นโยบายพลังงานแห่งชาติปากีสถาน

นโยบายพลังงานแห่งชาติปากีสถานได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 โดยนายกรัฐมนตรีแห่งปากีสถาน ยูซาฟ ราซา จิลานี เพื่อรับมือกับภาวะขาดแคลนพลังงานที่เริ่มขยายวงกว้างขึ้นในประเทศ[1] การประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังจากการประชุมสามวันในกรุงอิสลามาบาด ซึ่งอภิปรายถึงสาเหตุของวิกฤตการณ์พลังงานในปากีสถานและหนทางที่เป็นไปได้ในการแก้ไข[2] ป้ายนีออนดังกล่าวถูกสั่งห้ามและวันสุดสัปดาห์ถูกขยายออกไปจากหนึ่งวันเป็นสองวันในความพยายามที่จะรักษาพลังงานไฟฟ้าไว้

เบื้องหลัง แก้

เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นและสาธารณูปโภคผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ล้มเหลวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนพลังงานในปากีสถาน ความขาดแคลนดังกล่าวนำไปสู่เหตุการณ์ไฟฟ้าดับขยายวางกว้าง ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมเป็นอัมพาตและนำไปสู่การประท้วงและจลาจล[1] ช่วงที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นนานประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวันในเขตเมือง[3] และมากกว่านั้นในเขตชนบท

ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงวิกฤตการณ์พลังงานที่อาจมาถึงในอนาคต นับตั้งแต่ พ.ศ. 2549[4] ในงานสัมมนา Fueling the Future: Meeting Pakistan's Energy Needs in the 21st Century (เติมเชื้อเพลิงให้กับอนาคต: การบรรลุความต้องการพลังงานของปากีสถานในคริสต์ศตวรรษที่ 21) ซึ่งถูกจัดขึ้นในวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 จากนั้น ที่ปรึกษาด้านพลังงานต่อนายกรัฐมนตรีปากีสถาน Mukhtar Ahmed กล่าวว่า ปากีสถานกำลังหาหนทางในการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนพลังงาน[5] บริษัทพลังงานไฟฟ้าปากีสถาน ประมาณการว่ามีการขาดแคลนพลังงานว่า 6 จิกะวัตต์ หรือกว่า 60% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด[6] เป็นที่เชื่อกันว่าหนึ่งในสาเหตุหลักของการขาดแคลนพลังงาน คือ ความล้มเหลวของรัฐบาลที่ผ่านมาในการคาดการณ์ถึงการต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น และความล่าช้าในการสนับสนุนโครงการเพื่อเพิ่มการผลิตพลังงาน นอกจากนั้น ยังมีการปล้นพลังงานอย่างกว้างขวางและการขาดกาลงทุนในระบบส่งไฟฟ้าที่มีอยู่แล้ว[7]

สหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านพลังงานของปากีสถานเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด[8] ทูตพิเศษสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด ฮอลบรูค บรรยายสถานการณ์ด้านพลังงานในปากีสถานว่า "ยอมรับไม่ได้" และกล่าวว่าสหรัฐอเมริกาจะดำเนินการ "อย่างจำกัด" เพื่อช่วยเหลือให้ปากีสถานผ่านพ้นวิกฤตการณ์ดังกล่าว[9]

มาตรการ แก้

มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมามีเป้าหมายที่จะลดการบริโภคลง 500 เมกาวัตต์ วันสุดสัปดาห์อย่างเป็นทางการถูกขยายออกไปจากหนึ่งเป็นสองวัน มีการสั่งห้ามป้ายนีออนและไฟประดับตกแต่ง พลังงานที่ถูกส่งไปยังสำนักงานของรัฐลดลง 50% และอนุญาตให้เปิดเครื่องปรับอากาศหลังจาก 11 นาฬิกาเท่านั้น ตลาดตามท้องถนนจะได้รับการร้องขอให้ปิดก่อนปกติ[1] ศูนย์การค้า ยกเว้นร้านขายยาจะถูกปิดเมื่อเวลา 20 นาฬิกา และพิธีฉลองการแต่งงานจะถูกจำกัดเหลือเพียงสามชั่วโมง รัฐบาลจะจ่ายหนี้ 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับผู้ผลิตพลังงาน เพื่อจ่ายให้กับผู้จัดหาเชื้อเพลิง[10] อุปทานพลังงานของเมืองหลวงทางพาณิชย์ของปากีสถาน การาจี จะถูกลดลง 300 เมกาวัตต์ เพื่อให้มีการแจกจ่ายพลังงานไปยังส่วนที่เหลือของประเทศอย่างเป็นธรรม[11] Tube well จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดบริการระหว่าง 19-23 นาฬิกา มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้จะได้รับการพิจารณาอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553[12]

การตอบสนอง แก้

ไม่กี่วันหลังจากการประกาศมาตรการ ผู้ค้าในละฮอร์ปฏิเสธการตัดสินใจของรัฐบาลและเปิดตลาดหลังจาก 20 นาฬิกา อันเป็นการฝ่าฝืนการสั่งห้ามของรัฐบาลเช่นเดิม[13] ร้านค้ายังเปิดทำการอยู่ในเมืองอื่นหลังจาก 20 นาฬิกาเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีความสับสนในการสนับสนุนสุดสัปดาห์ซึ่งมีสองวัน ธนาคารและสถาบันการศึกษาจำนวนมากยังคงเปิดทำการต่อไป[14] การให้ความเห็นในอารมณ์ไม่เกรงกลัวของผู้ค้า บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ ดอน กระตุ้นให้ทุกคนหาส่วนกลางระหว่างความคิด[15]

ปฏิกิริยาต่อการตัดสินใจของการจำกัดอุปทานพลังงานในการาจี หัวหน้าพรรคการเมืองหลายพรรคในสมัชชาส่วนภูมิภาค Sindh ประณามการตัดสินใจดังกล่าว บางคนเรียกว่า "ทฤษฎีสมคบคิดในการสร้างสถานการณ์ในการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย"

นักวิเคราะห์บางคนพยากรณ์ว่าการลดในสัปดาห์ทำการของธนาคารเหลือ 5 วัน จะทำให้มีรายได้ลดลง[16]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Pakistan's PM announces energy policy to tackle crisis". BBC. April 22, 2010. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
  2. "Steps taken to tackle energy crisis". Geo TV. April 22, 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  3. "Pakistan turns off lights to end energy crisis". Khaleej Times. April 22, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
  4. "Major energy crisis feared". Dawn. July 29, 2006. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.
  5. "Pakistan needs to tackle energy crisis". Dawn. June 24, 2006. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.
  6. "Electricity shortfall reaches 6,000MW". Dawn. April 18, 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  7. "Crisis talks as power shortages hit Pakistan industry". Reuters. April 22, 2010. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
  8. "Pakistan announces measures to save energy". Forbes. April 22, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-03. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
  9. "US to help Pakistan tide over energy crisis". Dawn. April 20, 2010. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.
  10. "Pakistan War on Power Deficit to Shut Offices, Ban Neon Signs". Bloomberg Businessweek. April 22, 2010. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
  11. "Gilani vows to reduce load-shedding". Dawn. April 23, 2010. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
  12. "Energy conservation strategy announced". The News International. April 23, 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  13. "Traders defy order of markets' closure". Dawn. April 23, 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  14. "Two holidays: confusion over implementation". The News International. April 24, 2010. สืบค้นเมื่อ 24 April 2010.[ลิงก์เสีย]
  15. "Traders' defiance". Dawn. April 25, 2010. สืบค้นเมื่อ 25 April 2010.
  16. "Two-day weekend to hurt banks' earnings". The News International. April 25, 2010. สืบค้นเมื่อ 25 April 2010.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้