ปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส
ปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส (อังกฤษ: Peter Theo Curtis) หรือที่เรียกว่า ธีโอ แพดโนส (อังกฤษ: Theo Padnos; เกิดปี ค.ศ. 1968 – ) เป็นนักข่าวชาวอเมริกันที่ได้รับการปล่อยตัวจากแนวร่วมอัลนุสเราะในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 หลังจากถูกจับเป็นตัวประกันเป็นเวลาเกือบสองปี เขาเป็นเพื่อนร่วมห้องขังของแมตต์ ชรีเยร์ ซึ่งเป็นช่างภาพสงครามชาวอเมริกัน ที่ได้หลบหนีหลังจากการถูกจองจำเจ็ดเดือน[1]
ปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส | |
---|---|
เกิด | ปีเตอร์ เธโอฟีลัส อีตัน แพดโนส ค.ศ. 1968 (อายุ 55–56 ปี) แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐ |
สัญชาติ | อเมริกัน |
ชื่ออื่น | ธีโอ แพดโนส ปีเตอร์ เคอร์ติส |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยมิดเดิลบูรี มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ที่อัมเฮิร์สต์ |
อาชีพ | นักข่าว, นักเขียน และครู |
บิดามารดา | ไมเคิล แพดโนส (บิดา) แนนซี เคอร์ติส (มารดา) |
ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ
แก้ปีเตอร์ เธโอฟีลัส อีตัน แพดโนส เกิดที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย โดยเป็นบุตรของไมเคิล แพดโนส ซึ่งเป็นนักเขียนที่ตอนนี้อาศัยอยู่ในปารีส (จากนั้นเขาทำงานเป็นนักกฎหมาย) และแนนซี เคอร์ติส[2][3][4] เขาได้รับวุฒิปริญญาตรีจากวิทยาลัยมิดเดิลบูรีในรัฐเวอร์มอนต์ และวุฒิปริญญาเอกสาขาวรรณคดีเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ที่อัมเฮิร์สต์[5][6] เขาสามารถพูดภาษาฝรั่งเศส, อาหรับ, เยอรมัน และรัสเซียได้อย่างคล่องแคล่ว[7][8]
เขาย้ายไปเวอร์มอนต์และสอนงานประพันธ์ให้แก่นักโทษในเรือนจำท้องถิ่น หนังสือเล่มแรกของเขาชื่อมายไลฟ์แฮดสทูดอะโหลดกัน (My Life Had Stood a Loaded Gun) เป็นการเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ ในหนังสือเล่มนี้เขาแสดงความสนใจในการเขียนเกี่ยวกับเด็กหนุ่มที่ไม่เป็นมิตร[8][9] จากนั้นเขาก็ย้ายไปที่ประเทศเยเมน ที่ซึ่งเขาเปลี่ยนชื่อตามกฎหมายเป็น ปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส โดยเขายังคงทำการเขียนหนังสือต่อ[10] แพดโนสเริ่มศึกษาศาสนาอิสลามในประเทศเยเมนที่ดาร์ อัลฮะดิธ[11] ก่อนที่จะย้ายไปดามัสกัส ประเทศซีเรีย เพื่อลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนศาสนาอิสลาม[12] หนังสือเล่มที่สองของเขาชื่ออันเดอร์คัฟเวอร์มุสลิม ที่ซึ่งเขาเน้นหัวข้อลัทธิสุดโต่งในอิสลาม โดยได้รับการตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักร หลังจากการตีพิมพ์และการเปลี่ยนชื่อ (เป็นปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส) ทำให้การเดินทางของเขาในตะวันออกกลางง่ายขึ้น[13][14] เนื่องจากเขาได้ประกาศความจงรักภักดีต่อศาสนาอิสลามในที่สาธารณะ หนังสือเล่มนี้จึงอาจตีความได้ว่าเป็นการละทิ้งความเชื่อ[11] ในปี ค.ศ. 2012 เขากลายเป็นนักข่าวอิสระ เขาเขียนบทความเกี่ยวกับตะวันออกกลางสำหรับนิตยสาร เช่น นิวรีพับลิก, เดอะฮัฟฟิงตันโพสต์ และลอนดอนรีวิวออฟบุ๊กส์[15]
จากนั้นเขาก็ย้ายไปที่อันทักยา ประเทศตุรกี ใกล้ชายแดนซีเรีย แม้ว่าเคอร์ติสจะอ้างในบทความของเขาในนิวยอร์กไทมส์ว่าเขาไปซีเรียเพื่อ "แวะเข้าหมู่บ้านและสัมภาษณ์ผู้คน ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของประเทศที่มีตัวตนมากมาย โดยรู้สึกคับอกคับใจพวกเขาทุกคน ซึ่งมีปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ"[12] แต่ต่อมาเขาได้เปลี่ยนเรื่องราวของเขาในสารคดีของเขาโดยสิ้นเชิง โดยอ้างว่าเขาอยู่ที่นั่นเพื่อ "ติดตามผู้ลี้ภัยบางคนที่กลับเข้าไปในซีเรีย และเขียนเกี่ยวกับสภาพที่เลวร้ายในค่าย"[16] อย่างไรก็ตาม ในหนังสืออดีตเพื่อนร่วมห้องขังของเขา "เดอะดาวน์เพรเยอร์" แมตต์ ชรีเยร์ อ้างว่าเคอร์ติสบอกเขาว่าเขาอยู่ในซีเรียเพื่อเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับออสติน ไทซ์ ซึ่งเป็นนักข่าวชาวอเมริกันที่ถูกลักพาตัว และจัดเตรียมเอกสารเพื่อพิสูจน์ในรูปแบบของอีเมลที่เคอร์ติสเขียนถึงบรรณาธิการของไทซ์ ไม่นานก่อนที่เขาจะถูกลักพาตัวโดยขอให้เขา "รับหน้าที่" บทความ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Sly, Liz; Goldman, Adam. "U.S. hostage Peter Theo Curtis is freed after nearly two years in Syria". Washington Post. สืบค้นเมื่อ September 2, 2014.
- ↑ Fieldstadt, Elisha; Welker, Kristen (August 24, 2014). "Peter Theo Curtis Freed After Two Years in Captivity". NBC News. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
- ↑ Westcott, Lucy (August 27, 2014). "Freed U.S. Journalist Peter Theo Curtis Comes Home to Boston". Newsweek. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ Ganley, Elaine; Schaeffer, Jeffrey (August 25, 2014). "Freed US reporter's father praises son's noble cause". The Republican. Associated Press. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ Rukimini Callimachi (August 24, 2014). "U.S. Writer Held by Qaeda Affiliate in Syria Is Freed After Nearly 2 Years". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ Bender, Bryan; Adams, Dan (August 24, 2014). "Militants free US writer with Mass. ties who was held in Syria". Boston Globe. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ Lawrence Crook III; Ray Sanchez (August 27, 2014). "Freed journalist Curtis back in the U.S." CNN.com. สืบค้นเมื่อ September 7, 2014.
- ↑ 8.0 8.1 Ford, Dana; Almasy, Steve (August 25, 2014). "American held in Syria for almost two years is released". CNN.cm. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ "American writer, held captive in Syria since 2012, released into Golan Heights". Jerusalem Post. Reuters. August 25, 2014. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ http://www.dailymail.co.uk/news/article-2733192/U-S-journalist-Peter-Theo-Curtis-FREED-Syria-two-years-captivity.html
- ↑ 11.0 11.1 Wright, Lawrence (July 6, 2015). "Five Hostages". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ 12.0 12.1 Padnos, Theo (October 29, 2014). "My Captivity". New York Times. สืบค้นเมื่อ November 5, 2014.
- ↑ "US hostage in Syria freed after two years in captivity". The National. August 24, 2014. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ Bayoumy, Yara; Ortiz, Fiona (August 24, 2014). "Kidnappers free American missing in Syria since 2012". Reuters. สืบค้นเมื่อ September 10, 2016.
- ↑ http://edition.cnn.com/2014/08/26/world/meast/american-released-syria/index.html
- ↑ "YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.