พระนางเทราปที
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระนางเทราปที (สันสกฤต: द्रौपदी) (อ่านว่า เทฺรา-ปะ-ที) เป็นธิดาของท้าวทรุบทและเป็นน้องสาวของธฤษฏัทยุมนะ มีต้นกำเนิดมาจากกองไฟยัญญะ ที่ฤๅษีได้ทำพิธีขึ้นมา เนื่องจากท้าวทรุปัทมีความแค้นโทรณาจารย์ที่ได้ให้ลูกศิษย์คือ อรชุน มาแก้แค้นและแพ้สงครามแก่อรชุน จึงแค้นใจตนเองว่าเหตุใดจึงไม่มีบุตรที่เก่งกาจดังเช่นอรชุน จึงให้ฤๅษีกระทำพิธีขอบุตรชายที่รบและเก่งในการทำสงครามและบุตรสาวที่รูปงามเพื่อที่จะมาเป็นภรรยาของอรชุนในภายภาคหน้า ต่อมาท้าวทรุปัทได้ให้ทำพิธีสยุมพรแก่พระนางเทราปที ปรากฏว่าอรชุนได้รับเลือกเป็นสามี แต่ต่อมาอรชุนได้ยกพระนางเทราปทีแก่เหล่าพี่น้องได้แก่ 1.ยุธิษฐิระ 2.ภีมะ 3.นกุล 4.สหเทพ ให้มาเป็นสามีร่วมกัน เนื่องจากพระนางกุนตีผู้เป็นพระมารดาของปาณฑพได้กล่าวให้แบ่งกันอย่างเท่าเทียมกันด้วยความไม่ได้ตั้งใจ และพวกปาณฑพเองต่างได้ถือคำพูดของมารดาเป็นวาจาสิทธิ์ นอกจากนั้นพระนางเทราปทียังเป็นชนวนเหตุของสงครามทุ่งกุรุเกษตรอีกด้วย เพราะพระนางเทราปทีได้ถูกทุหศาสันลากมากระทำอนาจารที่กลางสถา ทำให้ฝ่ายปาณฑพแค้นมากจึงประกาศสงครามขึ้น
พระนางเทราปที | |
---|---|
![]() นางเทราปทีกำสรวล ภาพวาดโดยราชา รวิ วรรมา ศิลปินชาวอินเดีย | |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
คู่สมรส | ยุธิษฐิระ ภีมะ อรชุน นกุล สหเทพ |
บุตร | ประติวินธยะ (บุตรของยุธิษฐิระ) สุตโสม (บุตรของภีมะ) ศรุตกรรมา (บุตรของอรชุน) ศตานีกะ (บุตรของนกุล) ศรุตเสน (บุตรของสหเทพ) |
นางเทราปทีได้ให้กำเนิดพระโอรสแก่พี่น้องปาณฑพทั้งห้า ดังนี้
- ประติวินธยะ บุตรของยุธิษฐิระ
- สุตโสม บุตรของภีมะ
- ศรุตกรรมา บุตรของอรชุน
- ศตานีกะ บุตรของนกุล
- ศรุตเสน บุตรของสหเทพ
![]() |
บทความเกี่ยวกับวรรณกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์ |