ผู้ใช้:นายสามเหลี่ยม/หน้าทดลอง

ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ แก้

ในปัจจุบันตั้งอยู่ ณ เลขที่ 167 ถนนตลาดใหม่ ตําบลบ้านหมี่ อําเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110 แก้

 
ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ ในปัจจุบันตั้งอยู่ ณ เลขที่ 167 ถนนตลาดใหม่ ตําบล บ้าน หมี่ อําเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110https://goo.gl/maps/Mk3tL9QUmW57NyAx6

ประวัติ ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่

อําเภอบ้านหมี่นั้น แต่เดิมมีชื่อเรียกขานสองนามด้วยกันคือ อําเภอบ้านเซ่า และ อําเภอ สนามแจง ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวบ้านในสมัยนั้นใช้เรียกกันตามอัธยาศัย

ที่อําเภอบ้านหมี่ ซึ่งเป็นอําเภอเก่าแก่อําเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี แต่เดิมชื่อว่าเมือง ละโว้ และเคยเป็น เมืองหลวงของประเทศไทย ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งในครั้ง กระนั้น มีชาวจีน โพ้นทะเลอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาพํานักอาศัยกระจายอยู่ทั่วแผ่นดินไทย ซึ่งจังหวัดลพบุรี ก็เป็นอีก จังหวัดหนึ่ง ที่มีชาวจีนโพ้นทะเลเข้ามาพํานักอาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก และอําเภอ บ้านหมี่ที่ได้ชื่อ ว่าเป็นอําเภอชั้นเอกของจังหวัดลพบุรีนั้น ก็มีชาวจีนโพ้นทะเลเข้ามาพักอาศัยประกอบ อาชีพร่วมกับ ชาวไทยพวนได้อย่างผสมกลมกลืนแนบสนิท จึงทําให้อําเภอบ้านหมี่มีศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ หลายศาลเจ้า เพื่อให้ชาวไทยเชื้อสายจีน ตลอดจนชาวไทยพวน ได้มาเคารพกราบไหว้ขอพรเจ้าพ่อเจ้าแม่ในทุกศาลเจ้า ตามจารีตประเพณีจีนสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านานศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ หากจะสืบประวัติย้อนหลังไปในอดีต เมื่อครั้งที่ อําแดงสวย แซ่ซิ้ม ได้จัดสร้างศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ ที่บ้านปากดง ในครั้งกระนั้นชาวบ้านจึงได้เรียกชื่อว่า “เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากดง” โดยมีบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากดงอยู่ที่ บ้านปากดง ตําบลมหาศร อําเภอ บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ริมฝั่งทิศเหนือตอนปลายลําน้ำบางขาม ซึ่งเป็นลําน้ําน้อย สาขาของแม่น้ําเจ้าพระยา ห่างจากวัดห้วยแก้วไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร

ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ หากจะสืบประวัติย้อนหลังไปในอดีต เมื่อครั้งที่ อําแดงสวย แซ่ซิ้ม ได้จัดสร้างศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ ที่บ้านปากดง ในครั้งกระนั้นชาวบ้านจึงได้เรียกชื่อว่า “เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากดง” โดยมีบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากดงอยู่ที่ บ้านปากดง ตําบลมหาศร อําเภอ บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ริมฝั่งทิศเหนือตอนปลายลําน้ำบางขาม ซึ่งเป็นลําน้ําน้อย สาขาของแม่น้ําเจ้าพระยา ห่างจากวัดห้วยแก้วไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร

ในสมัยโบราณ ตําบลต่างๆในอําเภอบ้านหมี่ ส่วนใหญ่แล้วจะตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ํา ที่ประกอบด้วยแม่น้ําสายหลัก และ แม่น้ำสาขาย่อย ทําให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพวนในเขต อําเภอบ้านหมี่ ใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการเดินทาง เพื่อติดต่อค้าขายระหว่างกัน ต่อมา เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ตัดเส้นทางรถไฟผ่านอําเภอบ้านหมี่ จึงมีการเปลี่ยนชื่อจากอําเภอสนามแจง มาเป็น อําเภอบ้านหมี่ ในสมัยนายประมุข (บัวเฮง) ปิยะสุวรรณ์ เป็นนายอําเภอบ้านหมี่ ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นเองก็ได้มีการสร้างตลาดบ้านหมี่ขี้นทางฝั่งทิศตะวันออกของทางรถไฟ และในเวลาต่อมา อําแดงสวย แซ่ซิ้ม ก็ได้สร้างตลาดขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่ง (ตลาดใหม่) ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟบ้านหมี่

 

อย่างไรก็ตามมีหลักฐานตามคําบอกเล่าว่า อําแดงสวย แซ่ซิ้ม ได้โอนขายตลาดใหม่ บ้านหมี่ให้ คุณปู่เมี่ยงเทียม และคุณย่าเกียว แซ่เตีย พร้อมท้ังได้อัญเชิญ “เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากดง” มา ประทับที่ศาลเจ้า ซึ่งตั้งอยู่ริมสระใหญ่ โดยอยู่ห่างจากถนนประมาณ 100 เมตร บริเวณตลาดใหม่บ้านหมี่ เมื่อเวลาผ่านไป ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากดงตลาดใหม่ จึงมีสภาพทรุดโทรมลงมากตามกาล เวลา เถ้าแก่ซ้ง (เจ้าของ ร้านจําหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้าง) ได้ปรึกษาหารือกับ เถ้าแก่เป้ง (คุณพ่อประสงค์ ศิริวรรณ) ในฐานะที่ทั้ง สองท่านเป็นผู้มีอาวุโสชาวจีนพํานักที่ตลาดใหม่มาหลายชั่วอายุ เมื่อทั้งสองได้ พิจารณาร่วมกันแล้วจึง มีความเห็นว่า สมควรที่จะย้ายศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากดง มาตั้งอยู่ในสถานที่แห่งใหม่ซึ่งเป็นบริเวณเขตรถไฟ ในเขตเทศบาล มุมถนนตลาดใหม่ โดยตัวศาลเจ้าหันหน้าขนานไปกับเส้น ทางรถไฟที่ผ่านสถานี รถไฟบ้านหมี่ (ด้านทิศตะวันออก) ซึ่งบริเวณดังกล่าวนี้มีสภาพเหมาะสมกว่าสถานที่เดิม เพื่อให้ผู้ที่ เคารพนับถือเจ้าพ่อเจ้าแม่ตามประเพณีจีน สามารถเดินทางมากราบไหว้ได้โดย สะดวกมากยิ่งขึ้น ประชาชนชาวบ้านหม่จึงต่างพากันเรียกขานศาลเจ้าแห่งใหม่นี้ในนาม “ศาลเจ้าพ่อเจ้า แม่ตลาด ใหม่บ้านหมี่” นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อเทศบาลเมืองบ้านหมี่ได้มีการขยายถนนย่านตลาดใหม่ บริเวณที่ตัดผ่านไปยังหมวด ศิลา ทําให้มีความจําเป็นจะต้องรื้อถอนศาลเจ้าเดิม และได้สร้างขึ้นเป็นศาลเจ้าชั่วคราวขนาดเล็ก โดย ผนัง และหลังคากรุด้วยสังกะสี ด้วยมีเจตนาว่า สักวันหนึ่งจะมีผู้ใจบุญได้ร่วมกันก่อสร้าง ศาลเจ้าพ่อเจ้า แม่ตลาดใหม่บ้านหมี่เป็นการถาวร ให้มีความงามสง่าตามจารีตประเพณีของชาวจีนโบราณ ที่สามารถตั้งอยู่ในสถานที่ ที่เหมาะสมกว่าที่ดินในบริเวณของการรถไฟแห่งประเทศไทย ท้ังนี้ เนื่องจากที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณที่ตั้งเป็นศาลเจ้าชั่วคราวน้ัน ตามระเบียบของการรถไฟฯแล้ว จะไม่อนุญาตให้ทําการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอันเป็นการถาวรใดๆได้ ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ ที่ เป็นศาลเจ้าชั่วคราว ก็ต้องตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงเป็นผลทําให้ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ ที่เป็นศาลเจ้าชั่วคราว ไม่สามารถที่จะพัฒนาปรับปรุง หรือ บูรณะให้อยู่ ในสภาพที่เป็นศาลเจ้าอย่างถูกต้องตามจารีตประเพณีจีนได้แต่อย่างใด

เมื่อเทศบาลเมืองบ้านหมี่ได้มีการขยายถนนย่านตลาดใหม่ บริเวณที่ตัดผ่านไปยังหมวด ศิลา ทําให้มีความจําเป็นจะต้องรื้อถอนศาลเจ้าเดิม และได้สร้างขึ้นเป็นศาลเจ้าชั่วคราวขนาดเล็ก โดย ผนัง และหลังคากรุด้วยสังกะสี ด้วยมีเจตนาว่า สักวันหนึ่งจะมีผู้ใจบุญได้ร่วมกันก่อสร้าง ศาลเจ้าพ่อเจ้า แม่ตลาดใหม่บ้านหมี่เป็นการถาวร ให้มีความงามสง่าตามจารีตประเพณีของชาวจีนโบราณ ที่สามารถตั้งอยู่ในสถานที่ ที่เหมาะสมกว่าที่ดินในบริเวณของการรถไฟแห่งประเทศไทย ท้ังนี้ เนื่องจากที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณที่ตั้งเป็นศาลเจ้าชั่วคราวน้ัน ตามระเบียบของการรถไฟฯแล้ว จะไม่อนุญาตให้ทําการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอันเป็นการถาวรใดๆได้ ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ ที่ เป็นศาลเจ้าชั่วคราว ก็ต้องตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงเป็นผลทําให้ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ ที่เป็นศาลเจ้าชั่วคราว ไม่สามารถที่จะพัฒนาปรับปรุง หรือ บูรณะให้อยู่ ในสภาพที่เป็นศาลเจ้าอย่างถูกต้องตามจารีตประเพณีจีนได้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม คุณดุสิต ศิริวรรณ ซึ่งเป็นบุตรชายของคุณพ่อประสงค์ และคุณแม่เอียง ศิริวรรณ และเป็นหลานชายของคุณปู่เมี่ยงเทียม และคุณย่าเกียว แซ่เตีย ได้แสดงเจตนาอย่างแน่วแน่ว่า มีความประสงค์ที่จะเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาและผู้ใจบุญทั้งหลาย ได้มีส่วนร่วมกันสร้างศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ ในสถานที่แห่งใหม่ โดยมีกุศลเจตนาว่า จะอุทิศที่ดินซึ่งแต่เดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของ คุณปู่ เมี่ยงเทียม และ คุณย่าเกียว แซ่เตีย จํานวน 51 ตารางวา ให้เป็นสถานที่ก่อสร้างศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ อย่างเป็นการถาวร ซึ่งเป็นที่ดินกรรมสิทธ์ิของลูกหลาน คุณปู่เมี่ยงเทียม และ คุณย่า เกียว แซ่เตีย และมีบริเวณติดกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กํากับดูแลโดยนายสถานีรถไฟ บ้านหมี่ ซึ่งต้ังอยู่ห่างจากบริเวณศาลเจ้าชั่วคราวเดิมไม่มากนัก โดย คุณดุสิต ศิริวรรณ ได้เรียนเชิญ ซินแสที่มีความชํานาญ ด้านการดูทิศทางและสถานที่สร้างศาลเจ้า ตลอดจนได้เรียนเชิญผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีเชื้อสายจีน ในอําเภอบ้านหมี่มาร่วมในพิธีขออนุญาตเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่ เพื่อจัดสร้างศาลเจ้าแห่งใหม่ให้มีความงามสง่า ตามจารีตประเพณีของชาวจีนโบราณ

การก่อสร้างศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่แห่งใหม่จึงได้เริ่มขึ้น หลังจากที่ซินแสได้มาดูทิศทางการก่อสร้าง ตามหลักโหราศาสตร์ และ หลักฮวงจุ้ย ของชาวจีนอย่างครบถ้วนแล้ว โดยคุณดุสิต ศิริวรรณ และ ครอบครัว ได้ตั้งปณิธานอย่างแน่วแน่ว่า จะต้องสร้างศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ ในสถานที่แห่งใหม่นี้ ให้มีความสง่างาม ตามจารีตประเพณีของชาวจีน อย่างถูกต้องครบถ้วนทุกประการ โดยยินดีที่จะรับผิดชอบค่าก่อสร้างศาลเจ้าแห่งใหม่นี้ ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากที่ผู้ใจบุญท้ัง หลายได้มีจิตศรัทธาสมทบทุนในการก่อสร้างแล้ว จึงได้มีพิธีลงเสาเอกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551 การดําเนินการก่อสร้างได้ดําเนินเรื่อยมาจนในวันเสาร์ที่ 10 มกราคม 2552 ก็ได้กําหนดฤกษ์ที่จะ อัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่มาประทับที่สร้างศาลเจ้าแห่งใหม่นี้ เนื่องจากว่าศาลเจ้าชั่วคราวแห่งเดิม อยู่ในสภาพที่ชํารุดทรุดโทรม จนยากที่จะเข้าไปกราบไหว้บูชาได้ ในขณะที่การก่อสร้างศาลเจ้า แห่งใหม่ในขณะนั้นยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ จวบจนกระทั่งวันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2553 การก่อสร้างศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่แห่งใหม่ จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องขอยกย่องศิลปินผู้มีจินตนาการ วาดภาพเชิงประวัติศาสตร์วรรณคดีจีน ตลอดจนฝีมือด้านประติมากรรม ที่มีความอ่อนช้อย งดงาม ศิลปินผู้นี้ชื่อ คุณยุทธนา ตระกูลพูน[1][1]ทรัพย์ (ช่างช้าง) ผู้ทุ่มเทท้ังกายและใจในการทําให้ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่ มีความงดงามสมสง่า จนเป็นที่กล่าวขานกันทั่วไป

  1. "ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่". www.facebook.com.

แหล่งอ้างอิง https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=goldwarrior&month=06-2022&date=30&group=1&gblog=36

แหล่งอ้างอิง https://pantip.com/topic/41509182

แผนที่ https://goo.gl/maps/Mk3tL9QUmW57NyAx6