บรรพศิลป์ หรือ อนารยศิลป์[2] (อังกฤษ: Primitive art หรือ Tribal art) เป็นคำศัพท์กว้างๆ ที่ใช้บรรยายวัตถุหรือสิ่งที่สร้างโดยชนพื้นเมืองผู้มีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Primitive culture)[3] ที่อาจจะเรียกว่า “'Ethnographic art” หรือ “Arts Primitive” (“บรรพศิลป์”)[4] บรรพศิลป์แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม

งานบรรพศิลป์ที่พิพิธภัณฑ์เทอร์ราค็อตตาอินเดีย, นิวเดลี, อินเดีย[1]
  • ศิลปะแอฟริกัน
  • ศิลปะโลกใหม่ หรือ ศิลปะอเมริกา (ไม่ใช่ “ศิลปะอเมริกัน”)
  • ศิลปะโอเชียเนีย

นิยามและลักษณะ

แก้

“บรรพศิลป์” อาจจะถือว่าเป็นศิลปะพื้นบ้านที่มักจะเป็นศิลปะที่มีความสำคัญทาง ประเพณี/ศาสนาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเฉพาะของชนเผ่าใดชนเผ่าหนึ่ง[5] โดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นที่ห่างไกลออกไป และจะเป็นศิลปะที่คำนึงถึงหัวข้อที่ทำ และ ฝีมือในการสร้างจากประชาคมกลุ่มเล็ก (ชนเผ่า) ที่มักจะไม่มีประเพณีการอ่านการเขียน

“บรรพศิลป์” ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดมาจากทวีปอเมริกา (ตัวอย่างเช่นงานของอินนิวอิท, อเมริกันอินเดียนเกรตเพลน (Plains Indians--อเมริกันอินเดียนจากตอนกลางของสหรัฐอเมริกา) และจากดินแดนที่ห่างไกลจากผู้คนในอเมริกากลาง และ อเมริกากลางใต้), โอเชียเนีย (โดยเฉพาะจากออสเตรเลีย, เมลานีเซีย, นิวซีแลนด์ และ โพลีนีเซีย) และ แอฟริกาซับซาฮารา ลักษณะของสังคมที่สร้างศิลปะตระกูลนี้ก็ได้แก่:[4]

  • สังคมขนาดเล็กและเป็นอิสระที่มักจะอยู่ในรูปของหมู่บ้านที่มีประชากรราวสองสามร้อยคนและการติดต่อสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวโดยตรงโดยปราศจากการจัดระเบียบสังคม[7] (social organization) หรือมารยาทการสังคมที่วางไว้อย่างเป็นทางการ
  • งานจำนวนน้อย/เชี่ยวชาญศิลปะเฉพาะทาง
  • ขาดเทคโนโลยีที่เกินไปกว่าเครื่องมือง่ายๆ ที่อาจจะทำจากหินแทนที่จะเป็นโลหะ
  • สังคมที่มีแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจนมาถึงก่อนหน้าที่จะมีการติดต่อกับชาวยุโรป

อ้างอิง

แก้
  1. Tales in terracotta: Set up in 1990, the Sanskriti Museum has contexualised and documented terracotta from all parts of the country, Indian Express, 15 May 2005.
  2. พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” โดยมะลิฉัตร เอื้ออานันท์ให้คำนิยาม “อนารยศิลป์” ไว้ว่าเป็น “ศิลปะของอนารยชน เช่นรูปสลักและหน้ากากแอฟริกัน ศิลปะในที่ต่างๆ เช่นนิวกินี และประเทศแถบมหาสมุทร เช่นอลาสกา หรือผลงานของพวกอินเดียนแดงชนเผ่านาวาโฮ” (“พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545)
  3. การใช้คำว่า “ชนพื้นเมืองผู้มีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม” อาจจะถือว่าเป็นการบรรยายเชิงหมิ่นที่อาจจะสร้าง “ข้อขัดแย้ง” (controversially description) ได้
  4. 4.0 4.1 Dutton, Denis, Tribal Art เก็บถาวร 2020-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In Michael Kelly (editor), Encyclopedia of Aesthetics. New York: Oxford University Press, 1998.
  5. Folk and Tribal Art, Cultural Heritage, Know India.
  6. ""ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19.
  7. ""ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19.

บรรณานุกรม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้