ปัญหาสิ่งแวดล้อมในสหรัฐ
มีปัญหาสิ่งแวดล้อมจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ
การเคลื่อนไหวและแนวคิด
แก้ศตวรรษที่ 21
แก้ทั้งแนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาตินิยม และสิ่งแวดล้อมนิยม ปรากฏในการอภิปรายทางการเมืองในช่วงยุคก้าวหน้าในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยมีสามตำแหน่งหลัก ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว—อันประกอบไปด้วย บริษัทไม้แปรรูปและเหมืองแร่ ที่ควรจะได้รับอนุญาตในการกระทำใด ๆ ต่อทรัพย์สินที่พวกเขาต้องการ[1]
แนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาตินิยม นำโดยประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ และกิฟฟอร์ด พินโชท์ ผู้เป็นพันธมิตรใกล้ชิด กล่าวว่าวิธีการระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมนั้นมีความสิ้นเปลืองมากเกินไปและไม่มีประสิทธิภาพ ในหลาย ๆ กรณี พวกเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่าทรัพยากรทางธรรมชาติโดยส่วนใหญ่ในรัฐทางตะวันตกต่างมีเจ้าของแล้วโดยรัฐบาลกลาง พวกเขาได้ถกเถียงกันถึงแนวทางที่ดีที่สุดของการดำเนินการ ซึ่งเป็นแผนระยะยาวที่คิดโดยผู้เชี่ยวชาญของประเทศ เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาวจากทรัพยากรทางธรรมชาติ
แนวคิดสิ่งแวดล้อมนิยม เป็นตำแหน่งที่สาม นำโดยจอห์น มูเยอร์ (ค.ศ. 1838–1914) ความรักของมูเยอร์ที่มีต่อธรรมชาติ ทำให้เขาเป็นชาวอเมริกันผู้มีอิทธิพลที่สุดในด้านสิ่งแวดล้อมนิยม มูเยอร์ได้เทศน์แจงว่าธรรมชาติเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมนุษย์เป็นผู้บุกรุก ซึ่งควรที่จะตระหนักแต่กลับไม่พัฒนา เขาได้ก่อตั้งเซียร์ราคลับ ที่ยังคงเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม มูเยอร์เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการกำหนดตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อม ในการอภิปรายระหว่างแนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมนิยม
แนวคิดสิ่งแวดล้อมนิยมได้สอนว่าธรรมชาติแทบจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมนุษย์เป็นผู้บุกรุก แนวคิดนี้ได้อนุญาตสำหรับการท่องเที่ยวแบบจำกัด (เช่นการเดินป่า) แต่ไม่เห็นด้วยกับการมีรถยนต์ในอุทยานแห่งชาติ และแนวคิดนี้ไม่เห็นด้วยกับการตัดไม้บนที่ดินสาธารณะเป็นอย่างมาก และประณามอย่างรุนแรงต่อเขื่อนที่โรสเวลต์ได้รับการสนับสนุนสำหรับแหล่งน้ำ, ไฟฟ้า และการควบคุมน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งที่มีต่อเขื่อนเฮชเฮชชีในอุทยานแห่งชาติโยเซมิตี ซึ่งโรสเวลต์ได้ทำการอนุมัติ และเป็นเครื่องมือผลิตน้ำประปาของซานฟรานซิสโก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แก้สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล มากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีน[2] นโยบายพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกาได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ถึงการเรียกร้องให้หลายประเทศได้มีบทบาทเป็นผู้นำในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน[3] โดยที่สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในสองประเทศที่ไม่ได้ลงนามในพิธีสารเกียวโต
พลังงาน
แก้ตั้งแต่ประมาณ 86% ของพลังงานทุกประเภทที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ส่งผลต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจก นโยบายพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการกำหนดโดยรัฐบาลกลาง, รัฐ และหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น ซึ่งเน้นถึงปัญหาด้านการผลิตพลังงาน, การแบ่งปัน และการบริโภค เช่น ร่างประมวลข้อบังคับอาคาร และความก้าวหน้าไมล์สะสมแก๊ส
อ้างอิง
แก้- ↑ Samuel P. Hays, Conservation and the Gospel of Efficiency: The Progressive Conservation Movement, 1890-1920 (1959)
- ↑ Vidal, John, and David Adam (2007-06-19). "China Overtakes US as World's Biggest CO2 Emitter". Guardian. สืบค้นเมื่อ 2007-06-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "U.S. Faces International Pressure on Climate Change Policy". Online NewsHour. PBS. 2005-07-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- Bates, J. Leonard. "Fulfilling American Democracy: The Conservation Movement, 1907 to 1921", The Mississippi Valley Historical Review, (1957), 44#1 pp. 29–57. in JSTOR
- Brinkley, Douglas G. The Wilderness Warrior: Theodore Roosevelt and the Crusade for America, (2009) excerpt and text search
- Cawley, R. McGreggor. Federal Land, Western Anger: The Sagebrush Rebellion and Environmental Politics (1993), on conservatives
- Flippen, J. Brooks. Nixon and the Environment (2000).
- Hays, Samuel P. Beauty, Health, and Permanence: Environmental Politics in the United States, 1955–1985 (1987), the standard scholarly history
- Hays, Samuel P. A History of Environmental Politics since 1945 (2000), shorter standard history
- King, Judson. The Conservation Fight, From Theodore Roosevelt to the Tennessee Valley Authority (2009)
- Nash, Roderick. Wilderness and the American Mind, (3rd ed. 1982), the standard intellectual history
- Rothman, Hal K. The Greening of a Nation? Environmentalism in the United States since 1945 (1998)
- Scheffer, Victor B. The Shaping of Environmentalism in America (1991).
- Sellers, Christopher. Crabgrass Crucible: Suburban Nature and the Rise of Environmentalism in Twentieth-Century America (2012)
- Strong, Douglas H. Dreamers & Defenders: American Conservationists. (1988) online edition เก็บถาวร 2007-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, good biographical studies of the major leaders
- Turner, James Morton, "The Specter of Environmentalism": Wilderness, Environmental Politics, and the Evolution of the New Right. The Journal of American History 96.1 (2009): 123-47 online at History Cooperative