บ้านท่าแดง

หมู่บ้านในตำบลท่าแดง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย

บ้านท่าแดง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลท่าแดง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติ แก้

บ้านท่าแดง เกิดจากแม่น้ำสองสายมาบรรจบกันที่ปากลำกง ซึ่งมีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายยาวไหลมาไกล ถึงเดือนกันยายน ตุลาคม น้ำทางเหนือจากหล่มสักผ่านเพชรบูรณ์ ไหลลงมาทำให้น้ำขุ่นตกตะกอนเป็นน้ำใสไหลลงมาผ่านหมู่บ้านท่าแดงมาบรรจบกับคลองลำกงซึ่งเป็นคลองสั้น ต้นน้ำมาจากภูเขาชื่อพระยาฝ่อ ผ่านบ้านท่าด้วง บ้านวังท่าดีและบ้านท่าเยี่ยม นำเอาสิ่งปฏิกูลเซาะดินซึ่งเป็นเขาสีแดงลงมาด้วย น้ำขุ่นข้นเป็นสีแดงตลอดคลองลำกงออกสู่แม่น้ำป่าสัก มาปะทะน้ำใสที่ปากคลองลำกง เรียกว่า ปากสาน ทำให้เป็นเป็นน้ำสองสี ซีกหนึ่งสี่แดงอีกซีกหนึ่งเป็นน้ำใสและเรียกที่แห่งนั้นว่า ท่าแดง ซึ่งเป็นสีแดง และเป็นน้ำใสไหลไป ประมาณ 3 กิโลเมตร จึงเรียกเพี้ยนมาเป็น บ้านท่าแดง จนถึงทุกวันนี้

ภูมิศาสตร์ และการคมนาคม แก้

สภาพทั่วไปของหมู่บ้านท่าแดง เป็นที่ราบลุ่ม ฤดูน้ำหลากจะท่วมขังเป็นเวลานาน มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านวังโบสถ์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านท่าสวาย
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านท่าเยี่ยม
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านเนินมะเกลือ

การคมนาคม ก่อน พ.ศ. 2500 เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีทางเกวียนและทางเท้า ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2510 เริ่มมีถนนลูกรัง ปี พ.ศ. 2525 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้ทากรสร้างถนนลาดยางได้รับความสะดวกสบายขึ้น มีรถยนต์วิ่งตลอดเวลา ระยะทางจากบ้านท่าแดงถึงอำเภอหนองไผ่ ประมาณ 8 กิโลเมตร

ประชากร แก้

มีประชากร 1280 คน ชาย 635 คน หญิง 645 คน 243 ครัวเรือน มีกลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชาวหล่ม กลุ่มชาวสุโขทัย และกลุ่มคนพื้นบ้านเดิม (ไทยเดิ้ง) ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร รับจ้าง รับราชการมีส่วนน้อย และมีการประกอบอาชีพประมงจับปลาในลำน้ำป่าสักขาย พืชเศรษฐกิจ คือ ข้าว ถั่ว พืชผักสวนครัว และ ข้าวโพด

วัฒนธรรม แก้

ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอื่นมีน้อย ชาวพุทธนิยมทำบุญตักบาตรตามประเพณีนิยมและถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน คือ วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ทำบุญคุ้ม และมีการละเล่นของหนุ่มสาวตามท้องถิ่น การแต่งกายของแต่ละกลุ่มจะเหมือนกัน เช่น กลุ่มหล่ม การแต่งกายชายแต่งแบบสากลทั่วไป หญิงแต่งผ้าซิ่น กลุ่มสุโขทัย หญิงนุ่งผ้าซิ่นเชิงลายสีดำ เรียกว่า พวกโซ่ง กลุ่มไทยเดิ้ง แต่งแบบสากลทั่วไป ภาษาพูดส่วนใหญ่จะพูดภาษากลุ่มของตนเอง เมื่อถึงเทศกาลมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น การรำวง การเล่นช่วงชัย และมีการละเล่นของแต่ละกลุ่มชน ในด้านของการทำอาหารและการทำขนมต่าง ๆ เช่น กลุ่มหล่มจะทำขนมจีนน้ำยา กลุ่มสุโขทัยจะทำขนมหวานต่าง ๆ