ประสาทสมอง (อังกฤษ: cranial nerve หรือ cerebral nerve) หรือ เส้นประสาทสมอง เป็นเส้นประสาทที่มีจุดกำเนิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งมีจุดกำเนิดจากไขสันหลังปล้องต่าง ๆ ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของข้อมูลระหว่างสมองและบริเวณต่างๆ หลายบริเวณ โดยส่วนใหญ่คือบริเวณศีรษะและคอ

เส้นประสาทสมอง

ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง

ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง

ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง

รายชื่อเส้นประสาทสมอง

แก้

เส้นประสาทสมองทั้ง 12 คู่สามารถเรียกเป็นชื่อย่อโดยใช้คำว่า "Cranial nerve" หรือ "CN" แล้วตามด้วยเลขโรมันแสดงลำดับที่ของเส้นประสาทคู่นั้น ลำดับที่จะเรียงตามตำแหน่งของนิวเคลียสในก้านสมอง เช่น เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 (CN III หรือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา) ออกจากก้านสมองในตำแหน่งที่สูงกว่าเส้นประสาทสมองเส้นที่ 12 (CN XII หรือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น) เพราะจุดเริ่มต้นของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 12 จะอยู่ต่ำกว่าของเส้นประสาทสมองเส้นอื่นๆ

# ชื่อ นิวเคลียส หน้าที่
I เส้นประสาทรับกลิ่น
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 1
หรือ ฆานประสาท
(Olfactory nerve)
แอนทีเรียร์ ออลแฟกทอรี นิวเคลียส (Anterior olfactory nucleus) นำความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่น
II เส้นประสาทตา
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 2
หรือ เส้นประสาทการเห็น
หรือ จักษุประสาท
(Optic nerve)
แลเทอรัล เจนิคูเลต นิวเคลียส (Lateral geniculate nucleus) นำข้อมูลการรับภาพไปยังสมอง
III เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3
(Oculomotor nerve)
ออกคิวโลมอเตอร์ นิวเคลียส (Oculomotor nucleus) , เอดิงเงอร์-เวสท์ฟัล นิวเคลียส (Edinger-Westphal nucleus) สั่งการกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แพลพีบรี ซุพีเรียริส (levator palpebrae superioris) , ซุพีเรียร์ เรกตัส (superior rectus) , มีเดียล เรกตัส (medial rectus) , อินฟีเรียร์ เรกตัส (inferior rectus) , และ อินฟีเรียร์ ออบลีก (inferior oblique) ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวลูกตา
IV เส้นประสาททรอเคลียร์
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 4
(Trochlear nerve)
ทรอเคลียร์ นิวเคลียส (Trochlear nucleus) สั่งการกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ออบลีก (superior oblique muscle) ซึ่งทำหน้าที่กลอกตาลงล่าง กลอกตาออกด้านนอก และกลอกตาเข้าด้านใน
V เส้นประสาทไทรเจมินัล
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 5
(Trigeminal nerve)
ปรินซิปัล เซนซอรี ไทรเจมินัล นิวเคลียส (Principal sensory trigeminal nucleus) , สไปนัล ไทรเจมินัล นิวเคลียส (Spinal trigeminal nucleus) , มีเซนเซฟาลิก ไทรเจมินัล นิวเคลียส (Mesencephalic trigeminal nucleus) , ไทรเจมินัล มอเตอร์ นิวเคลียส (Trigeminal motor nucleus) รับความรู้สึกจากใบหน้าและสั่งการกล้ามเนื้อในการเคี้ยว (muscles of mastication)
VI เส้นประสาทแอบดิวเซนต์
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 6
(Abducens nerve)
แอบดิวเซนต์ นิวเคลียส (Abducens nucleus) สั่งการกล้ามเนื้อแลเทอรัล เรกตัส (lateral rectus) ซึ่งทำหน้าที่กลอกตาออกทางด้านนอก
VII เส้นประสาทเฟเชียล
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7
(Facial nerve)
เฟเชียล นิวเคลียส (Facial nucleus) , ซอลิเทรี นิวเคลียส (Solitary nucleus) , ซุพีเรียร์ แซลิเวรี นิวเคลียส (Superior salivary nucleus) สั่งการกล้ามเนื้อในการแสดงสีหน้า (muscles of facial expression) และกล้ามเนื้อสเตปีเดียส (stapedius) รับความรู้สึกพิเศษเกี่ยวกับรสชาติจากด้านหน้า 2 ส่วน 3 ของลิ้น และสั่งการต่อมน้ำลาย (ยกเว้นต่อมพาโรติด) และต่อมน้ำตาให้หลั่ง
VIII เส้นประสาทหู
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 8
หรือ เส้นประสาทการได้ยิน
หรือ โสตประสาท
(Vestibulocochlear nerve or auditory-vestibular nerve or statoacustic nerve)
เวสทิบิวลาร์ นิวเคลียส (Vestibular nuclei) , คอเคลียร์ นิวเคลียส (Cochlear nuclei) รับความรู้สึกเกี่ยวกับเสียง การหมุน และแรงโน้มถ่วง (ซึ่งสำคัญในการทรงตัวและการเคลื่อนไหว)
IX เส้นประสาทลิ้นคอหอย
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 9
(Glossopharyngeal nerve)
นิวเคลียส แอมบิกิวอัส (Nucleus ambiguus) , อินฟีเรียร์ แซลิเวรี นิวเคลียส (Inferior salivary nucleus) , ซอลิเทรี นิวเคลียส (Solitary nucleus) รับรสชาติจากด้านหลัง 1 ส่วน 3 ของลิ้น สั่งการต่อมพาโรติดให้หลั่ง และสั่งการกล้ามเนื้อสไตโลฟาริงเจียส (stylopharyngeus) ซึ่งจำเป็นในการรับความรู้สึกสัมผัส ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ ความรู้สึกจะถูกส่งไปยังทาลามัสด้านตรงข้ามและไฮโปทาลามิก นิวเคลียสบางอัน
X เส้นประสาทเวกัส
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 10
(Vagus nerve)
นิวเคลียส แอมบิกิวอัส (Nucleus ambiguus) , ดอร์ซัล มอเตอร์ เวกัล นิวเคลียส (Dorsal motor vagal nucleus) , ซอลิเทรี นิวเคลียส (Solitary nucleus) เลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของกล่องเสียงและคอหอย ให้เส้นประสาทพาราซิมพาเทติกไปยังอวัยวะในช่องอกและช่องท้องเกือบทั้งหมดไปจนถึงส่วนโค้งของลำไส้ใหญ่ใต้ม้าม (splenic flexure) และรับความรู้สึกพิเศษเกี่ยวกับรสชาติจากฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) หน้าที่หลักคือควบคุมกล้ามเนื้อในการออกเสียง อาการหากเส้นประสาทนี้เสียไปคือ การกลืนลำบาก (dysphagia)
XI เส้นประสาทแอกเซสซอรี
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 11
(Accessory nerve or cranial accessory nerve or spinal accessory nerve)
นิวเคลียส แอมบิกิวอัส (Nucleus ambiguus) , สไปนัล แอกเซสซอรี นิวเคลียส (Spinal accessory nucleus) ควบคุมกล้ามเนื้อของคอและทำหน้าที่ทับซ้อนกับของเส้นประสาทเวกัส ตัวอย่างของอาการหากเส้นประสาทนี้เสียไปคือ ไม่สามารถยักไหล่ หมุนหรือขยับศีรษะได้ยาก และ velopharyngeal insufficiency)
XII เส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น
หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 12
(Hypoglossal nerve)
ไฮโปกลอสซัล นิวเคลียส (Hypoglossal nucleus) สั่งการกล้ามเนื้อของลิ้นและกล้ามเนื้อลิ้นอื่นๆ มีความสำคัญในการกลืน [การสร้างโบลัส bolus formation] และการออกเสียง

กายวิภาคศาสตร์

แก้

เดิมมนุษย์ถือว่ามีประสาทสมองสิบสองคู่ เลข I–XII หรือ 1–12 มีดังนี้ ประสาทรับกลิ่น (I) ประสาทตา (II) ประสาทกล้ามเนื้อตา (III) ประสาททรอเคลียร์ (IV) ประสาทไทรเจมินัล (V) ประสาทแอบดิวเซนต์ (VI) ประสาทเฟเชียล (VII) ประสาทหู (VIII) ประสาทลิ้นคอหอย (IX) ประสาทเวกัส (X) ประสาทแอกเซสซอรี (XI) และประสาทกล้ามเนื้อลิ้น (XII)

อ้างอิง

แก้

บรรณานุกรม

แก้
  • มีชัย ศรีใส. ประสาทกายวิภาคศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เยียร์บุ๊คพับลิชเชอร์, 2546.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้