บทสดุดี[1] (อังกฤษ: Panegyric) คือ สุนทรพจน์อย่างเป็นทางการ หรือต่อมาหมายถึงบทเขียนที่ใช้ในการกล่าวสรรเสริญบุคคลหรือปรัชญาความคิด และเป็นงานที่เป็นที่ทำการศึกษากันมากที่ไม่ใช่บทยกย่อง (eulogy) และมิใช่งานเขียนที่มีจุดประสงค์ในการวิพากษ์

“Panegyric” มาจากภาษากรีก “πανηγυρικός” ที่แปลว่า “สุนทรพจน์ที่เหมาะกับที่ประชุมใหญ่” (ศาสนชุมนุมของกรีก (Panegyris)) ในเอเธนส์สุนทรพจน์ดังกล่าวมักจะกล่าวเนื่องในโอกาสที่มีเทศกาลหรือการกีฬาระดับชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการปลุกเร้าใจพลเมืองให้เห็นดีเห็นงามไปกับการกระทำอันเป็นวีรบุรุษของบรรพบุรุษ

บทสดุดีที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ได้แก่บทสดุดี “Olympiacus” โดย จอร์จิอัส, “Olympiacus” โดย ลิเซียส และ “Panegyricus” และ “Panathenaicus” โดยอิโซคราทีส แต่ไม่ได้กล่าวจริง การกล่าวสดุดีเนื่องในโอกาสงานศพเช่นสุนทรพจน์ที่เขียนโดยนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกธูซิดิดีสที่กล่าวโดยเพรีคลีสก็อยู่ในประเภทที่เรียกว่า “บทสดุดี”

ในสมัยโรมันโบราณบทสดุดีจำกัดใช้ในการสรรเสริญผู้ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น และใช้ “บทสรรเสริญผู้ตาย” (funeral oration) สำหรับผู้เสียชีวิตไปแล้วเท่านั้น ตัวอย่างของบทสดุดีที่มีชื่อเสียงในภาษาลาตินก็ได้แก่บทสดุดีที่กล่าวโดยพลินิผู้เยาว์ในวุฒิสภาโรมันเนื่องในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งเป็นกงสุล ที่มีเนื้อหาบางส่วนพาดพิงไปถึงบทยกย่องจักรพรรดิทราจัน

เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 และระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนก็เกิดมีประเพณีการสรรเสริญคุณสมบัติของความเป็นมหาวีรบุรุษของพระจักรพรรดิที่กำลังทรงราชย์อยู่ในงานเทศกาลทางวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 336 ยูซีเบียสแห่งเซซาเรียให้บทสดุดีเนื่องในพระราชวโรกาสที่จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงราชย์ครบรอบ 30 ปี ซึ่งเป็นการสรรเสริญความมั่นศรัทธาทางศาสนาของพระองค์แทนที่จะเป็นการสรรเสริญในพระราชกรณียกิจที่ทรงประสบความสำเร็จในทางโลกที่ได้ทรงทำมาตามประเพณีการกล่าวสดุดีที่ทำกันมา

บทสดุดีที่ให้อย่างมีอรรถรส, ประสิทธิภาพ และ มีปฏิภาณเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ยังมีอายุไม่มากนักผู้มีการศึกษาแต่ขาดประสบการณ์ในการดึงดูดความสนใจที่ต้องการในบรรยากาศของการแข่งขัน เมื่อกวีคลอเดียนเดินทางจากอเล็กซานเดรียมายังโรมก่อนปี ค.ศ. 395 ก็มาสร้างชื่อเสียงโดยการให้บทสดุดี และในที่สุดก็ได้เป็นกวีประจำสำนักของสติลิโค

คาสซิโอโดรัสข้าราชสำนักในพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชทิ้งงานเขียนบทสดุดีเอาไว้ -- “Laudes” นักชีวประวัติของคาสซิโอโดรัส โอดอนเนลล์บรรยายว่าเป็น “งานที่เป็นที่ทราบกันเป็นสุนทรพจน์ที่มีเนื้อหาสรรเสริญอันเกินเลย; วัตถุประสงค์ของการเขียน (ซึ่งก็คงมีความสำคัญต่อการตัดสินคุณค่า) ก็เพื่อให้เห็นว่าการกล่าวสรรเสริญอันเกินเลยจะทำได้มากเท่าใดโดยไม่เกินขอบเขตของมารยาทและการจำกัดของสังคม”[2]

โคลงสดุดีคาสิดา (Qasida) คือโคลงสดุดีในภาษาอาหรับ, ภาษาเปอร์เซีย, ภาษาตุรกี และ ภาษาอูรดู

อ้างอิง แก้

  1. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-10.
  2. O'Donnell 1979, ch. 2

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • James J. O'Donnell, Cassiodorus (Berkeley: University of California Press, 1979).