ปรัชญานิเวศวิทยา
ปรัชญานิเวศวิทยา เป็นแนวคิดที่อยู่ภายใต้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาย่อยของปรัชญา ประเด็นทางปรัชญานิเวศวิทยาหลักมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติและการประยุกต์ใช้นิเวศวิทยา ประเด็นทางศีลธรรมและจุดเชื่อมโยงระหว่างสถานภาพของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ [1] หัวข้อนี้ยังคาบเกี่ยวกับอภิปรัชญา ภววิทยาและญาณวิทยา ซึ่งได้พยายามตอบปัญหาทางอภิปรัชญา ญาณวิทยาและศีลธรรมที่เกี่ยวกับจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมและนโยบายสาธารณะ [2]
จุดมุ่งหมายของปรัชญานิเวศวิทยา คือ การชี้แจงและวิจารณ์ 'หลักการแรก' ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานพื้นฐานที่มีอยู่ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แม้ว่าจะยังไม่มีฉันทามติเกี่ยวกับสิ่งที่ปรัชญานิเวศวิทยาสันนิษฐานและการให้คำจำกัดความของนิเวศวิทยานั้นขึ้นอยู่กับการอภิปราย แต่ก็มีประเด็นสำคัญบางประการที่นักปรัชญาด้านนิเวศวิทยาพิจารณาเมื่อพิจารณาบทบาทและจุดประสงค์ของสิ่งที่นักนิเวศวิทยาปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น สาขาวิชานี้พิจารณาถึง 'ลักษณะของธรรมชาติ' [2] ประเด็นด้านวิธีวิทยาและแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยทางนิเวศวิทยาและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหล่านี้ภายในสภาพแวดล้อมตามบริบท [3]
ปรัชญากล่าวถึงคำถามที่ประกอบขึ้นจากการศึกษาทางนิเวศวิทยาและนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันในประวัติศาสตร์ของนิเวศวิทยา จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมในวิทยาศาสตร์นิเวศวิทยา และการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ [3]
ภูมิหลังแก้ไข
ประวัติศาสตร์แก้ไข
นิเวศวิทยาถือว่าเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างใหม่ โดยได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการในช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้าและต้นศตวรรษที่ยี่สิบ แม้ว่าจะยังไม่มีการนำเสนอคำจำกัดความของนิเวศวิทยา แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันในคำถามที่เสนอโดยนักนิเวศวิทยา
Stauffer ผู้ซึ่งสนับสนุนในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ภายนอกระหว่างสิ่งมีชีวิตได้ถือว่านิเวศวิทยาเป็น "ศาสตร์แห่งเศรษฐกิจ [และ] นิสัย" [4] Ernst Haeckel (1834-1919) ผู้ซึ่งเป็นนักสัตววิทยาชาวเยอรมันได้ยอมรับนิเวศวิทยาให้เป็นสาขาวิทยาศาสตร์ในปี ค.ศ.1866 อย่างเป็นทางการ Haeckel เรียกว่า 'Ecology' ในหนังสือของเขา Generelle Morphologie der Organismen (1866)[4] [5] มีความพยายามนำเสนอการสังเคราะห์สัณฐานวิทยา อนุกรมวิธาน และทฤษฎีวิวัฒนาการของสัตว์เข้าด้วยกัน [6]
Haeckel มุ่งที่จะปรับแต่งแนวคิดเรื่องนิเวศวิทยาและเสนอพื้นที่การศึกษาใหม่เพื่อตรวจสอบการเติบโตและความคงที่ของจำนวนประชากร[7] ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) และผลงานของเขา Origin of Species (1859) [4] เขาได้แสดงแนวคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นครั้งแรกในฐานะคำที่ใช้แทนกันได้ซึ่งประกอบขึ้นภายในขอบเขตของชีววิทยาและลักษณะของ 'สรีรวิทยาของความสัมพันธ์' [4] Stauffer Haeckel ได้นิยามคำศัพท์ "นิเวศวิทยา" (โดยแปลเป็นภาษาอังกฤษ) อย่างกว้างๆ ว่าเป็น “ทุกสรรพสิ่งของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม รวมถึง 'เงื่อนไขสำหรับการดำรงอยู่' ทั้งหมด” [4] [7] คำศัพท์ใหม่นี้ใช้เพื่อแยกแยะการศึกษาในภาคสนาม ตรงกันข้ามกับการศึกษาในห้องทดลอง [8] เขาขยายคำจำกัดความของนิเวศวิทยานี้หลังจากพิจารณาทฤษฎีวิวัฒนาการและการคัดสรรโดยธรรมชาติของดาร์วิน
คำจำกัดความของนิเวศวิทยาแก้ไข
ยังไม่มีฉันทามติที่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักปรัชญาเกี่ยวกับคำจำกัดความที่แน่นอนของนิเวศวิทยา อย่างไรก็ตาม มีความคล้ายคลึงกันในวาระการวิจัยที่ช่วยแยกแยะระเบียบวิธีนี้ออกจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น
นิเวศวิทยารองรับโลกทัศน์ทางนิเวศวิทยา [9] ซึ่งเน้นย้ำและพัฒนาปฏิสัมพันธ์และความเชื่อมโยงผ่านหลายประเด็น:
- แนวคิดที่ว่าสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตเป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงถึงกันในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
- สิ่งมีชีวิตมีลักษณะเฉพาะที่แสดงออกถึงความเกี่ยวข้องกัน
- จำเป็นต้องเข้าใจระบบของพื้นที่ทางชีววิทยาและส่วนประกอบองค์รวมมากกว่าที่จะเข้าใจหน่วยย่อยของสิ่งมีชีวิต (หรือที่เรียกว่าองค์รวม) [10]
- การเกิดขึ้นของลัทธิธรรมชาตินิยม โดยที่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเดียวกัน [11]
- Non-anthropocentrism ซึ่งเป็นการปฏิเสธ anthropocentrism และมุมมองเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่เป็นเอกลักษณ์ศูนย์กลางซึ่งควบคุมโดยความเชื่อที่ว่าคุณค่าในโลกที่ไม่ใช่มนุษย์ คือ การรับใช้ผลประโยชน์ของมนุษย์ ลัทธิ Non-anthropocentrism กำหนดว่าโลกที่ไม่ใช่มนุษย์ยังคงรักษาคุณค่าและไม่ได้ให้บริการเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ [12]
- ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมโดยมนุษย์ทำให้จำเป็นต้องเกิดจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม [12] [2]
นิเวศวิทยาแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก ได้แก่ นิเวศวิทยาโรแมนติก นิเวศวิทยาทางการเมืองและนิเวศวิทยาทางวิทยาศาสตร์ นิเวศวิทยาโรแมนติกหรือที่เรียกว่านิเวศวิทยาด้านสุนทรียศาสตร์หรือวรรณกรรมเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบกับอุดมการณ์ที่มีมานุษยวิทยาและจักรนิยมได้นำเสนอเป็นแกนหลักในยุโรปและอเมริกาสมัยใหม่ในศตวรรษที่สิบเก้า โดยเฉพาะในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม [13] บุคคลสำคัญในยุคนี้ ได้แก่ William Wordsworth (1770-1862), [14] John Muir (1838-1914), [15] และ Ralph Waldo Emerson (1803-1882) [16] ขอบเขตของนิเวศวิทยาโรแมนติกยังให้อิทธิพลต่อการเมือง และความสัมพันธ์ทางการเมืองโดยจริยศาสตร์ที่เน้นย้ำถึงนิเวศวิทยาทางการเมือง [2]
นิเวศวิทยาทางการเมืองหรือที่เรียกว่านิเวศวิทยาเชิงคุณค่า (คุณวิทยา) ได้พิจารณาผลกระทบทางสังคมและการเมืองโดยรอบภูมิทัศน์ทางนิเวศวิทยา [17] [18] คำถามพื้นฐานบางข้อที่นักนิเวศวิทยาทางการเมืองมักถามเน้นที่ประเด็นจริยศาสตร์ระหว่างธรรมชาติกับสังคม [19] Aldo Leopold นักสิ่งแวดล้อมชาวอเมริกัน (1886-1948) ยืนยันว่าควรมีการขยายขอบเขตจริยศาสตร์ให้ครอบคลุมพื้นที่และชุมชนที่มีชีวิต มากกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคลเท่านั้น [20] ในแง่นี้ นิเวศวิทยาทางการเมืองถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ประการสุดท้าย นิเวศวิทยาทางวิทยาศาสตร์ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ นิเวศวิทยา ได้กล่าวถึงเรื่องราวหลัก เช่น การทำความเข้าใจบทบาทของนักนิเวศวิทยาและสิ่งที่พวกเขาศึกษา และประเภทของระเบียบวิธีวิจัยและประเด็นเชิงแนวคิดที่ล้อมรอบการพัฒนาของการศึกษาเหล่านี้ และประเด็นปัญหาอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน
นิเวศวิทยาร่วมสมัยแก้ไข
การให้คำจำกัดความนิเวศวิทยาร่วมสมัยต้องพิจารณาถึงหลักการพื้นฐานบางประการ กล่าวคือ หลักการของระบบและวิวัฒนาการ ระบบทำให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการ ซึ่งส่วนที่เชื่อมต่อถึงกันสร้างเอกลักษณ์แบบองค์รวม ไม่ถูกแยกออกหรือคาดเดาได้จากส่วนประกอบ [6] วิวัฒนาการเป็นผลมาจาก 'รุ่นของความหลากหลาย' เป็นเครื่องมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานบางอย่างที่มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทำให้เกิดวิวัฒนาการผ่านการอยู่รอด และเป็นการผลิตการเปลี่ยนแปลงที่หล่อหลอมระบบนิเวศ กระบวนการวิวัฒนาการนี้เป็นศูนย์กลางของนิเวศวิทยาและชีววิทยา [21] มีข้อกังวลหลักสามประการที่นักนิเวศวิทยาโดยทั่วไปเห็นด้วยกับธรรมชาตินิยม สัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ และขอบเขตที่ครอบคลุมพื้นที่ของนิเวศวิทยา
Frederick Ferre (เฟรเดอริค เฟอร์เร) เป็นนักปรัชญาที่ให้ความหมายหลักที่แตกต่างกันสองประการสำหรับธรรมชาติจากงานเขียน "ความเป็นอยู่และคุณค่า: ไปสู่อภิปรัชญาหลังสมัยใหม่ที่สร้างสรรค์ " (1996) [22] คำจำกัดความแรกไม่ถือว่าธรรมชาติเป็น 'สิ่งประดิษฐ์จากการดัดแปลงของมนุษย์', [2] และในแง่นี้ ธรรมชาติประกอบขึ้นจากสิ่งที่ไม่ได้สร้างขึ้น คำจำกัดความที่สองกำหนดธรรมชาติว่าไม่ใช่แนวความคิดเหนือธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งประดิษฐ์ของการยักย้ายโดยมนุษย์ในกรณีนี้ [13] [2] อย่างไรก็ตาม มีความสับสนในความหมายเนื่องจากความหมายแฝงทั้งสองถูกนำมาใช้แทนกันได้ในการประยุกต์ใช้ในบริบทที่แตกต่างกันโดยนักนิเวศวิทยาที่หลากหลาย
ธรรมชาตินิยมแก้ไข
ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับลัทธิธรรมชาตินิยมในปรัชญานิเวศวิทยา อย่างไรก็ตาม การใช้ในปัจจุบันหมายความถึงแนวคิดที่เน้นย้ำระบบที่มีความเป็นจริงภายใต้ธรรมชาติ โดยไม่ขึ้นกับโลก 'เหนือธรรมชาติ' หรือการดำรงอยู่ [11] ลัทธิธรรมชาตินิยมยืนยันแนวความคิดที่ว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพียงพอที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริง นักธรรมชาติวิทยาที่สนับสนุนมุมมองนี้มองว่าการดำเนินงานทางจิต ชีวภาพ และสังคมเป็นหน่วยงานทางกายภาพ ตัวอย่างเช่น เมื่อพิจารณาจากกรวดหรือการดำรงอยู่ของมนุษย์ การดำรงอยู่เหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกันภายในพื้นที่และเวลาเดียวกัน การประยุกต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังคงมีความเกี่ยวข้องและเพียงพอในขณะที่อธิบายกระบวนการเชิงพื้นที่มีเอกลักษณ์ทางกายภาพในฐานะของการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต [11]
วิธีวิทยาแก้ไข
ลัทธิองค์รวม (โฮลิสม์) vs ลัทธิลดทอนความเป็นวิทยาศาสตร์ (รีดักชั่น)แก้ไข
การอภิปรายทางวิทยาศาสตร์แบบองค์รวมและการลดทอนตวามเป็นวิทยาศาสตร์มีความครอบคลุมเกี่ยวกับภววิทยา ระเบียบวิธีวิทยา และญาณวิทยา [23] คำถามทั่วไปเกี่ยวข้องกับการพิจารณาว่าวิธีการทำความเข้าใจวัตถุนั้นผ่านการวิเคราะห์ที่สำคัญขององค์ประกอบ (การลดทอน) หรือ 'บริบท' ของส่วนประกอบ (แบบองค์รวม) เพื่อรักษาคุณค่าทางปรากฏการณ์วิทยา [24] นักปรัชญาลัทธิ Holists ยืนยันว่าคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างมาจากสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ระบบนิเวศ และลักษณะเหล่านี้ไม่ได้นำมาใช้กับส่วนประกอบที่แยกจากกันอย่างไร การวิเคราะห์เฉพาะส่วนไม่เพียงพอในการรับความรู้ของทั้งหน่วย [23] ในอีกสเปกตรัมหนึ่ง กลุ่มลดทอนความเป็นวิทยาศาสตร์ได้โต้แย้งว่าส่วนต่างๆ เหล่านี้เป็นอิสระจากกัน [25] และความรู้ขององค์ประกอบนั้นให้ความเข้าใจในเอกลักษณ์ของส่วนประกอบ อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากเอกลักษณ์ไม่ได้หมายความเพียงแค่เอกภาพของผลรวมเท่านั้น แต่ยังเป็นการสังเคราะห์ระหว่างส่วนรวมทั้งหมดกับส่วนย่อยต่างๆ
เหตุผลนิยมกับประสบการณ์นิยมแก้ไข
เหตุผลนิยม ภายในนิเวศวิทยาทางวิทยาศาสตร์ วิธีการดังกล่าวยังคงมีความจำเป็นและมีความเกี่ยวข้องในบทบาทของพวกเขาในการสร้างทฤษฎีทางนิเวศวิทยาเพื่อเป็นแนวทาง ระเบียบวิธีที่ใช้ภายใต้แนวทางที่มีเหตุผลเริ่มเด่นชัดในปี ค.ศ. 1920 โดยแบบจำลองโลจิสติกส์ของ Alfred Lotka (1956) และ Vito Volterra (1926) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "สมการ Lotka-Volterra" ประสบการณ์นิยมกำหนดความจำเป็นในการทดสอบเชิงสังเกตและเชิงประจักษ์ ผลลัพธ์ที่ตามมาที่ชัดเจนของกระบวนทัศน์นี้คือการมีอยู่และการใช้ระเบียบวิธีแบบพหุนิยม แม้ว่าจะต้องมีแบบจำลองที่รวมเป็นหนึ่งที่เพียงพอสำหรับการประยุกต์ใช้ในนิเวศวิทยา และยังไม่มีการสร้างทฤษฎีพหุนิยมเช่นกัน
จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมแก้ไข
จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นเมื่อปี 1970 เพื่อตอบสนองต่อลัทธิมานุษยวิทยาแบบดั้งเดิม โดยศึกษาความหมายทางศีลธรรมระหว่างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม กระตุ้นจากความตระหนักเรื่องความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และท้าทาย ตำแหน่งทางจริยธรรมของมนุษย์ [26] ความเชื่อทั่วไปในปรัชญาสิ่งแวดล้อม คือ มุมมองที่ว่าหน่วยงานทางชีววิทยามีคุณค่าทางศีลธรรมและเป็นอิสระจากมาตรฐานของมนุษย์ [27] ภายในขอบเขตนี้มีสมมติฐานที่ใช้ร่วมกันว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมของมนุษย์อย่างเด่นชัดและที่ว่านี้เกิดจากข้อโต้แย้งแนวคิด anthropocentric ซึ่งพื้นฐานในการปฏิเสธมานุษยวิทยา คือ การหักล้างความเชื่อที่ว่าสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ไม่คู่ควรกับคุณค่า [28]
ปัญหาหลักในจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม คือ การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่มนุษย์สร้างขึ้นภายในชีวมณฑล ความพยายามที่จะตีความแบบไม่ใช่มานุษยวิทยามีความสำคัญต่อรากฐานทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม [28] ตัวอบ่างเช่น บรรพชีวินวิทยา ให้รายละเอียดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในฐานะส่วนสำคัญและเป็นสารตั้งต้นของการแผ่รังสีที่สำคัญ ผู้ที่มีมุมมองที่ไม่ใช่มานุษยวิทยาตีความการตายของไดโนเสาร์ว่าเป็นการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและหลักการของคุณค่าทางมานุษยวิทยา เนื่องจากนิเวศวิทยามีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับจริยศาสตร์ การทำความเข้าใจแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นต้องเข้าใจโลก ซึ่งเป็นบทบาทของนิเวศวิทยาและจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประเด็นหลักคือการรวมเอาสิ่งที่เป็นธรรมชาติเข้าไว้ในปัญหาด้านจริยศาสตร์ด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิตสำนึก ความรู้สึก สิ่งมีชีวิต และสิ่งที่ดำรงอยู่ [29]
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์แก้ไข
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีบทบาทในการตั้งคำถามต่อประเด็นที่นำเสนอในชีววิทยาและนิเวศวิทยาเชิงอนุรักษ์ แบบจำลองส่วนใหญ่มีสองประเภทที่ใช้ในการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์กับการปฏิบัติในระบบนิเวศ [30] แบบแรกคือแบบจำลองเชิงพรรณนา ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเติบโตของประชากรชนิดเดียว และแบบจำลองหลายสายพันธุ์ เช่น แบบจำลองแบบนักล่า-เหยื่อของ Lotka-Volterra [30] หรือแบบจำลองแบบโฮสต์-ปรสิตของ Nicholson-Baily [31] แบบจำลองเหล่านี้อธิบายกิจกรรมเชิงพฤติกรรมผ่านการทำให้เป้าหมายเป็นอุดมคติ ประเภทที่สองคือแบบจำลองเชิงบรรทัดฐาน ซึ่งอธิบายสถานะปัจจุบันของตัวแปรและลักษณะการทำงานของตัวแปรบางตัว [27] [7]
ในเชิงนิเวศวิทยา ปฏิสัมพันธ์ทางชีววิทยาที่ซับซ้อนจำเป็นต้องมีคำอธิบาย ซึ่งเป็นที่ที่แบบจำลองใช้เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ตัวอย่างเช่น การระบุคำอธิบายของสิ่งมีชีวิตบางชนิดและความอุดมสมบูรณ์ของประชากรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจบทบาทของนิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้สมการทำให้เกิดความโน้มเอียงต่อการทำนายหรือแบบจำลองเพื่อแนะนำคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ยังให้ข้อมูลสนับสนุนเชิงบริบทเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ในวงกว้างและเป็นสากลมากขึ้นด้วย [30]
จุดประสงค์ของแบบจำลองเหล่านี้และความแตกต่างของแบบจำลองเชิงบรรทัดฐานและแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ก็คือ ความแตกต่างในมาตรฐานของแบบจำลองเหล่านี้นำมาซึ่งการใช้งานที่แตกต่างกัน [32] แบบจำลองเหล่านี้ช่วยอธิบายผลลัพธ์ของการตัดสินใจ และยังช่วยแก้ไขปัญหาการตัดสินใจของกลุ่ม ตัวอย่างเช่น แบบจำลองทางคณิตศาสตร์รวมการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อมของผู้คนภายในกลุ่มแบบองค์รวม แบบจำลองนี้ช่วยแสดงค่าของสมาชิกแต่ละคน และการถ่วงน้ำหนักของความเคารพในเมทริกซ์ แบบจำลองจะส่งผลสุดท้าย ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการดำเนินการหรือวิธีการแสดงปริมาณบางอย่าง แบบจำลองอาจถูกจำกัดโดยจะถือว่าไม่ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอจำนวนอุดมคติในแบบจำลองอีกด้วย [30]
ข้อวิจารณ์แก้ไข
กระบวนการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นำเสนอความแตกต่างระหว่างความเป็นจริงและทฤษฎี หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้แบบจำลองกับปรากฏการณ์จริงที่แบบจำลองเหล่านี้มุ่งหมายจะเป็นตัวแทน [33] นักวิจารณ์เกี่ยวกับการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในระบบนิเวศตั้งคำถามถึงการใช้งานและขอบเขตของความเกี่ยวข้อง โดยได้รับแจ้งจากความไม่สมดุลในกระบวนการสืบสวนและข้อเสนอทางทฤษฎี จากคำกล่าวของ Weiner (1995) แบบจำลองเชิงกำหนดนั้นไม่มีประสิทธิภาพในระบบนิเวศ [33] Weiner โต้แย้งว่า แบบจำลอง Lotka-Volterra ไม่ได้ให้ผลการคาดการณ์ที่สามารถทดสอบได้ [34] ในกรณีที่แบบจำลองทางทฤษฎีภายในนิเวศวิทยาทำให้เกิดการคาดการณ์ที่ทดสอบได้ แบบจำลองนั้นก็ถูกหักล้างไป [35]
วัตถุประสงค์ของ แบบจำลอง Lotka-Volterra คือ การติดตามปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักล่าและเหยื่อ และวัฏจักรประชากรของพวกมัน รูปแบบปกติยืนยันว่าประชากรนักล่าติดตามความผันผวนของประชากรเหยื่อ [21] ตัวอย่างเช่น เมื่อจำนวนเหยื่อเพิ่มขึ้น ผู้ล่าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน และในจำนวนเหยื่อที่ลดลงเช่นเดียวกัน ประชากรผู้ล่าก็ลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม Weiner โต้แย้งว่าในความเป็นจริง ประชากรเหยื่อยังคงรักษาวัฏจักรการแกว่งของมันไว้ แม้ว่าผู้ล่าจะถูกลบออก และเป็นตัวแทนปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่ถูกต้อง [34] การวิพากษ์วิจารณ์ว่าการทำให้เป็นอุดมคติมีอยู่ในแบบจำลองและการประยุกต์ใช้สิ่งนี้อย่างไรนั้นยังขาดระเบียบวิธี พวกเขายังยืนยันว่าการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ภายในระบบนิเวศนั้นเป็นการทำให้ความเป็นจริงง่ายเกินไป และเป็นการบิดเบือนความจริงหรือการนำเสนอระบบทางชีววิทยาที่ไม่เพียงพอ [1]
การประยุกต์ใช้แบบจำลองที่เรียบง่ายหรือซับซ้อนก็ขึ้นอยู่กับการอภิปรายด้วยเช่นกัน มีข้อกังวลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของแบบจำลอง ซึ่งความซับซ้อนของระบบไม่สามารถจำลองแบบหรือจับภาพได้อย่างเพียงพอด้วยแบบจำลองที่ซับซ้อน
ดูเพิ่มเติมแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 Taylor, Peter J. (2014), "Philosophy of Ecology", eLS (ภาษาอังกฤษ), American Cancer Society, doi:10.1002/9780470015902.a0003607.pub3, ISBN 9780470015902
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Keller, David R.; Golley, Frank B. (2000). The Philosophy of Ecology: From Science to Synthesis. Athens, Georgia: University of Georgia Press. pp. 1–20.
- ↑ 3.0 3.1 Brenner, Joseph E. (2018). "The Philosophy of Ecology and Sustainability: New Logical and Informational Dimensions". Philosophies (ภาษาอังกฤษ). 3 (2): 16. doi:10.3390/philosophies3020016.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Stauffer, Robert C. (1957). "Haeckel, Darwin, and Ecology". The Quarterly Review of Biology. 32 (2): 138–144. doi:10.1086/401754. ISSN 0033-5770. JSTOR 2816117.
- ↑ Haeckel, Ernst (1866). Generelle morphologie der organismen. Allgemeine grundzüge der organischen formen-wissenschaft, mechanisch begründet durch die von Charles Darwin reformirte descendenztheorie. Berlin: G. Reimer. doi:10.5962/bhl.title.3953.
- ↑ 6.0 6.1 Sarkar, Sahotra (2016), Zalta, Edward N. (บ.ก.), "Ecology", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Winter 2016 ed.), Metaphysics Research Lab, Stanford University, สืบค้นเมื่อ 2019-05-28
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Colyvan, Mark; Steele, Katie (2011-01-01), deLaplante, Kevin; Brown, Bryson; Peacock, Kent A. (บ.ก.), "Environmental Ethics and Decision Theory: Fellow Travellers or Bitter Enemies?", Philosophy of Ecology, Handbook of the Philosophy of Science, North-Holland, vol. 11, pp. 285–299, doi:10.1016/B978-0-444-51673-2.50011-X, สืบค้นเมื่อ 2019-05-28
- ↑ Philosophy of ecology. DeLaplante, Kevin., Brown, Bryson., Peacock, Kent A., 1952- (1st ed.). Kidlington, Oxford, UK: North Holland. 2011. pp. 35–40. ISBN 9780080930756. OCLC 730997030.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Mavengahama, Sydney; Lanz, Johann; Downsborough, Linda; Nienaber, Shanna; Preiser, Rika; Audouin, Michelle (2013-08-20). "Exploring the implications of critical complexity for the study of social-ecological systems". Ecology and Society (ภาษาอังกฤษ). 18 (3). doi:10.5751/ES-05434-180312. ISSN 1708-3087.
- ↑ Wilson, David Sloan (1988). "Holism and Reductionism in Evolutionary Ecology". Oikos. 53 (2): 269–273. doi:10.2307/3566073. JSTOR 3566073.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Papineau, David (2016), Zalta, Edward N. (บ.ก.), "Naturalism", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Winter 2016 ed.), Metaphysics Research Lab, Stanford University, สืบค้นเมื่อ 2019-05-28
- ↑ 12.0 12.1 Jakobsen, Trond Gansmo (2017-03-15). "Environmental Ethics: Anthropocentrism and Non-anthropocentrism Revised in the Light of Critical Realism". Journal of Critical Realism. 16 (2): 184–199. doi:10.1080/14767430.2016.1265878. ISSN 1476-7430.
- ↑ 13.0 13.1 Reiners, William A.; Lockwood, Jeffrey A. (2010). Philosophical Foundations for the Practices of Ecology. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 9–14.
- ↑ Owen, W. J. B. (1994). "Review of Romantic Ecology: Wordsworth and the Environmental Tradition, ; Wordsworth's Poem of the Mind: An Essay on The Prelude". The Review of English Studies. 45 (178): 260–262. doi:10.1093/res/XLV.178.260. ISSN 0034-6551. JSTOR 518198.
- ↑ McKusick, James (1995). "From Coleridge to John Muir: The Romantic Origins of Environmentalism". The Wordsworth Circle. 26 (1): 36–40. doi:10.1086/TWC24042952. ISSN 0043-8006. JSTOR 24042952.
- ↑ Meehan, Sean Ross (2013). "Ecology and Imagination: Emerson, Thoreau, and the Nature of Metonymy". Criticism. 55 (2): 299–329. doi:10.13110/criticism.55.2.0299. ISSN 0011-1589. JSTOR 10.13110/criticism.55.2.0299.
- ↑ Robbins, Paul, 1967- (2012). Political ecology : a critical introduction (2nd ed.). Chichester, U.K.: J. Wiley & Sons. ISBN 9781119953340. OCLC 769188353.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Greenberg, James B.; Park, Thomas K. (1994). "Political Ecology". Journal of Political Ecology. 1: 1–12. doi:10.2458/v1i1.21154.
- ↑ Perreault, Thomas Albert. (2015). The Routledge handbook of political ecology. Routledge. pp. 205–210. ISBN 9781138794337. OCLC 913223356.
- ↑ Leopold, Aldo (1987). A Sand County almanac, and sketches here and there. Schwartz, Charles Walsh. New York: Oxford University Press. ISBN 0195053052. OCLC 16405709.
- ↑ 21.0 21.1 Sarkar, Sahotra (2016), Zalta, Edward N. (บ.ก.), "Ecology", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Winter 2016 ed.), Metaphysics Research Lab, Stanford University, สืบค้นเมื่อ 2019-05-12
- ↑ Ferre, Frederick (1996). Being and Value: Toward a Constructive Postmodern Metaphysics. Albany, NY: State University of New York Press.
- ↑ 23.0 23.1 Lefkaditou, Ageliki; Stamou, George P. (2006). "Holism and Reductionism in Ecology: A Trivial Dichotomy and Levins' Non-trivial Account". History and Philosophy of the Life Sciences. 28 (3): 313–336. ISSN 0391-9714. JSTOR 23334136.
- ↑ Bergandi, Donato; Blandin, Patrick (1998-09-01). "Holism vs. Reductionism: Do Ecosystem Ecology and Landscape Ecology Clarify the Debate?". Acta Biotheoretica (ภาษาอังกฤษ). 46 (3): 185–206. doi:10.1023/A:1001716624350. ISSN 1572-8358.
- ↑ Keller, David R., 1962- (2019). Ecology and Justice : Citizenship in Biotic Communities. Cham, Switzerland. ISBN 9783030116361. OCLC 1091029069.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Brennan, Andrew; Lo, Yeuk-Sze (2016), Zalta, Edward N. (บ.ก.), "Environmental Ethics", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Winter 2016 ed.), Metaphysics Research Lab, Stanford University, สืบค้นเมื่อ 2019-05-28
- ↑ 27.0 27.1 Possingham, Hugh; Odenbaugh, Jay; Griffiths, Paul; Grey, William; Linquist, Stefan; Colyvan, Mark (2009-10-14). "Philosophical Issues in Ecology: Recent Trends and Future Directions". Ecology and Society (ภาษาอังกฤษ). 14 (2). doi:10.5751/ES-03020-140222. ISSN 1708-3087.
- ↑ 28.0 28.1 Beneath the surface : critical essays in the philosophy of deep ecology. Katz, Eric, 1952-, Light, Andrew, 1966-, Rothenberg, David, 1962-. Cambridge, Mass.: MIT Press. 2000. ISBN 026261149X. OCLC 42061015.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Zimmerman, Michael E.; Center for Environmental Philosophy, The University of North Texas (1987). "Feminism, Deep Ecology, and Environmental Ethics". Environmental Ethics. 9 (1): 21–44. doi:10.5840/enviroethics19879112. ISSN 0163-4275.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 Haila, Yrjö; Taylor, Peter J. (2001-04-25), "Philosophy of Ecology", eLS (ภาษาอังกฤษ), American Cancer Society, doi:10.1038/npg.els.0003607, ISBN 9780470015902
- ↑ Grimm, Volker (1994-09-01). "Mathematical models and understanding in ecology". Ecological Modelling. State-of-the-Art in Ecological Modelling proceedings of ISEM's 8th International Conference. 75–76: 641–651. doi:10.1016/0304-3800(94)90056-6. ISSN 0304-3800.
- ↑ Smith, Anthony Paul (2013). "Philosophy and Ecology". ใน Smith, Anthony Paul (บ.ก.). A Non-Philosophical Theory of Nature. A Non-Philosophical Theory of Nature: Ecologies of Thought. Radical Theologies (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan US. pp. 27–44. doi:10.1057/9781137331977_4. ISBN 9781137331977.
- ↑ 33.0 33.1 Cooper, Gregory J. (2003). "Theories, Models, and Explanatory Tools". The Science of the Struggle for Existence. The Science of the Struggle for Existence: On the Foundations of Ecology (ภาษาอังกฤษ). pp. 234–275. doi:10.1017/cbo9780511720154.009. ISBN 9780511720154. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
- ↑ 34.0 34.1 Weiner, Jacob (1995). "On the Practice of Ecology". The Journal of Ecology. 83 (1): 153–158. doi:10.2307/2261159. JSTOR 2261159.
- ↑ Hall, Charles A. S. (1988-10-01). "An assessment of several of the historically most influential theoretical models used in ecology and of the data provided in their support". Ecological Modelling. 43 (1): 5–31. doi:10.1016/0304-3800(88)90070-1. ISSN 0304-3800.