แมทธิว บี. ชรีเยร์ (อังกฤษ: Matthew B. Schrier) เป็นอดีตช่างภาพชาวอเมริกันที่ได้หลบหนีจากอัลกออิดะฮ์

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ แก้

ชรีเยร์มาจากเดียร์พาร์ค รัฐนิวยอร์ก และเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮอฟสตรา ในเอกภาษาอังกฤษรวมถึงได้ศึกษาการผลิตภาพยนตร์[1][2][3] เขาได้เข้าไปในประเทศซีเรียด้วยความช่วยเหลือของกองทัพปลดปล่อยซีเรีย ชรีเยร์ได้ถ่ายภาพของกบฏกองทัพปลดปล่อยซีเรียที่ต่อสู้กับกองกำลังของประธานาธิบดี บัชชาร อัลอะซัด แห่งประเทศซีเรีย[4]

การลักพาตัวโดยแนวร่วมอัลนุสเราะ แก้

ปลายเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 ชรีเยร์ถูกจับกุมโดยแนวร่วมอัลนุสเราะซึ่งเป็นพันธมิตรอัลกออิดะฮ์ในประเทศซีเรีย ขณะเดินทางบนถนนระหว่างอะเลปโปและชายแดนประเทศตุรกี[5] ซึ่งรถจี๊ปเชอโรกีคันหนึ่งได้แล่นตัดหน้าจากด้านข้างของถนนและมีชายสามคนกระโดดออกมา ชรีเยร์กล่าวกับรายการ 60 มินิตส์ ว่า "หนึ่งในพวกเขาปกปิดร่างกายอย่างสมบูรณ์ในชุดดำ ก็อย่างที่คุณรู้ เหมือนผู้ชายที่อยู่ในภาพยนตร์ -- ที่มีผ้าพันคอรอบใบหน้าของเขา มีปืนเอเค 47 อยู่ในมือ แล้วเขาก็พาผมไป โดยวางผมไว้ที่เบาะหลังของรถเชอโรกี และเขาก็จ่อกระบอกปืนไว้ที่หัวของผม"[4] เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มของนักข่าวอเมริกันที่ถูกลักพาตัวโดยกลุ่มญิฮาดซีเรีย[6] ซึ่งในที่สุดเขาก็ถูกขังอยู่ในเรือนจำที่ควบคุมโดยกบฏในเมืองอะเลปโปของประเทศซีเรีย[7]

เขาใช้กลยุทธ์เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 ในฐานะกลยุทธ์การเอาตัวรอดเพื่อรับการปฏิบัติที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นกลวิธีที่จบลงด้วยการทำงาน[1]

การหนี แก้

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 ชรีเยร์กลายเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่หลบหนีจากอัลกออิดะฮ์ ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเขาบีบตัวเองผ่านหน้าต่างเล็ก ๆ ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมห้องขังชื่อปีเตอร์ ธีโอ เคอร์ติส ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังแม้จะมีความพยายามของชรีเยร์เพื่อให้เขาออกมา[7][8][9] ในระหว่างการวางแผนการหลบหนีชรีเยร์อ้างว่าเคอร์ติสเคาะประตูเพื่อหยั่งท่าทีพวกยามเกี่ยวกับการหลบหนี ซึ่งเคอร์ติสยอมรับในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ดีไซท์[8]

ผลที่ตามมา แก้

ส่วนหนังสือของเขาชื่อ เดอะดาวน์เพรเยอร์ (ออร์ฮาวทูเซอไวฟ์อินอะซีเครตซีเรียนเทอร์เรอริสต์ไพรซัน): อะเมมมัวร์ (ISBN 1944648887) ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2018

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2020 ชรีเยร์ได้ยื่นฟ้องธนาคารอิสลามกาตาร์ (QIB) ในขณะที่เขาอ้างว่าพวกเขาให้การสนับสนุนอัลกออิดะฮ์[10][11]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "The New York Times". nytimes.com. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
  2. "Syria strife, through a lens darkly - Times Union". timesunion.com. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
  3. "Matthew Schrier, of Syosset, returns to U.S. after being held in Syrian prison - News 12 Long Island". longisland.news12.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
  4. 4.0 4.1 Pelley, Scott. "210 Days in Captivity". 60 Minutes. สืบค้นเมื่อ September 3, 2014.
  5. Baksh, Nazim and Adrienne Arsenault (25 November 2015). "Ex-hostage says there may be Canadian al-Qaeda link". CBC News. สืบค้นเมื่อ 25 November 2015.
  6. Pelley, Scott (August 21, 2014). "Escaped Hostage: "Oh My God They Are Collecting Us"". www.cbsnews.com. CBS News. สืบค้นเมื่อ September 3, 2014.
  7. 7.0 7.1 Chivers, C.J. "American Tells of Odyssey as Prisoner of Syrian Rebels". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 3, 2014.
  8. 8.0 8.1 Berbner, Bastian. "Die Hölle, das ist der andere". Die Zeit. สืบค้นเมื่อ January 28, 2017.
  9. Picard, Ken (November 30, 2016). "Former al-Qaeda Prisoner Theo Padnos Reflects on His Ordeal". Seven Days. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "Complaint: Plaintiff Matthew Schrier alleges the following in support of his claims" (PDF). United States District Court for the Southern District of Florida. January 2020.
  11. "Former American Hostage Sues Qatari Bank For Allegedly His Al-Qaeda Captors, Says Royals Were 'Neck Deep In This'". Newsweek. 5 February 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้