ปางหมอยา เป็นพระพุทธรูปลักษณะนั่งขัดสมาธิราบ เหมือนปางมารวิชัย แต่พระหัตถ์เบื้องซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ประทับขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย

พระกริ่งปวเรศ ปางหมอยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ ออกแบบโดย ช่างสิบหมู่

ประวัติ

แก้

เมื่อพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียแบ่งเป็นฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ พระเจ้ากนิษกะกษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะปกครองตอนเหนือของประเทศอินเดีย ได้จัดให้มีการประชุมพระสงฆ์ฝ่ายเหนือพร้อมทำสังคายนาครั้งที่ 4 ในศาสนาพุทธ ที่เมืองบุรุษบุรีเมื่อ พ.ศ. 624 [1] โดยมีพระวินัยบางข้อที่เปลี่ยนแปลงไปเกิดพระไตรปิฎกที่แตกต่างและเกิดพุทธศาสนามหายาน ตามคัมภีร์ต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการบูชาพระไภษัชยคุรุนั้นฝ่ายเถรวาทไม่มีการกล่าวถึงเรื่องราวดังกล่าว[2] ในคัมภีร์มหายานลลิตวิสระ มีข้อความสรรเสริญพระพุทธเจ้าแพทย์ผู้สามารถปลดเปลื้องความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของมนุษย์ โดยในอัธยายที่ 1 ชื่อนิทานปริวรรตได้บรรยายว่า[3] พระองค์เป็นแพทย์ประทานยา คือ อมฤต พระองค์กล้าในการตรัสเจรจาแสดงลัทธิทำให้มิจฉาทิฐิเร่าร้อนไปตามกัน พระองค์เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพระธรรม ทรงปราดเปรื่องในปรมัตถธรรม พระองค์เป็นผู้นำ เป็นผู้ชี้ทาง ไม่มีใครยิ่งไปกว่า” ซึ่งการกล่าวถึงพระพุทธเจ้าแพทย์นั้นจะหมายถึงพระไภษัชยคุรุ เรื่องพระไภษัชยคุรุที่ปรากฏในคัมภีร์ที่ชัดเจนที่สุด ปรากฏในพระสูตรสันสกฤตสูตรหนึ่ง ชื่อ พระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชามูลปฌิธานสูตร [4] หรือ ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร [5]

ลักษณะพระพุทธรูป

แก้

ความเชื่อและคตินิยม

แก้
 
พระไภษัชยคุรุ

ปางหมอยามีข้อสังเกตอยู่ข้อหนึ่ง เพราะคล้ายคลึงกับพระไภษัชยคุรุพุทธะมากที่สุด เนื่องจากหม้อยาของพระพุทธรูปปางนี้คล้ายคลึงกับบาตรบรรจุทิพยโอสถของพระไภษัชยคุรุพุทธะมาก

หลักฐานจากพระสูตร

แก้

พระสูตรที่กล่าวถึงพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระองค์เดียว คือ

  • พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร เดิมเขียนด้วยภาษาสันสกฤต ต่อมาแปลเป็นภาษาจีนโดยพระถังซำจั๋งหรือ พระสมณะเสวียนจั้ง ในสมัยถังของจีน
  • พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร ต่อมาแปลเป็นภาษาจีนโดยพระสมณะอี้จิง ในสมัยถังของจีน แต่กล่าวถึงพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ โดยพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เป็นพระองค์ลำดับที่ 7 กล่าวถึงปณิธาน 12 ข้อของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า[7] คือ
  1. ช่วยให้สรรพสัตว์บรรลุโพธิญาณโดยเร็ว
  2. ช่วยให้สรรพสัตว์ตื่นจากความโง่เขลา
  3. ช่วยให้สรรพสัตว์ถึงพร้อมด้วยของใช้ทั้งปวง
  4. ช่วยให้สรรพสัตว์หันมานับถือมหายานธรรม มุ่งสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า
  5. ช่วยให้สรรพสัตว์มีศีลบริสุทธิ์
  6. ช่วยให้สรรพสัตว์มีกายสมบูรณ์
  7. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากความยากจน
  8. ช่วยให้สตรีได้เป็นบุรุษตามปรารถนา
  9. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากอุบายของมาร
  10. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากโทษทัณฑ์ทางอาญา
  11. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากการทำชั่วเพื่อเลี้ยงชีพ
  12. ช่วยให้สรรพสัตว์พบกับความสมบูรณ์ทั้งสิ้น

อ้างอิง

แก้
  1. พินัย ศักดิ์เสนีย์, นามานุกรมพระเครื่อง
  2. พินัย ศักดิ์เสนีย์, นามานุกรมพระเครื่อง
  3. แสง มนวิทูร, ผู้แปล, คัมภีร์ลลิตวิสตระ:พระพุทธประวัติผ่ายมหายาน
  4. แสง มนวิทูร, ผู้แปล, คัมภีร์ลลิตวิสตระ:พระพุทธประวัติผ่ายมหายาน
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-12. สืบค้นเมื่อ 2015-04-01.
  6. แสง มนวิทูร, ผู้แปล, คัมภีร์ลลิตวิสตระ:พระพุทธประวัติผ่ายมหายาน
  7. ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร และ ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร
  • พินัย ศักดิ์เสนีย์, นามานุกรมพระเครื่อง, กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ผดุงศึกษา,2502
  • แสง มนวิทูร, ผู้แปล, คัมภีร์ลลิตวิสตระ:พระพุทธประวัติผ่ายมหายาน, ตอนที่ 1 อัธยายที่ 1 (พระนคร:กรมศิลปากร,2512), หน้า 487
  • ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร และ ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร แปลจากภาษาจีนสู่ภาษาไทยโดยพระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก วัดเทพพุทธาราม, เซียนฮุดยี่, อ.เมือง จ.ชลบุรี

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล.