นางนาก เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญที่มีเค้าโครงเรื่องจากแม่นาคพระโขนง กำกับโดยนนทรีย์ นิมิบุตร เขียนบทโดยวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผลิตและจัดจำหน่ายโดยไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และรางวัล

นางนาก
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับนนทรีย์ นิมิบุตร
เขียนบทวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
อำนวยการสร้างวิสูตร พูลวรลักษณ์
นักแสดงนำอินทิรา เจริญปุระ
วินัย ไกรบุตร
กำกับภาพณัฐวุฒิ กิตติคุณ
ตัดต่อสุนิตย์ อัศวินิกุล
ดนตรีประกอบภควัฒน์ ไววิทยะ
ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
ผู้จัดจำหน่ายไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์
โมโน ฟิล์ม
วันฉาย23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ความยาว100 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
ทำเงิน149.6 ล้านบาท
(เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

นักแสดง แก้

เนื้อเรื่องย่อ แก้

ในรัชกาลที่ 4 เกิดสุริยคราสขึ้น ผู้คนแตกตื่น เหมือนกับเป็นเหตุบอกลางร้าย มาก (วินัย ไกรบุตร) ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรบที่ชายแดน ปล่อยให้เมียสาวที่กำลังท้องแก่ชื่อ นาก (อินทิรา เจริญปุระ) อยู่เพียงคนเดียว นากต้องลำบากตรากตรำทำนาอยู่คนเดียวทั้ง ๆ ที่ท้องแก่ใกล้คลอด เมื่อเจ็บท้องใกล้คลอด มีลางร้ายนกแสกบินผ่านหลังคาบ้าน นากเสียชีวิตพร้อมลูกขณะคลอด แต่วิญญาณของนางยังคงไม่ไปไหน วนเวียนอยู่บริเวณบ้านและรอคอยการกลับมาของผัวรัก และเมื่อมากกลับมา ผู้คนพยายามบอกมากเกี่ยวกับเรื่องนากที่ตายไปแล้ว มากไม่เชื่อ นากเองก็อาละวาดหักคอผู้คนที่พยามยามบอกเรื่องนี้แก่มาก

จนในที่สุดมากก็รู้ความจริง เมื่อเห็นมือของนากที่ยาวลงมาเก็บมะนาวที่ใต้ถุนบ้าน มากตกใจวิ่งหนีหลบไปหลังใบหนาด และหนีเข้าไปในโบสถ์ ซึ่งพระและเณรก็สวดมนต์และเอาสายสิญจน์คล้องให้ แต่ผีนางนากก็ยังเข้ามาอาละวาดถึงในโบสถ์ได้ เรื่องจบลงที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีได้ผ่านมาและได้สะกดวิญญาณนางนากให้สงบเพื่อให้ไปเกิดใหม่ และท่านได้เจาะกะโหลกศีรษะนางนากเพื่อเก็บไว้ทำปั้นเหน่งด้วย

การถ่ายทำ แก้

นางนาก ส่วนหนึ่งถูกถ่ายทำขึ้นในบริเวณคลองบ้านใหม่ ซึ่งเป็นคลองที่บรรจบกับแม่น้ำบางปะกงบริเวณตลาดเก่าบ้านใหม่ร้อยปี โดยใช้พื้นที่ตั้งแต่บริเวณวัดเทพนิมิต ไปบรรจบยังท่าน้ำสำหรับเทียบเรือตลาดบ้านใหม่[1] และในคลองบางน้ำเปรี้ยวในฉากศาลาสำหรับยืนรอของนางนากซึ่งถูกสร้างขึ้นมา และไม่ได้รื้อถอนปล่อยไว้ใช้งานต่อ รวมไปถึงฉากในอุโบสถในช่วงท้ายของเรื่องที่มีการยืนห้อยหัวจริง ๆ ในหอฉันโบราณในวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันหอนั้นถูกรื้อถอนไปแล้ว[2]

เทคนิคงานสร้าง แก้

ถ่ายทำด้วยกล้อง ARRIFLEX BL-4, 435, 535B 35mm บันทึกเสียง sync sound on location[ต้องการอ้างอิง]

ความสำเร็จและคำวิจารณ์ แก้

นางนาก เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองในการกำกับของ นนทรีย์ นิมิบุตร ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างงดงามจาก 2499 อันธพาลครองเมือง เมื่อ 2 ปีก่อน (พ.ศ. 2540) ซึ่งในเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน โดยที่เนื้อเรื่องก็คือเนื้อเรื่องของแม่นาคพระโขนงที่คนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทว่า ครั้งนี้ ได้เปลี่ยนรายละเอียดต่าง ๆ ที่เคยคุ้นเคยให้สมจริงมากที่สุด เช่น เรียกชื่อแม่นาคว่า นางนาก, มีเหตุการณ์สุริยคราสเป็นฉากเปิดเรื่อง หรือ ให้นางนากยืนกลับหัวบนขื่อ ตามความเชื่อที่เล่ากันมา เป็นต้น โดยภาพยนตร์สามารถทำเงินได้กว่า 149.6 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ฉะเชิงเทราเปิดเส้นทางท่องเที่ยวแห่งใหม่ รับเทศกาลอาหารตลาดร้อยปี". mgronline.com. 2009-10-14.
  2. "เบื้องหลัง นากนาก 20 ปีที่แล้ว ฉากห้อยหัวในโบสถ์ ขึ้นไปห้อยหัวจริง!!". Major Cineplex. 2019-06-28.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้