ปลาข้อมือนาง
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Folifer
Wu, 1977
สปีชีส์: F.  brevifilis
ชื่อทวินาม
Folifer brevifilis
(Peters, 1881)
ชื่อพ้อง[1]
  • Barbus bonvaloti Vaillant, 1893
  • Barbus brevifilis Peters, 1881 [ชื่อดั้งเดิม]
  • Barbus longirostrum Kimura, 1934
  • Barbus szechwanensis Tchang, 1931
  • Labeobarbus brevifilis (Peters, 1881)
  • Tor brevifilis (Peters, 1881)
  • Tor brevifilis brevifilis (Peters, 1881)
  • Tor brevifilis hainanensis Wu, 1977

ปลาข้อมือนาง (เวียดนาม: cá ngựa bắc; ชื่อวิทยาศาสตร์: Folifer brevifilis) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Folifer[1] โดยสันนิษฐานว่า มาจากภาษาละตินคำว่า foli หมายถึง "ใบไม้" และ ifer หมายถึง "แบก" รวมความแล้วหมายถึงลักษณะของปากของปลาชนิดนี้ที่อยู่ด้านล่าง และ brevis หมายถึง "เล็ก, น้อย" และ filum หมายถึง "หนวด" หรือ "เส้นด้าย" อันหมายถึง หนวดที่ลักษณะสั้นมาก[2]

มีลำตัวกลมเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อ 1 ชิ้น ดูแลเหมือนหนวดขนาดสั้น เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินแวววาวอมเขียว ด้านบนมีสีคล้ำเล็กน้อย ข้างแก้มมีแต้มสีเหลือง ครีบจางใส ครีบหลังสูง ก้านครีบอันใหญ่สุดมีจักละเอียดที่ขอบด้านท้าย

มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินตะไคร่น้ำตามก้อนหินใต้พื้นน้ำและโขดหิน พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลแรงและสะอาดในหลายประเทศ เช่น ตอนใต้ของจีน, เวียดนาม, ลาว ในประเทศไทยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตาก[3] และยังมีรายงานพบที่เกาะไหหลำและฮ่องกงอีกด้วย โดยตัวอย่างต้นแบบแรกถูกส่งมาจากฮ่องกงไปยังจีนเพื่อทำการอนุกรมวิธาน

มีการจับขายเป็นปลาสวยงาม แต่พบได้น้อยและเลี้ยงดูยากมาก[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Folifer brevifilis (Peters, 1881)". WoRMS taxon details. สืบค้นเมื่อ 28 December 2015.
  2. 2.0 2.1 "Folifer brevifilis (PETERS, 1881)". seriouslyfish.com. สืบค้นเมื่อ 28 December 2015.
  3. ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืด. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2547. 195 หน้า. หน้า 140. ISBN 9744841486

แหล่งข้อมูลอื่น แก้