บูชิโด
บูชิโด (ญี่ปุ่น: 武士道; โรมาจิ: Bushidō, หมายถึง "วิถีนักรบ") เป็นคำภาษาญี่ปุ่นใช้อธิบายจรรยาบรรณแบบญี่ปุ่นและวิถีชีวิตซามูไร ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับมโนทัศน์วีรคติของยุโรปอยู่บ้าง บูชิโดถือกำเนิดขึ้นจากประมวลศีลธรรมซามูไร และเน้นความมัธยัสถ์ ความภักดี ความชำนาญในศิลปะป้องกันตัว และรักษาไว้ซึ่งเกียรติกระทั่งตาย (honor unto death) บูชิโดเกิดจากลัทธิขงจื๊อใหม่ระหว่างช่วงสันติภาพแห่งรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ และตามตำราลัทธิขงจื๊อ บูชิโดยังได้รับอิทธิพลจากศาสนาชินโตและศาสนาพุทธ ซึ่งเปิดให้การดำรงอยู่ของซามูไรให้เติมด้วยปัญญาและความสงบเยือกเย็น บูชิโดพัฒนาขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 12 และเอกสารแปลหลายฉบับในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 แสดงอิทธิพลของบูชิโดที่มีอย่างกว้างขวางทั่วญี่ปุ่น[1] แม้นักวิชาการบางคนได้แสดงความเห็นว่า "คำว่า บูชิโด ด้วยตัวมันเองนั้นมีอยู่น้อยมากในวรรณกรรมก่อนสมัยใหม่"[2]
ภายใต้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ แง่มุมของบูชิโดได้ถูกจัดให้เป็นระเบียบแบบแผนเป็นกฎหมายศักดินาญี่ปุ่น[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Wilson, 1982
- ↑ "The Zen of Japanese Nationalism," by Robert H. Sharf, in Curators of the Buddha, edited by Donald Lopez, pg 111
- ↑ "Japanese Feudal Laws John Carey Hall, The Tokugawa Legislation, (Yokohama, 1910), pp. 286-319". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-13.