ปันจักสีลัต (อินโดนีเซีย: pencak silat, pentjak silat หรือ penchak silat) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง ใช้เรียกศิลปะการต่อสู้ของอินโดนีเซียจำพวกหนึ่ง[1][2] และประเทศเพื่อนบ้านของอินโดนีเซียมักใช้คำนี้เรียกการแข่งขันสีลัตแบบมืออาชีพ ปันจักสีลัตนี้เป็นการต่อสู้แบบเต็มตัวรูปแบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยการฟาดฟัน (strike) การยื้อยุด (grappling) และการจับโยน (throwing) นอกเหนือไปจากการใช้อาวุธ โดยที่ทุกส่วนของร่างกายนั้นจะได้รับการใช้งานและอาจถูกโจมตีได้ ปันจักสีลัตไม่เพียงฝึกฝนเพื่อการป้องกันตัวในทางกายภาพ แต่ยังเพื่อความมุ่งหมายในทางจิตวิทยาด้วย[3]

ปันจักสีลัต
ยังเป็นที่รู้จักในชื่อปันจักสีลัตอินโดนีเซีย
มุ่งเน้นการป้องกันตัว
Hardnessแบบเต็มตัว, กึ่งเต็มตัว, แบบเบา
ประเทศต้นกำเนิดประเทศอินโดนีเซีย
ผู้มีชื่อเสียงIko Uwais, Yayan Ruhian, Cecep Arif Rahman
กีฬาโอลิมปิกไม่
ประเพณีปันจักสีลัต *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
ปันจักสีลัตในนาข้าวที่จังหวัดสุมาตราตะวันตก
ประเทศ อินโดนีเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล, งานช่างฝีมือดั้งเดิม
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง01391
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2019 (คณะกรรมการสมัยที่ 14)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เปอร์ซีลัต (PERSILAT) หรือสหพันธ์ปันจักสีลัตระหว่างประเทศ (International Pencak Silat Federation: IPSF) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งควบคุมปันจักสีลัต และเป็นองค์การหนึ่งเดียวในด้านปันจักสีลัตที่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียรับรอง[4] เปอร์ซีลัตก่อตั้งขึ้นที่จาการ์ตาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1980 และประกอบด้วยองค์การต่าง ๆ ในระดับชาติของบรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย[5][6]

ปันจักสีลัตได้รับการบรรจุเข้าไว้ในซีเกมส์และการแข่งขันรายการอื่น ๆ ในระดับภูมิภาค โดยเปิดตัวในซีเกมส์ 1987 และเอเชียนเกมส์ 2018 ซึ่งจัดขึ้นในอินโดนีเซียทั้งคู่[7]

ยูเนสโกรับรองให้ปันจักสีลัตเป็นผลงานชิ้นเอกในมรดกมุขปาฐะและจับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2019[8]

อ้างอิง

แก้
  1. Donn F. Draeger (1992). Weapons and fighting arts of Indonesia. Rutland, Vt. : Charles E. Tuttle Co. ISBN 978-0-8048-1716-5.
  2. "Pencak Silat".
  3. "Pencak Silat: Techniques and History of the Indonesian Martial Arts". Black Belt Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2015.
  4. "Pencak Silat recognized by OCA". ocasia.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-03.
  5. "PERSILAT was founded on March 11, 1980". berolahraga.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-03.
  6. Douglas, Ian. "The Politics of Inner Power:The Practice of Pencak Silat in West Java" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
  7. "Pencak Silat | Asian Games 2018 Jakarta Palembang". Asian Games 2018 Jakarta Palembang (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-09-02.
  8. "'Pencak silat' given UNESCO intangible world heritage distinction". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.