ปานตะวันและปานวาด ธิเย็นใจ

ปานตะวัน ธิเย็นใจ และปานวาด ธิเย็นใจ (เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2549) เป็น ฝาแฝดติดกันที่มีหัวใจและตับติดกัน รอดชีวิตทั้งคู่เป็นครั้งแรกของโลก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดย ทีมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550

ประวัติ แก้

ปานตะวัน ธิเย็นใจ และปานวาด ธิเย็นใจ เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เวลา 18.37 น. เป็นบุตรสาวของอุษา ธิเย็นใจ และถาวร วิบุลกุล โดยการผ่าคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ ทั้งคู่มีน้ำหนักแรกคลอดรวมกัน 3,570 กรัม มีลำตัวด้านหน้าติดกันตั้งแต่บริเวณทรวงอกลงมาถึงผนังหน้าท้อง จากการตรวจร่างกาย พบว่าเด็กมีบริเวณที่ติดกัน ขนาด 17 x 8 ซ.ม. เมื่อทำการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังสูง พบว่า ทารกมีอวัยวะภายในที่ติดกัน 2 ส่วน คือ มีตับติดกันเป็นบริเวณกว้าง รวมทั้งมีหัวใจเชื่อมต่อกันด้วย โดยหัวใจห้องบนขวาของปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของปานวาด และมีเลือดจากปานตะวันไหลผ่านมายังปานวาดตลอดเวลา[1]

ความสำเร็จในการผ่าแยก แก้

เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 เวลา 10.00 น. ศ.คลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้จัดงานแถลงข่าว “ศิริราชประสบความสำเร็จผ่าตัดแยกแฝดสยามที่มีหัวใจและตับติดกัน รอดชีวิตทั้งคู่เป็นครั้งแรกของโลก” โดยมี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในขณะนั้น เป็นประธาน, ศ.พญ.อังกาบ ปราการรัตน์ (หัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา), รศ.นพ.สมชาย ศรียศชาติ (ศัลย แพทย์หัวใจ), ผศ.นพ.มนตรี กิจมณี (ศัลยแพทย์ตกแต่ง) และ ผศ.นพ.มงคล เลาหเพ็ญแสง (หัวหน้าสาขาวิชากุมารศัลยแพทย์) ร่วมกันแถลงข่าว

หลังจากผ่าแยกเด็กทั้งสอง 2 คนได้ร่างกายที่แยกจากกัน 7 สัปดาห์หลังผ่าตัด ทารกทั้งคู่แข็งแรงดี ปานตะวันมีน้ำหนักตัว 5,735 กรัม ส่วนปานวาดหนัก 4,900 กรัม[2]

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้