น้ำเกรปฟรูต (อังกฤษ: grapefruit juice) คือน้ำผลไม้ที่ทำจากเกรปฟรูต อุดมไปด้วยวิตามินซี มีรสชาติตั้งแต่รสเปรี้ยวไปจนถึงรสเปรี้ยวจัด น้ำเกรปฟรูตมีหลากหลายแบบ ได้แก่ น้ำเกรปฟรูตขาว น้ำเกรปฟรูตชมพู และน้ำเกรปฟรูตแดงทับทิม[1]

น้ำเกรปฟรูตขาว
เกรฟฟรูตชมพูหั่น

น้ำเกรปฟรูตมีความสำคัญในทางการแพทย์เนื่องจากมีอันตรกิริยากับยาทั่วไปหลายชนิด เช่น กาเฟอีน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะในร่างกายได้

น้ำเกรปฟรูตเป็นเครื่องดื่มอาหารเช้าทั่วไปในสหรัฐ[2]

อันตรกิริยาระหว่างยา แก้

ผลเกรปฟรูตและน้ำเกรปฟรูตพบว่ามีอันตรกิริยากับยาหลายชนิด ในหลายกรณีทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์[3] เกิดอันตรกิริยาได้สองทาง ทางหนึ่งคือเกรปฟรูตสามารถยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการเมแทบอลิซึมของยาได้[4] หากยาไม่ผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึม ระดับของยาในเลือดจะสูงเกินไปซึ่งทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์[4] อีกทางหนึ่งคือเกรปฟรูตสามารถขัดขวางการดูดซึมยาในลำไส้[4] หากยาไม่ถูกดูดซึม ก็จะมีปริมาณในเลือดไม่เพียงพอที่จะส่งผลรักษา[4]

น้ำเกรปฟรูตที่ทำจากเกรปฟรูตหนึ่งผลหรือน้ำเกรปฟรูตหนึ่งแก้วขนาด 200 มิลลิตร (6.8 ออนซ์สหรัฐ) อาจก่อให้เกิดพิษจากการใช้ยาเกินขนาด[3] ยาที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้กับเกรปฟรูตมักระบุบนฉลากของภาชนะบรรจุหรือเอกสารกำกับยา[4] ผู้ที่รับประทานยาสามารถสอบถามผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือเภสัชกรเกี่ยวกับอันตรกิริยาระหว่างเกรปฟรูตกับยาได้[4]

ใช้ในค็อกเทล แก้

น้ำเกรปฟรูตใช้ในค็อกเทลหลายชนิด เช่น ซีบรีซ (ประกอบด้วยน้ำเกรปฟรูต วอดก้า และน้ำแครนเบอร์รี)[5] ซอลตีด็อก[6] มิโมซาเกรปฟรูต[6] และแรดเลอร์แกรปฟรูต[7]

ข้อบังคับของแคนาดา แก้

ข้อบังคับของแคนาดาเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายน้ำเกรปฟรูตในเชิงพาณิชย์คือต้องทำจากเกรปฟรูตสุกที่สะอาด และอาจมีน้ำตาล น้ำตาลอินเวิร์ต เดกซ์โทรส กลูโคส และสารกันบูดประเภท 2[8] เช่น กรดเบนโซอิก อะไมเลส เซลลูเลส และเพกติเนส[9] ตามมาตรฐานของแคนาดา น้ำเกรปฟรูตควรมีกรดอะมิโนอิสระมากกว่า 1.15 มิลลิสมมูลต่อ 100 มิลลิลิตร (3.5 ออนซ์อังกฤษ; 3.4 ออนซ์สหรัฐ) โพแทสเซียมมากกว่า 70 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร และมีค่าการดูดกลืนแสงของสารโพลีฟีนอล ทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 0.310[9] ในระหว่างกระบวนการผลิต ปริมาณน้ำตาลในน้ำผลไม้ ก่อนการเติมน้ำตาล น้ำตาลอินเวิร์ต เดกซ์โทรส หรือกลูโคส ควรมีค่าบริกซ์ที่อ่านได้ไม่น้อยกว่า 9.3 ต้องมีกรดซิตริกปราศจากน้ำ ร้อยละ 0.7 ถึง 2.1 โดยน้ำหนัก[9]

อ้างอิง แก้

  1. Fellers PJ, Nikdel S, Lee HS (August 1990). "Nutrient content and nutrition labeling of several processed Florida citrus juice products". Journal of the American Dietetic Association. 90 (8): 1079–1084. doi:10.1016/S0002-8223(21)01704-1. PMID 2380455.
  2. Anderson, H.A. (2013). Breakfast: A History. The Meals Series. AltaMira Press. p. 90. ISBN 978-0-7591-2165-2. สืบค้นเมื่อ July 25, 2018.
  3. 3.0 3.1 Bailey DG, Dresser G, Arnold JM (March 2013). "Grapefruit-medication interactions: forbidden fruit or avoidable consequences?". CMAJ. 185 (4): 309–316. doi:10.1503/cmaj.120951. PMC 3589309. PMID 23184849.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Mitchell, Steve (19 February 2016). "Why Grapefruit and Medication Can Be a Dangerous Mix". Consumer Reports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
  5. Salvatore Calabrese, Classic Cocktails (Sterling Publishing, 1997), p. 158.
  6. 6.0 6.1 David Tanis, Heart of the Artichoke and Other Kitchen Journeys (Workman: 2010), p. 320.
  7. "Radler".
  8. class II preservative
  9. 9.0 9.1 9.2 Minister of Justice, Food and Drug Regulations, สืบค้นเมื่อ 25 November 2019

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Grapefruit juice