ผู้ใช้:Northernwind88/ทดลองเขียน

พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน พิมพ์รวมเล่มครั้งที่ 17/2550

พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน เป็นหนังสือย่อความพระไตรปิฎกภาษาไทย ซึ่งย่อความมาจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีทั้งหมด 45 เล่ม โดยมี สุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นผู้จัดทำ ตีพิมพ์จำหน่ายโดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในราคาเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนมีการตีพิมพ์แยกเป็นสองฉบับ ได้แก่:-

  • ฉบับแยกเป็น 5 เล่มจบ จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2502 และครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นครั้งสุดท้าย
  • ฉบับรวมเป็นเล่มเดียวจบ จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 (จำนวน 1,100 เล่ม) และมีการตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่มเดียวจบสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน.

วัตถุประสงค์ในการจัดทำ[1] แก้

ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในคำชี้แจงประจำเล่มที่ 1 ในการจัดพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2501 ว่า:-

"การจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนขึ้นนี้ เนื่องมาจากความปรารถนาที่จะได้เห็นพี่น้องพุทธศาสนิกชนชาวไทยได้อ่านพระไตรปิฎกจบ โดยได้ประโยชน์ในขณะเดียวกัน 4 ประการ คือ :-

  1. รู้ความหมาย และความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกตั้งแต่ต้นจนได้พิมพ์ขึ้นเป็นอักษรไทย พร้อมทั้งวิธีการจัดหมวดหมู่ในพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน.
  2. รู้เรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งได้เลือกนำมาแปลไว้เป็นตอน ๆ เพื่อให้เห็นแนวคำสอนทางพระพุทธศาสนาทั้งสามปิฎก.
  3. รู้ความย่อในพระไตรปิฎกแต่ละเล่ม ทั้งหมด 45 เล่ม เป็นการย่อที่พยายามให้ได้สาระสำคัญ.
  4. ได้อ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์ของไทย เพื่อทราบความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกในประไทย เป็นเอกสารซึ่งรวบรวมไว้เพื่อให้ค้นได้สะดวก ไม่กระจัดกระจาย."

ผู้เขียนยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า

"เหตุผลที่ตั้งชื่อว่าพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ก็ด้วยต้องการทำงานชิ้นนี้ให้เป็นสมบัติสำหรับประชาชนมากที่สุด เพราะพระไตรปิฎกนั้น มีข้อความพิสดารมาก มีถึง 45 เล่มขนาดใหญ่ แม้แต่ผู้รู้ภาษาบาลีเองก็หาตัวผู้อ่านจบได้ยาก ถ้าใช้วิธีย่อความให้ได้สาระสำคัญไว้ให้ครบทุกเล่ม ก็จะเหมือนได้อ่านเองจบเล่มใหญ่ แล้วตัดลัดเก็บใจความที่สำคัญไว้ได้.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน นี้ ไม่ได้มุ่งเพียงทำให่ง่ายให้สะดวกสำหรับประชาชนเท่านั้น ยังปรารถนาจะนำประชาชนให้มีความรู้เข้าหาพระไตรปิฎกอีกประการหนึ่งด้วย คือถ้าเป็นท้องนิทาน เป็นเรื่องเล่า จะพยายามทำให้เข้าใจง่าย แต่ถ้าเป็นหลักวิชา ก็จะคงรูปศัพท์ให้เห็นแล้วแปลไว้ หรือทำคำอธิบายกำกับไว้ในวงเล็บ หรือในเชิงอรรถด้านล่างของหน้ากระดาษ. สำนวนทางศาสนาบางคำก็จะคงไว้บ้าง เป็นการจูงประชาชนให้คุ้นกับศัพท์ หรือสำนวนทางศาสนาพอสมควร."

สารบัญ[2] แก้

ภาค 1 ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก (หน้า 1-24)

ภาค 2 ว่าด้วยเอกสารทางประวัติศาสตร์ (หน้า 29-42)

ภาค 3 ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก (หน้า 48-136)

ภาค 4 ความย่อแห่งพระไตรปิฎก (หน้า 138-777)

ภาค 5 ว่าด้วยบันทึกทางวิชาการ (หน้า 779-786)

สารบัญค้นคำ (หน้า 788-820)

แผนภูมิพระไตรปิฎกในรูปของสารบัญ[3] แก้

พระวินัยปิฎก (หน้า 138-288) แก้

  • มหาวิภังค์ (ว่าด้วยข้อห้ามหรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของภิกษุ) หน้า 138-184
  • ภิกขุนีวิภังค์ (ว่าด้วยข้อห้ามหรือวินัยของนางภิกษุณี) หน้า 184-211
  • มหาวัคค์ (ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรกและพิธีกรรมทางพระวินัย) หน้า 211-248
  • จุลลวัคค์ (ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย และความเป็นมาของนางภิกษุณีและประวัติการทำสังคายนา) หน้า 248-284
  • บริวาร (ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย) หน้า 285-288

พระสุตตันตปิฎก (หน้า 288-646) แก้

  • ทีฆนิกาย (ว่าด้วยพระสูตรหรือพระธรรมเทศนา ขนาดยาว) หน้า 288-367
  • มัชฌิมนิกาย (ว่าด้วยพระสูตรหรือพระธรรมเทศนา ขนาดกลาง ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป) หน้า 368-484
  • สังยุตตนิกาย (ว่าด้วยพระสูตรหรือพระธรรมเทศนาอันประมวลธรรมะหรือเรื่องราวไว้เป็นพวกๆ เช่น ว่าด้วยพระมหากัสสป เรียก กัสสปสังยุต ว่าด้วยเหตุการณ์ในแคว้นโกศล เรียกโกสลสังยุต ว่าด้วยมรรค [ข้อปฏิบัติ] เรียกมัคคสังยุต) หน้า 485-490
  • อังคุตตรนิกาย (ว่าด้วยพระสูตรหรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด 1, ธรรมะหมวด 2, ธรรมะหมวด 3 แต่ละข้อก็มีจำนวน 1, 2 หรือ 3 ตามหมวดนั้น) หน้า 490-595
  • ขุททกนิกาย ((ว่าด้วยพระสูตรหรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่างๆ และชาดก) หน้า 596-646

พระอภิธรรมปิฎก (หน้า 646-777) แก้

  • ่ธัมมสังคณี (ว่าด้วยธรรมะรวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม) หน้า 464-669
  • วิภังค์ (ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อๆ) หน้า 670-677
  • ธาตุกถา (ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสัมพันธ์โดยถือธาตุเป็นหลัก) หน้า 678-681
  • ปุคคลบัญญัติ (ว่า่ด้วยบัญญัติ 6 ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติ อันเกี่ยวกับบุคคล) หน้า 681-684
  • กถาวัตถุ (ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรมประมาณ 219 หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม) หน้า 684-749
  • ยมก (ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ๆ) หน้า 750-759
  • ปัฏฐาน (ว่าด้วยปัจจัยคือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน 24 อย่าง) หน้า 759-768

อ้างอิง แก้

  1. ปุญญานุภาพ, สุชีพ. “คำชี้แจงประจำเล่มที่ 1 ในการจัดพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2501.” พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, เขตพระนคร, กรุงเทพมหานคร, ฉบับรวมเป็นเล่มเดียวจบ พิมพ์ครั้งที่ 17/2550, p. (4)-(5).
  2. ปุญญานุภาพ, สุชีพ. “สารบาญ.” พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, เขตพระนคร, กรุงเทพมหานคร, ฉบับรวมเป็นเล่มเดียวจบ พิมพ์ครั้งที่ 17/2550, น. (7)-(48).
  3. ปุญญานุภาพ, สุชีพ. “แผนภูมิพระไตรปิฎกในรูปสารบาญ.” พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, เขตพระนคร, กรุงเทพมหานคร, ฉบับรวมเป็นเล่มเดียวจบ พิมพ์ครั้งที่ 17/2550, น. (6).