Ben Wood นักวิเคราะห์แห่งบริษัทเทคโนโลยี CCS Insight กล่าวว่า ความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่าน BBM ถือเป็นจุดแข็งทางการตลาดของ Blackberry แต่อีกด้านหนึ่ง Blackberry ก็ไม่ต้องการได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่ หากรัฐบาลของซาอุดิอาระเบียและยูเออีระงับบริการรับส่งข้อความขึ้นมาจริงๆ เรียกว่า ไม่ว่าด้านไหนก็ไม่มีผลดีต่อบริษัท RIM เลย ในขณะเดียวกัน ทางอินเดียและอินโดนีเซียก็เตือนว่าอาจมีการระงับบริการรับส่งอีเมลล์และข้อความผ่าน Blackberry เช่นกัน เพราะกังวลเรื่องความมั่นคงระดับชาติและปัญหาการคุกคามของผู้ก่อการร้าย โดยอินเดียขอให้บริษัท RIM ยินยอมให้มีการตรวจสอบข้อความและอีเมลล์ของ Blackberry ก่อนสิ้นเดือนนี้ อินเดียเผชิญกับการโจมตีโดยผู้ก่อการร้ายหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งเหตุการณ์โจมตีที่นครมุมไบเมื่อ2 ปีก่อนซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 165 คน โดยในครั้งนั้น เชื่อว่าผู้ก่อการร้ายได้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างระบบระบุตำแหน่งหรือ GPS และโทรศัพท์ระบบดาวเทียมเข้าช่วยในการปฏิบัติงาน นาวาอากาศโท Ajey Lele แห่งสถาบันการวิเคราะห์และการป้องกันตนเองในกรุงนิวเดลลีระบุว่า ปัจจุบันกลุ่มก่อการร้ายได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆและอุปกรณ์ทันสมัยเข้าช่วยในการปฏิบัติงาน และโทรศัพท์มือถือ Blackberry ก็เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่อาจนำมาใช้ได้เช่นกัน รายงานข่าวในอินเดียชี้ว่า รัฐบาลกำลังพิจารณามาตรการระงับการรับส่งอีเมลล์และข้อความผ่านระบบของ Blackberry ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ Blackberry จะสามารถโทรเข้าออกและเข้าอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น แต่ใช้งาน BBM ไม่ได้ ซึ่งนั่นอาจส่งผลให้ผู้ใช้จำนวนมากเปลี่ยนไปใช้โทรศัพท์คู่แข่งอย่าง iPhone หรือ Nokia อีกด้านหนึ่ง รายงานระบุว่าบริษัท RIM ผู้ผลิต Blackberry ได้บรรลุข้อตกลงให้รัฐบาลซาอุดิอาระเบียสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อความที่ส่งผ่าน Blackberry Messenger ได้แล้ว ส่วนรัฐบาลสหอาหรับเอมิเรตส์ได้ให้เวลา RIM พิจารณาเรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 11 ตุลาคม อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเช่นคุณ Leslie Harris แห่งศูนย์เพื่อประชาธิปไตยและเทคโนโลยีในกรุงวอชิงตัน ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การอนุญาตให้ตรวจสอบข้อมูลหรือข้อความส่วนตัวได้นั้น หมายความว่าอาจเกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค เพราะไม่ใช่แค่รัฐบาลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แต่สำหรับผู้ที่กำลังต่อสู้ในศาล เช่น ฟ้องหย่าหรือขอสิทธิการเลี้ยงดูบุตร ก็อาจเป็นเสมือนการเปิดเผยข้อมูลสำคัญของตัวเองได้เช่นกัน นักวิเคราะห์ผู้นี้เชื่อว่าประเด็นเรื่องโทรศัพท์มือถือ Blackberry นี้ เป็นเรื่องที่ควรหยิบยกมาหารือ เพื่อเตือนให้ประชาชนทบทวนถึงข้อมูลที่จะเปิดเผยทั้งทางโทรศัพท์และทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งกระตุ้นให้รัฐบาลมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเพื่อปกป้องผู้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านั้น[2]

อ้างอิง แก้

  1. สิทธิส่วนบุคคล[1]
  2. ไทยโฮมเพจ, ความขัดแย้งเรื่อง Blackberry เน้นย้ำให้เห็นถึงประเด็นเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวในโลกดิจิตัล [2]