ปอร์โตฟลาวีอา (อิตาลี: Porto Flavia) เป็นอ่าวริมทะเล ตั้งอยู่ใกล้กับเนบีดาในคอมมูนอีเกลซีอัส ซาร์ดีญาใต้ ประเทศอิตาลี สร้างขึ้นในปี 1923–24 และใช้งานเป็นศูนย์กลางการผลิตแร่ของมาซูอาบนชายฝั่งของซาร์ดีญาในแถบอีเกลซีเอนเต ชื่อของปอร์โตนี้ตั้งตามฟลาวีอา เวเชลลี (Flavia Vecelli) ลูกสาวของวิศวกรและผู้ออกแบบ เซซาเร เวเชลลี (Cesare Vecelli)[1] ลักษณะของอ่าวถือว่าโดดเด่นและพิเศษกว่าทุกที่ในโลก รวมถึงเป็นผลงานวิศวกรรมชั้นยอดของโลกในเวลานั้น[2]

ปลายทางสำหรับขนส่งของปอร์โตฟลาวีอา

การออกแบบและก่อสร้าง แก้

ปอร์โตฟลาวีอาออกแบบโดยวิศวกรชาวอิตาลี เซซาเร เวเชลลี (Cesare Vecelli) โดยเจ้าของเหมืองต้องการปรับปรุงเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งผลิตภัณฑ์จากเหมืองขึ้นบนเรือกลไอน้ำ เวเชลลีทำการสำรวจพื้นที่ในแถบมาซูอา และพบกับหน้าผาสูงชันด้านหน้าของสแต็กที่ชื่อ ปันดีซุจเจโร (Pan di Zucchero) ทะเลตรงนี้ลึกพอและปลอดภัยดีจากลมและคลื่นลมทำให้สามารถทอดสมอได้ปลอดภัยในขณะที่ขนส่งแร่ลงมาจากหน้าผาโดยใช้แรงโน้มถ่วง[3]

หลังการสำรวจพื้นที่นานหนึ่งปีเต็ม เขาได้ออกแบบแผนโดยละเอียดสำหรับสร้างอุโมงค์สองอุโมงค์ที่วางซ้อนกัน (superimposed tunnels) แต่ละอุโมงค์มีความยาว 600 เมตร (2,000 ฟุต) และเชื่อมต่อเข้ากับพื้นที่เก็บแร่ที่ผ่านขบวนการแล้วจำนวนเก้าโถงลักษณะเป็นแนวตั้ง ในอุโมงค์อันบนมีติดตั้งรถไฟฟ้าเพื่อขนส่งจากปลายทางฝั่งหน้าผาไปยังพื้นที่เก็บแร่ แร่จะถูกเทออกมาโดยใช้แรงโน้มถ่วงลงบนโครงสร้างคล้ายประตูกักน้ำ (hatches) บนยอดของพื้นที่เก็บแร่ ส่วนในอุโมงค์ล่างเป็นสายพานสำหรับรับแร่จากที่เก็บแร่ไปยังสายพานตวามยาว 16-เมตร (52-ฟุต) ที่สามารถขนส่งแร่เต็มความจุของเรือกลไอน้ำได้ภายในสองวัน ส่วนที่เก็บแร่ที่เจาะเข้าไปในหินนั้นสามารถบรรจุแร่ได้ถึง 10,000 เมตริกตัน (11,000 short ton)[1]

ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการระเบิดเหมืองแร่และปีนเขาได้ถูกว่าจ้างให้มาช่วยในการก่อสร้าง โดยทำงานกันเป็นกะกลางวันกับกลางคืนเพื่อให้สร้างเสร็จทันตามเวลาที่ตั้งไว้ ในการก่อสร้างนี้ มาตรการความปลอดภัยต่าง ๆ ได้ถูกละเลยอย่างหนักเพื่อให้สร้างเสร็จเร็ว กระนั้นก็ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตในระหว่างการก่อสร้าง[4]

การใช้งาน แก้

ปอร์โตฟลาวีอาเริ่มเปิดใช้งานในปี 1924 และช่วยลดค่าใช้จ่ายลงมากถึง 70% และข่วยให้วีแอล มองตาเญ (Vieille Montagne) สามารถกินส่วนแบ่งในตลาดได้อย่างรวดเร็ว การก่อสร้างปอร์โตฟลาวีอาคุ้มทุนในเวลาเพียงสองปี และได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานทางวิศวกรรมที่มหัศจรรย์ในวงการธุรกิจเหมืองแร่ ในขณะเดียวกัน เหมืองแร่อื่น ๆ ในพื้นที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้อุโมงค์และอ่าวของปอร์โตฟลาวีอา ทำให้ยังคงต้องใช้แรงงานมุนษย์และการขนส่งทางรางที่เวลานานกว่า[5] ในสภาวการณ์ปกติ สามารถขนส่งแร่มากกว่า 500 เมตริกตัน (550 short ton) ลงเรือในเวลาหนึ่งชั่วโมง[6]

ปอร์โตฟลาวีอาลดทอนความสำคัญลงในทศวรรษ 1960s พร้อมกับการเสื่อมลงของธุรกิจเหมืองแร่ในแถบซูลชีส-อัเกลเชียนเต ก่อนจะปิดใช้งานลงในทศวรรษ 1990s หลังการผลิตแร่ในพื้นที่มาซูอาปิดตัวลง ปัจจุบันปอร์โตฟลาวีอาเป็นของ IGEA SpA บริษัทสาธารณะที่มีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาเหมืองแร่เก่าแก่ในพื้นที่ ผอร์โตฟลาวีอาได้รับการคุ้มครองโดยยูเนสโก ปัจจุบันมีบริการนำชมอุโมงค์ที่นำชมโดยอดีตคนงานและวิศวกรเหมืองของ IGEA[7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Miniera di Masua - Porto Flavia". Miniere di Sardegna. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  2. "Nebida Spiagge". Nebida.com. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  3. "Le Miniere di Porto Flavia in Sardegna". Touring Club. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  4. "Porto Flavia, una miniera di ricordi". Myperfectworld. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.. The fact is confirmed in the guided tours.
  5. Onsite panels and guided tour
  6. "Porto Flavia La più straordinaria opera d'ingegneria mineraria presente in Sardegna". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-19. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  7. "Porto Flavia". IGEA SpA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-29. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้