นักสุดาดวง
นักสุดาดวง เป็นพระธิดาในพระองค์เจ้าแก้วมโนหอแห่งกัมพูชา ต่อมาเป็นหม่อม (หรือชายา) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นักสุดาดวง | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชายาในกรมพระสมมตอมรพันธุ์ | |
ถึงแก่กรรม | ไม่ปรากฏ กรุงเทพมหานคร อาณาจักรสยาม |
พระราชทานเพลิง | 9 เมษายน พ.ศ. 2451 วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร อาณาจักรสยาม |
พระสวามี | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ |
ราชวงศ์ | ตรอซ็อกผแอม (ประสูติ) จักรี (เสกสมรส) |
พระบิดา | พระองค์เจ้าแก้วมโนหอ |
ศาสนา | พุทธ |
พระประวัติ
แก้นักสุดาดวง เป็นพระธิดาองค์ที่สองจากทั้งหมดสี่องค์ในพระองค์เจ้าแก้วมโนหอ ประสูติแต่นางห้ามไม่ปรากฏนาม[1] และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี กับพระแม่นางสุชาตินารี[2] พระองค์มีพระยศเป็น เนียะอ็องมจะส์ (អ្នកអង្គម្ចាស់) เทียบชั้นหม่อมเจ้าของไทย มีพระพี่น้องคือ นักมานุเรศ นักพวงผกาแก้ว และนักรัตนาเทวี[1] นักสุดาดวงเดินทางออกจากกรุงกัมพูชาเพื่อถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายในที่กรุงเทพมหานครเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนักสุดาดวงให้เป็นหม่อม (บางแห่งว่าเป็นชายา) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ต้นราชสกุลสวัสดิกุล อันเป็นพระราชอนุชาต่างพระชนนีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] นักสุดาดวงเป็นภรรยาคนที่สี่ของพระสวามี[1] ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าเมื่อ พ.ศ. 2436[3] และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าเมื่อ พ.ศ. 2442[4] นักสุดาดวงและพระสวามีไม่มีพระบุตรด้วยกัน[1]
เมื่อนักสุดาดวงถึงแก่กรรมลง ก็ได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2451 ได้รับพระราชทานผ้าไตร 3 ไตร เงิน 200 เฟื้อง ผ้าขาวพับ 4 พับ เครื่องประโคมศพ กลองชนะ 10 จ่าปี 1 ฉัตรเบญจา 10 คัน[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2442 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "The Varman Dynasty Genealogy (8)". Royal Lark. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 283
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10: 378. 16 พฤศจิกายน 2436.
- ↑ 4.0 4.1 "การพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สำหรับตระกูลพระจุลจอมเกล้าแลถวายบังคมพระบรมรูป" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16: 499. 19 พฤศจิกายน 2442. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
- ↑ "พระราชทานเพลิงศพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25: 75. 19 เมษายน 2451.