ปูราตีร์ตาเอิมปุล

ปูราตีร์ตาเอิมปุล (อินโดนีเซีย: Pura Tirta Empul) เป็นโบสถ์พราหมณ์แบบบาหลี (ปูรา) และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ใกล้กับเมืองตัมปักซีริง บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โครงสร้างหลักของปูราคือ เปอตีร์ตาอัน (petirtaan) หรือบ่อน้ำขนาดใหญ่ เป็นที่รู้จักจากน้ำมนต์จากน้ำพุร้อน ซึ่งชาวฮินดูบาหลีเดินทางมาเพื่อประกอบพิธีชำระล้าง โดยเชื่อกันว่าน้ำจากบ่อยี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์หรือ "อมฤต"[1] คำว่า Tirta Empul เป็นภาษาบาหลี แปลว่า "บ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์" โดยคำว่า Tirta มีรากมาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตีรถะ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์หรือได้รับการเคารพมาก

ผู้คนอาบน้ำอมฤตในตีร์ตาเอิมปุล

ปูราสร้างขึ้นในราว ค.ศ. 962 ล้อมรอบบ่อน้ำพุธรรมชาติ ในสมัยจักรวรรดิวาร์มาเดวา (คริสต์ศตวรรษที่ 10–14) ชื่อ "ตีร์ตาเอิมปุล" มาจากชื่อเรียกของบ่อน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำปาเกอรีซัน[2] ปูราแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ จาบาปูรา (Jaba Pura; ลานด้านหน้า), จาบาเตองะฮ์ (Jaba Tengah; ลานตรงกลาง) และจาบาเจอโรอัน (Jaba Jeroan; ลานด้านในสุด) จาบาเตงงาฮ์ประกอบด้วยบ่อน้ำ 2 บ่อ และฝักบัว 30 ฝัก[3]

ปูรานี้สร้างขึ้นถวายบูชาแด่พระวิษณุเป็นองค์หลัก[1] บนเขาใกล้กันกับปูรามีวิลลาสมัยใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักของซูการ์โนซึ่งเดินทางมาที่นี่เมื่อปี 1954 ปัจจุบันวิลลายังคงใช้เป็นครั้งคราวเพื่อรับแขกคนสำคัญ

โคโคนัตส์บาหลีรายงานในปี 2017 ระบุว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้เข้ามาตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ตีร์ตาเอิมปุล พบว่าน้ำมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมถึงพบเชื้อ E. coli ในแหล่งน้ำ[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Pura Tirta Empul". Burari Bali. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.
  2. Carroll, Ryan Ver Berkmoes, Adam Skolnick, Marian (2009). Bali & Lombok (12th ed.). Footscray, Vic.: Lonely Planet. p. 202. ISBN 9781742203133. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.
  3. Pura Tirta Empul, babadbali.com
  4. "E.coli found in Bali temple water has Gianyar regency focusing on water quality standards". Coconuts Bali. 5 July 2017.


8°24′59″S 115°18′53″E / 8.41639°S 115.31472°E / -8.41639; 115.31472