ผลิตภัณฑ์หลัก
ผลิตภัณฑ์หลัก หรือ ผลิตภัณฑ์แกนหลัก (อังกฤษ: Core product) หรือ ผลิตภัณฑ์เรือธง (อังกฤษ: Flagship product) คือโปรโมชัน บริการ หรือผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้[1] ผลิตภัณฑ์หลักอาจรวมเข้ากับผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป โดยบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์หลักหรือโดยบริษัทอื่นที่ขายผลิตภัณฑ์หลักให้
ผลิตภัณฑ์สามระดับ
แก้แนวคิดของผลิตภัณฑ์หลักมีต้นกำเนิดมาจากศาสตราจารย์ ฟิลิป คอตเลอร์ ในหนังสือของเขาในปี 1967 เรื่อง Marketing Management: Analysis, Planning and Control [2] เป็นระดับแรกของแนวคิดเรื่อง ผลิตภัณฑ์สามระดับ
คอตเลอร์แนะนำว่าผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็นสามระดับ: ผลิตภัณฑ์หลัก ผลิตภัณฑ์จริง และผลิตภัณฑ์เสริม[3] ผลิตภัณฑ์หลักหมายถึงประโยชน์ที่ผลิตภัณฑ์นำมาสู่ลูกค้า ผลิตภัณฑ์จริงหมายถึงวัตถุที่จับต้องได้และเกี่ยวข้องกับคุณภาพทางกายภาพและการออกแบบ[4] ผลิตภัณฑ์เสริมประกอบด้วยมาตรการที่ดำเนินการเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคนำผลิตภัณฑ์จริงไปใช้[1] ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์สามระดับผสมกันในการวิจัยและพัฒนา ทำให้หน่วยงานธุรกิจสามารถเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น วางตำแหน่งของตนในตลาดได้ดีขึ้น และสร้างผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น[5]
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
แก้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (NPD) หรือที่มักเรียกกันว่า กระบวนการนวัตกรรมสเตจเกจ ได้รับการพัฒนาโดย โรเบิร์ต คูเปอร์ เป็นผลจากการวิจัยที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว[6] กระบวนการเริ่มแรกมุ่งเน้นการสร้างแนวคิดที่กำหนดผลิตภัณฑ์หลัก[7] หากผลิตภัณฑ์หลักเป็นนวัตกรรมและตอบสนองความต้องการของตลาด ก็สามารถนำไปสู่ผลิตภัณฑ์จริงที่ประสบความสำเร็จได้[8]
กลยุทธ์การตลาด
แก้ปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
แก้กลยุทธ์ทางการตลาดประการหนึ่งเน้นประเด็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง ความสำเร็จด้านผลิตภัณฑ์ต้องการให้ลูกค้าได้รับคุณค่าที่สำคัญจากผลิตภัณฑ์หลัก[9]
การตลาดผลิตภัณฑ์
แก้การตลาดผลิตภัณฑ์ เป็นกระบวนการส่งเสริมและขายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ชม นอกจากนี้ยังรวมถึงการกำหนดขอบเขตของสายผลิตภัณฑ์ การระบุตลาดที่มีศักยภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ และการกำหนดราคาที่เหมาะสมที่สุด[10] นักการตลาดผลิตภัณฑ์ยังทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างการขาย การตลาด และผลิตภัณฑ์ โดยรายงานการตอบสนองของตลาดต่อการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และการอัพเดต เพื่อปรับแต่งข้อความและฟีเจอร์ต่าง ๆ[ต้องการอ้างอิง] ตามที่กล่าวไว้ ผลิตภัณฑ์หลักส่งผลโดยตรงต่อระดับความสนใจของลูกค้า [11]
ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า
แก้บริษัทมักจะทำการวิจัยและพัฒนา ก่อนที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผลิตภัณฑ์หลักจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ดึงดูดผู้คนให้ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท การวิจัยการตลาดระหว่างประเทศที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย พบว่า ลูกค้าและผู้เชี่ยวชาญมักจะเน้นย้ำถึงลักษณะการบริการ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน (ความแตกต่างในมาตรฐานระหว่างผู้ให้บริการ บ่อยครั้งแม้ในสถานที่ตั้งที่แตกต่างกันของบริษัทเดียวกัน) และการแยกออกจากการบริโภค[12] สิ่งนี้สามารถแสดงให้เห็นว่าการมีผลิตภัณฑ์หลักมีความสำคัญต่อบริษัทเพียงใด เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า และจะต้องทำโดยการอัดฉีดเงินเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเท่านั้น
การแข่งขัน
แก้การแข่งขันระหว่างธุรกิจต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่ความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์เสริมและผลิตภัณฑ์หลักเป็นหลัก ตามข้อมูลของคอตเลอร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์และไม่เกี่ยวกับมูลค่า เขากล่าวว่า: "การแข่งขันไม่ได้ถูกกำหนดจากสิ่งที่บริษัทผลิตมากนัก แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่พวกเขาเพิ่มลงในผลิตภัณฑ์ของตนในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ บริการ การโฆษณา คำแนะนำ การจัดส่ง (การเงิน) การเตรียมการ และสิ่งอื่น ๆ ที่อาจมีคุณค่าต่อผู้บริโภค" เพื่อเอาชนะการแข่งขัน บริษัทผลิตภัณฑ์จึงมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น บรรจุภัณฑ์ โฆษณา การบริการ และเงื่อนไขการชำระเงิน โดยมีองค์ประกอบของความประหลาดใจเป็นสิ่งสำคัญ[13]
ตัวอย่าง
แก้เทคโนโลยีสารสนเทศ
แก้ผลิตภัณฑ์หลักมักเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่บริษัทสร้างขึ้นและดำรงไว้ตั้งแต่ก่อตั้ง เช่น ภาษาเบสิก สำหรับไมโครซอฟท์ คอมพิวเตอร์แอปเปิล 2 สำหรับบริษัทแอปเปิล และแพลตฟอร์มกูเกิล เสิร์ช ดังนั้นจึงเน้นไปที่ความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์หลักในขณะที่ทำงานกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยหวังว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะกลายเป็นความสามารถ ผลิตภัณฑ์หลักมักจะทำกำไรได้มากที่สุด
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีชื่อเสียงได้แก่:
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริง ตัวอย่างการใช้ผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์จริงร่วมกัน ได้แก่:
- กูเกิล – แอนดรอยด์ และ กูเกิล พิกเซล
- แอปเปิล – แมคโอเอส และ แมคอินทอช, ไอโอเอส และ ไอโฟน, ไอแพดโอเอส และ ไอแพด
- เอเซอร์ – แอสไพร์ และ ทราเวลเมท
- เอซุส – วีโว่บุ๊ค, ทรานส์ฟอร์เมอร์ และ เซนบุ๊ค
- เดลล์ – อินสไปรอน, ละติจูด และ เอ็กซ์พีเอส
- เอชพี – อีลีทบุ๊ค, เอนวี่, พาวิลเลี่ยน, โปรบุ๊ค และ ซีบุ๊ค
- เลอโนโว – ไอเดียเซ็นเตอร์, ไอเดียแพด, ติงค์เซ็นเตอร์ และ ติงค์แพด
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Kaplan Financial. "Strategy into action". kfknowledgebank.kaplan.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-12. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
- ↑ "Augmented Product/Three Product Levels Concept". www.learnmarketing.net. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
- ↑ "Three Levels of a Product". www.marketingteacher.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 8 May 2014. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
- ↑ "Three levels of a product – Product levels explained". Marketing91 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
- ↑ "The Three Levels of Product". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-11. สืบค้นเมื่อ 2014-10-29. Retrieved on 69 October 2014
- ↑ "8 Step Process Perfects New Product Development – Innovation Excellence". www.innovationexcellence.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-28. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
- ↑ "New Product Development". www.learnmarketing.net. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
- ↑ [1] [ลิงก์เสีย]
- ↑ "Marketing - Product Strategy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-25.
- ↑ "What is product marketing? definition and meaning". BusinessDictionary.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-22. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
- ↑ "Examples of Marketing Strategies Used to Sell a Product" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
- ↑ "Product Issues in International Marketing". www.consumerpsychologist.com. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
- ↑ Kotler, Philip (1967). Marketing Management: Analysis, Planning and Control. Englewood Cliffs, N.J., Prentice Hall. Retrieved on 29 October 2014