ปืนเล็กยาว ร.ศ. 121 หรือ ปืนเล็กยาว แบบ 45 (ปลย. 45) เป็นปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนบริหารกลไกด้วยมือ ใช้กระสุนขนาด 8x50 มม. แบบหัวป้าน (8x50 mm. R Siamese Mauser Type 45) เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2445-2446 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากเดิมกองทัพสยามเคยสั่งซื้อปืนเล็กยาว Steyr-Mannlicher M1888 หรือ ปืนเล็กยาว แบบ 33 (ปลย. 33) จากประเทศออสเตรียมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2433 ซึ่งปืนรุ่นดังกล่าวใช้ระบบลูกเลื่อนดึงตรงแบบสองจังหวะและใช้กระสุนขนาด 8x50 mm. R Mannlicher ซึ่งปืนดังกล่าวไม่เป็นที่พึงพอใจในประสิทธิภาพมากนัก จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการออกแบบโดยยึดรูปแบบปืนเล็กยาว Swedish Mauser M1894 ขนาด 6.5×55 มม. ของประเทศสวีเดนเป็นหลัก และด้วยการที่ปืนเล็กยาวรุ่นนี้ใช้ระบบลูกเลื่อนแบบเมาเซอร์ (Mauser) จึงมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษด้วยว่า "Siamese Mauser M1902/M1903"


ปืนเล็กยาวแบบ 66 จัดแสดงที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ปืน ร.ศ. 121
ชนิด ปืนเล็กยาว
สัญชาติ  ไทย
สมัย ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
การใช้งาน เหนี่ยวไกปืน
เป้าหมาย ทหารราบ
เริ่มใช้ พ.ศ. 2447
ช่วงผลิต พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2488
ช่วงการใช้งาน พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2503
ผู้ใช้งาน กองทัพสยาม
สงคราม สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กบฏบวรเดช สงครามโลกครั้งที่สอง
ขนาดลำกล้อง 8 มิลลิเมตร
ระยะครบรอบเกลียว
ความยาวลำกล้อง
กระสุน 8×50 มิลลิเมตร แบบ 45
ซองกระสุน 5 นัด
ระบบปฏิบัติการ ลูกเลื่อนบริหารกลไกด้วยมือ
อัตราการยิง
ความเร็วปากลำกล้อง 680 เมตร/วิ (ปลย. 46/66) ~ 620 เมตร/วิ (ปลย. 46)
ระยะยิงหวังผล
ระยะยิงไกลสุด
น้ำหนัก
ความยาว
แบบอื่น ปืนเล็กยาวแบบ 46 (ปลย. 46), ปืนเล็กสั้นแบบ 47 (ปลส. 47), ปืนเล็กยาวแบบ 46/66 (ปลย. 46/66), ปืนเล็กสั้นแบบ 47/66 (ปลส. 47/66), ปืนเล็กยาวแบบ 66 (ปลย. 66)

ประวัติ แก้

"บ้านเมืองเราทุกวันนี้เหมือนตั้งอยู่ในหมู่หัวไม้ ถ้าเราไม่เตรียมพลองไว้สู้กับพวกหัวไม้บ้าง พวกหัวไม้ก็ย่อมจะมีใจกำเริบมารังแกอยู่ร่ำไป ถึงโดยจะสู้ให้ชนะจริงไม่ได้ ก็ให้เป็นแต่พอให้พวกหัวไม้รู้ว่าพลองของเรามีอยู่ ถ้าจะเข้ามารังแกก็คงจะเจ็บบ้าง" พระราชดำรัส รัชกาลที่ 5เมื่อ ร.ศ.121 จากการจัดหาอาวุธปืนที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับการพัฒนาการทหารของสยามในขณะนั้น โดยทรงมีพระราชประสงค์ไว้ คือ มิได้เอาอาวุธไปรุกรานใคร แต่เอาไว้ใช้ป้องกันชาติ[1]

การแต่งตั้งคณะกรรมการออกแบบอาวุธปืนรุ่นใหม่ที่จะสั่งซื้อ ประกอบด้วยพันเอกพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดชโทพระยาชลยุทธโยธินทร์ (อังเดร ดู เปลซีส เดอ ริชลิว) พลเอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี และพันตรีพระยาสีหราชเดโชชัย สมุหราชองครักษ์ในัชกาลที่ 5 ต่อมาในปีพ.ศ. 2466 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการสั่งซื้อปืนเล็กยาวแบบ 66 หรือปืนอาริซากะ (Arisaka) ซึ่งเป็นปืน Mauser M1923 แต่ผลิตโดยญี่ปุ่นเข้ามาใหม่ และได้มีการปรับเปลี่ยนกระสุนจากขนาด 8x50 มม.เป็นขนาด 8x52 มม.หรือ 8x52 mm.R Siamese Mauser Type 66 ซึ่งเป็นกระสุนแบบหัวแหลม เพื่อไม่ให้ปืนติดขัดเวลาป้อนกระสุนเข้ารังเพลิง ปืนเล็กยาวที่ซื้อมาก่อนหน้านี้อย่างปลย. 45 และปลส. 47 จึงได้นำมาคว้านรังเพลิงเพื่อใช้กับกระสุนใหม่นี้ด้วย และเรียกชื่อใหม่ว่า ปลย. 45/66 กับปลส. 47/66 ซึ่งไทย( ขณะนั้นเรียกสยาม ) ซื้อพิมพ์เขียวจาก เยอรมัน มาจ้างผลิตที่โรงงานสรรพวุธกองทัพญี่ปุ่น โดยปกปิดการดำเนินการด้วยเหตุผลทางการมืองขณะนั้น ที่ฝรั่งเศส-อังกฤษ เข้ามาเป็นเป็นเจ้าอาณานิคมดินแดนเพื่อนบ้าน (ฝรั่งเศส ลาว เขมร: อังกฤษ พม่า มลายู) มีความหวาดระแวง สยาม และญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจใหม่ในทวีปเอเชีย ต่อมาปรับปรุงเป็นปืนเล็กยาวแบบ 66 (ปลย 66: type 66) โดยเปลี่ยนแบบกระสุนเป็น 8x52 มม.(8x52 mm.R Siamese mauser type 66 ) ชนิดหัวแหลม นอกจากนี้ยังมีรุ่นปืนเล็กสั้นที่เรียกว่า ปลส 47.(ปืนเล็กสั้น 47:type 47) คุณลักษณะเหมือน ปืนเล็กยาวแบบ 45 แต่สั้นกว่า ซึ่งต่อมาได้รับการพัฒนาพร้อมปืนเล็กยาวแบบ 66 เป็น ปืนเล็กสั้น 45/66.(ปลส 45/66:type 45/66) และ ปืนเล็กสั้น 47/66.(ปลส 47/66:type 47/66) อีกนามหนึ่งของ ปลย. 45และ ปลส. 47 คือ ปืน ร.ศ 121 และ ปืน ร.ศ 123 ตามลำดับ ซึ่งใช้ในยุครัชกาลที่ 5 และเปลี่ยนชื่อเป็น ปลย. 45 และ ปลส. 47 ในยุครัชกาลที่ 6 แต่บุคคลทั่วไปนิยมเรียก” ปืน ร.ศ (รัตนโกสินธ์ ศก)”[2][3][4][5]

ลักษณะจำเพาะ แก้

ปืนเล็กยาว 45/ปืนเล็กยาว 66
ลักษณะทั่วไป ปืนเล็กยาว:ปลย 45-ปลย 66

ปืนเล็กสั้น:ปลส 47-ปลส 45/66-ปลส 47/66

ระบบการทำงาน ลูกเลื่อน แบบเมาเซอร์ 3 ปีกขัดกลอน
ศูนย์หน้า ทรงใบมีด
ความจุ 5+1 นัด
ขนาดกระสุน ปลย 45-ปลส 47

8x50 มม. (8x50 mm.R Siamese mauser type 45) ชนิดหัวป้าน ปลย 66-ปลส 45/66-47/66 8x52 มม. (8x52 mm.R Siamese mauser type 66) ชนิดหัวแหลม

โรงงานผลิต โรงงานสรรพาวุธ กองทัพญี่ปุ่น ที่ โคชิกาวา

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
  2. http://www.weekendhobby.com/gun/webboard/question.asp?page=2&id=3810
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 2013-08-31.
  4. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=374ab17323168ea0[ลิงก์เสีย]
  5. นิตยสารอาวุธปืน เดือนมิถุนายน พ.ศ 2548