สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (อังกฤษ: Learning Institute, King Mongkut's University of Technology Thonburi) ชื่อย่อ LI

ประวัติความเป็นมา

แก้

แนวคิดในการจัดตั้งสถาบันแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Institute มีชื่อย่อคือ LI เกิดจากเหตุผล 2 ประการ คือ

1. เพื่อสนองตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ที่ได้ให้ความสำคัญกับการมุ่งพัฒนาคนให้สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้ง ด้านจิตใจ ร่างกาย ปัญญาและสังคม สามารถพึ่งตนเอง ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อม)

2.เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในทางวิชาการทางด้านการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเรียน การสอนในมหาวิทยาลัย ตลอดจนเสริมปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำท้องถิ่นและบริการทางวิชาการต่อสังคม

ในปี 2542 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ประกาศวิสัยทัศน์ 5 มุ่งของมหาวิทยาลัย โดยประเด็นการเรียนรู้เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ดังกล่าวและได้ถอดวิสัยทัศน์ออกมาเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Flagship) 6+1 ด้าน ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายกลยุทธ์คือ การการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อันนำมาสู่โครงการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและบรรจุไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฯฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) มีวัตถุประสงค์เป็นหน่วยงานสำหรับสนับสนุนด้านกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิด และปรับเปลี่ยน มจธ. ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ ทั้งด้านการเรียนรู้ด้วยตนเองและด้านทักษะความคิด รวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของ มจธ. ไปสู่การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โครงการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้เริ่มดำเนินงานและจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนรู้มาตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2544 และในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 63 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 มีมติอนุมัติโครงการ จัดตั้งสถาบันการเรียนรู้โดยให้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันการเรียนรู้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากที่สถาบันการเรียนรู้ได้ดำเนินงานมาแล้วระยะหนึ่ง จึงเสนอขอปรับโครงสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับ เป้าหมายและภารกิจของหน่วยงาน โดยที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 110 วันที่ 11 เมษายน 2551 มีมติ อนุมัติปรับโครงสร้างสถาบันการเรียนรู้ โดยโครงสร้างใหม่จะประกอบด้วย 3 หน่วย คือ

1. หน่วยวิจัยและนวัตกรรม การเรียนรู้

2. หน่วยฝึกอบรมการเรียนรู้

3. หน่วยทดสอบและโครงการนำร่อง

ในวันที่ วันที่ 10 มิถุนายน 2552 ได้ย้ายสำนักงานอำนวยการจากตึกสำนักงานอธิการบดีมาที่ อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ ในชั้นที่ 11-14 โดยสำนักงานผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ตั้งอยู่ชั้นที่ 11 และชั้นที่ 12-13 เป็นที่ตั้งของสำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ (วมว.) และสำนักงานการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (GEO) ส่วนชั้นที่ 14 ได้จัดทำเป็นห้องเรียนของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)

ปัจจุบันสำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคาร สรบ. มจธ.บางขุนเทียนและสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามได้สร้างอาคารเรียนเรียบร้อยจึงได้ส่งคืนพื้นที่แก่สถาบันการเรียนรู้และโรงเรียนดรุณสิขาลัย จึงจัดสรรพื้นที่ใหม่โดยชั้นที่ 13 เป็นที่ตั้งสำนักงานผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้และสำนักงานการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (GEO) ส่วนชั้น 14 เป็นที่ตั้งของศูนย์เสริมสร้างการเรียนรู้และการสอน (CELT : Center for Effective Learning and Teaching) ในวันที่ 1 มิถุนายน 2560

วิสัยทัศน์

แก้

เป็นหน่วยยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน มจธ. สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

พันธกิจ

แก้
  • ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้เป็นกำลังหลักในการพัฒนาและยกระดับประเทศ
  • เพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักการ OBE (Outcome Based Education) และ Education as a service
  • ส่งเสริม และพัฒนาสมรรถนะการเรียนการสอนของอาจารย์และผู้สนับสนุนการเรียนรู้
  • พัฒนางานวิจัย บริการวิชาการ และนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและการจัดการเรียนรู้

ที่ตั้ง

แก้

อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ มูลนิธิไทยคม ชั้น 13-14 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10140