ปรากฏการณ์ปลาดุก

ปรากฏการณ์ปลาดุก หรือ ปรากฏการณ์ปลาดุกทะเล (อังกฤษ: Catfish effect) เป็นปรากฏการณ์ที่คู่แข่งที่แข็งแกร่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ผู้ที่อ่อนแอสามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น[1] ในการดำเนินการทางธุรกิจมีการนำแนวคิดนี้ไปใช้ในองค์กรให้เกิดผลลัพท์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องปรับปรุงตนเองเป็นประจำ เรียกว่า การจัดการปลาดุก [2]

ในนอร์เวย์ ปลาแฮริงสดมีราคาแพงกว่า ปลาแฮริงแช่แข็งหลายเท่า ราคาที่ดีกว่าจากเนื้อสัมผัสและรสชาติที่ดีกว่า มีเรื่องเล่าว่า มีเรือเพียงลำเดียวเท่านั้นที่สามารถนำปลาแฮริงสดกลับฝั่งได้ และนายเรือได้เก็บวิธีการของเขาไว้เป็นความลับ ต่อมาหลังจากที่เขาเสียชีวิตมีคนพบว่ามี ปลาดุกทะเล 1 ตัวอยู่ในถังเก็บปลาใต้ท้องเรือ สังเกตพบปลาดุกว่ายน้ำไปรอบถัง และปลาแฮริงต้องพยายามว่ายเลี่ยงปลานักล่าตัวนี้ ระดับกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นนี้ช่วยให้ปลาแฮริงมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดแทนที่จะอยู่นิ่ง ๆ ในลักษณะเดียวกับตัวละครชื่อ Vince จากภาพยนตร์เรื่อง Catfish

ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการปลาดุก เป็นวิธีการที่ใช้ในการกระตุ้นทีม เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนรู้สึกถึงการแข่งขันที่รุนแรง จึงจะรักษาความสามารถในการแข่งขันของทั้งทีมได้

ที่มา แก้

ไม่ทราบที่มาที่แน่ชัด มีการพูดถึง ปรากฏการณ์ปลาดุก น้อยมากในวรรณกรรมภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามไม่มีเอกสารจากนอร์เวย์หรือประเทศอื่น ๆ ยกเว้นวรรณกรรมภาษาจีนที่มีการอ้างถึงและกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในวรรณกรรมจีนเช่นการวิจัยในห้องสมุด [3][4]

อ้างอิง แก้

  1. Bingxin Hu (2004). Breaking Grounds. Homa & Sekey Books. ISBN 1-931907-15-3
  2. "Haier: A Sledgehammer Start to Catfish Management". IndustryWeek. 2013-10-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-11.
  3. "Catfish Effect and Human Resources Management of Modern Libraries". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-28.
  4. https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1750341