น้ำมันวอลนัต (อังกฤษ: Walnut oil) คือน้ำมันที่กลั่นจากวอลนัตเปอร์เซีย (Juglans regia) ซึ่งประกอบด้วยทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัวและกรดไขมันอิ่มตัว[1]

ขวดน้ำมันวอลนัต

ส่วนประกอบ แก้

น้ำมันวอลนัตประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่ (72% ของไขมันทั้งหมด) โดยเฉพาะกรดอัลฟาลิโนเลนิก (14%) และกรดลิโนเลอิก (58%) นอกจากนั้นยังมีกรดโอเลอิก (13 %) และไขมันอิ่มตัว (9%)[1]

การใช้ทำอาหาร แก้

น้ำมันวอลนัตเป็นน้ำมันที่กินได้แต่มักจะไม่ค่อยใช้ในการทำอาหารเช่นน้ำมันพืชชนิดอื่นเพราะมีราคาสูง น้ำมันมีสีจางและรสนุ่มนวลและมีกลิ่นหอมของถั่ว[2] บางครั้งก็จะใช้ทอด แต่มักจะไม่ใช้ในการทำอาหารที่ใช้อุณหภูมิสูง เพราะความร้อนจะทำลายรสและคุณค่าทางอาหารของน้ำมัน และทำให้รสออกขม ฉะนั้นการใช้จึงมักจะใช้กับอาหารที่เย็นเช่น ในการเป็นส่วนผสมสำหรับทำน้ำมันสลัดที่ทำให้ได้รสที่ต้องการ นอกจากนั้นคุณค่าในการต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ในน้ำมันวอลนัตก็ยังอาจถูกกำจัดไปในระหว่างการปรุงอาหาร

น้ำมันวอลนัตมี กรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

การใช้ทางด้านศิลปะ แก้

น้ำมันวอลนัตเป็นหนึ่งในน้ำมันที่มีความสำคัญต่อจิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา คุณสมบัติที่ทำให้สีแห้งเร็วและไม่ออกสีเหลืองทำให้เหมาะแก่การใช้ในการทำให้สีใส (paint thinner) ขึ้น หรือในการทำความสะอาดแปรงสี แต่ฟิล์มที่เกิดจากการใช้ถือว่ามีคุณภาพด้อยกว่าการใช้น้ำมันเมล็ดฝ้าย

น้ำมันวอลนัตเป็นสินค้าที่หาซื้อยาก และมีผู้ต้องการซื้อน้อย และน้ำมันที่เก็บไว้จะหืนถ้าเก็บรักษาไว้อย่างไม่ถูกต้อง ฉะนั้นแทนที่จะเป็นน้ำมันวอลนัตร้านขายอุปกรณ์การเขียนภาพมักจะขายน้ำมันเมล็ดฝ้าย, น้ำมันเมล็ดฝิ่น หรือ น้ำมันดอกคำฝอยแทนที่

น้ำมันวอลนัตเป็นที่นิยมกันในการเคลือบงานไม้สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหารเช่น เขียง หรือชามสลัดไม้ ถ้าทำน้ำมันหรือขี้ผึ้งเองก็มักจะใช้วอลนัตเพราะความปลอดภัยและมีความหืนต่ำ แต่ควรจะผสมกับขี้ผึ้งในอัตราส่วนน้ำมัน 1/3 ส่วนต่อขี้ผึ้ง 2/3 ส่วน[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "National Nutrient Database for Standard Reference, Release 28". USDA National Nutrient Database. 2017. สืบค้นเมื่อ 3 November 2017.
  2. Ben-Erik van Wyk (2014). Culinary Herbs and Spices of the World. University of Chicago Press. p. 154. ISBN 9780226091839.
  3. Schimek, Erik (2010-03-19). "Finishing with Walnut Oil and Beeswax". Erik Organic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-08. สืบค้นเมื่อ 2011-11-10.