ปทุมมา

สปีชีส์ของพืช

ปทุมมา, กระเจียวบัว, ขมิ้นโคก[3] หรือ ทิวลิปสยาม (อังกฤษ: Siam Tulip) เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเริ่มผลิใบและดอก ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ใบยาวคล้ายใบพาย ก้านช่อดอกสูงเหนือพุ่มใบ กาบดอกสีม่วง ดอกสีม่วง

ปทุมมา
ดอกปทุมมาที่อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
Monocots
เคลด: Commelinids
Commelinids
อันดับ: ขิง
Zingiberales
วงศ์: วงศ์ขิง
Zingiberaceae
สกุล: สกุลขมิ้น
Curcuma
Gagnep.
สปีชีส์: Curcuma alismatifolia
ชื่อทวินาม
Curcuma alismatifolia
Gagnep.
ชื่อพ้อง[2]

Hitcheniopsis alismatifolia (Gagnep.) Loes. in H.G.A.Engler

ทุ่งปทุมมาในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ประเทศไทย

ปทุมมาชอบอากาศเย็น ปลูกในที่อากาศชื้นเย็น ดูแลไม่ให้ดินเสียความชื้นโดยการคลุมแปลงปลูก สามารถการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ

การใช้ประโยชน์

แก้

ปทุมมาใช้เป็นไม้ประดับ ดอกปทุมมารับประทานได้ด้วยการลวกและรับประทานกับน้ำพริกต่าง ๆ หรือจิ้มแจ่ว[4] ชาวไทใหญ่นำดอกอ่อนมาต้มจิ้มกับน้ำพริกและใช้ทำข่างปองดอกอาว โดยนำดอกอ่อนมาคลุกกับน้ำพริกแกงที่มีส่วนผสมของตะไคร้ พริกขี้หนู เกลือ กระเทียม หอม ถั่วเน่า และผงขมิ้น นำไปชุบแป้งทอด กินกับน้ำจิ้มที่มีลักษณะคล้ายอาจาด[5]

เทศกาลท่องเที่ยว

แก้

ดอกปทุมมา (ซึ่งมักถูกเรียกปนกับดอกกระเจียว) มีมากในจังหวัดชัยภูมิ จึงมีเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียว (ปทุมมา) บาน จังหวัดชัยภูมิ ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต และอุทยานแห่งชาติไทรทอง อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ

อ้างอิง

แก้
  1. Leong-Skornickova, J.; Tran, H.D.; Newman, M.; Lamxay, V. & Bouamanivong, S. (2019). "Curcuma alismatifolia". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T201883A132687665. สืบค้นเมื่อ 7 February 2022.
  2. Kew World Checklist of Selected Plant Families
  3. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  4. บ้านนี้สีฟ้า, รายการทางบลูสกายแชนแนล: 6 พฤษภาคม 2556
  5. สิริรักษ์ บางสุด. ฟูดอัปเดต: ดอกกระเจียวคลุกแป้งทอดอย่างชาวไทใหญ่. ครัว. ปีที่ 21 ฉบับที่ 242 สิงหาคม 2557 หน้า 12

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้